บอนุญาตธนาคารดิจิทัล เริ่มมีแสงสว่าง เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทย มีแนวโน้มจัดทำใบอนุญาตธนาคารดิจิทัลอย่างเป็นทางการ

 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เปิดตัวโครงร่างการออกใบอนุญาตธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา หรือ ธนาคารเสมือนจริง (Virtual Bank) ตามรอยประเทศเพื่อนบ้านในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ เพื่อให้สถานบันการเงินและผู้ที่สนใจในอุตสาหกรรมได้เสนอความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ โดยเมื่อเสร็จสิ้น โครงร่างดังกล่าวจะเป็นแนวทางให้กับกลุ่มผู้ที่สนใจในการเตรียมตัวในด้านกฎหมาย การออกใบอนุญาต และการกำกับดูแลเพื่อยื่นขอใบอนุญาตธนาคารดิจิทัลอย่างเป็นทางการในประเทศไทย

 

ใบอนุญาตธนาคารไร้สาขาใหม่จะเสริมสร้างการแข่งขันและเป็นตัวขับเคลื่อนนวัตกรรม

ในทำนองเดียวกันกับประเทศอื่นๆ ในเอเชีย ธนาคารกลางแห่งประเทศไทยได้แถลงถึงจุดประสงค์หลักของธนาคารไร้สาขาว่า ธนาคารเหล่านี้ควรจะช่วยพัฒนาการเข้าถึงบริการทางการเงินให้กับกลุ่มประชากรที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงิน (unserved) หรือไม่สามารถรับบริการได้อย่างครอบคลุม (underserved) รวมไปถึงลูกค้าบุคคลทั่วไป และกิจการขนาดเล็กและขนาดกลาง (MSMEs) ถึงแม้อัตราการเข้าถึงบริการทางการเงินขั้นพื้นฐาน (Financial Inclusion) ของครัวเรือนในประเทศไทยจะสูงถึงร้อยละ 99 (Bank of Thailand 2020) แต่ลูกค้าชาวไทยและธุรกิจต่างๆ ยังไม่สามารถเข้ารับบริการทางการเงินได้อย่างครอบคลุม กล่าวคือ กลุ่มคนเหล่านี้ไม่สามารถเข้าถึงบริการและผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ตอบสนองความต้องการได้อย่างแท้จริง

การผลักดันร่างใบอนุญาตธนาคารไร้สาขาโดยธปท. จะส่งเสริมการแข่งขันในอุตสาหกรรมผู้ให้บริการทางการเงิน และสร้างแนวความคิดเชิงนวัตกรรมใหม่ๆ ที่จะช่วยแก้ไขปัญหาให้กับตลาดที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการที่ครอบคลุมได้

 

เทคโนโลยีทางการเงิน (Fintech) เพิ่มการเข้าถึงบริการทางการเงิน

จากประสบการณ์ที่ผ่านมาในประเทศอื่นๆ ธุรกิจ Fintech ที่มีความคล่องตัวในด้านการประกอบกิจการมักจะนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการการเงิน และช่วยให้ผู้ที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินในปัจจุบันสามารถรับบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยบทบาทของธนาคารดิจิทัลในหลายปีที่ผ่านมาได้ช่วยให้กลุ่มคนเหล่านี้สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้ครอบคลุมมากขึ้น แม้ว่าจะถูกจำกัดการเข้าถึงบริการต่างๆ อันเป็นผลลัพธ์ของการมีรายได้ต่ำ เช่น ไม่สามารถเปิดบัญชีธนาคารได้เพราะมีรายได้ต่ำเกินกว่าที่กำหนดไว้ หรือผลลัพธ์จากปัจจัยทางด้านสถานที่ เช่น อาศัยอยู่ในเขตชนบทและห่างไกล มีตัวเลือกบริการทางการเงินอย่างจำกัด เป็นต้น

ในประเทศไทย จุดมุ่งหมายหลักของธนาคารไร้สาขาใหม่นี้ จะเน้นพัฒนาการเข้าถึงเครดิตและบริการให้กับธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางหลายล้านรายในประเทศ ซึ่งในปัจจุบัน มีธุรกิจ MSMEs จำนวนมากที่ดำเนินการด้วยเงินสด และไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในการขยายธุรกิจให้เติบโตยิ่งขึ้น

 

ธนาคารกลางแห่งประเทศไทยมีการบังคับใช้มาตรฐานระดับสูง

โครงร่างในครั้งนี้ยังมุ่งเน้นการสร้างมาตรฐานที่สูงสำหรับระบบความปลอดภัยทางการเงิน (financial security) และประสบการณ์จากผู้ยื่นขอใบอนุญาตทุกราย เพื่อลดความเสี่ยง และเพื่อให้สามารถขับเคลื่อนนวัตกรรมไปได้ในขณะเดียวกัน ซึ่งทำให้ธุรกิจสตาร์ตอัปและธุรกิจขนาดเล็ก-กลางเข้าตลาดการแข่งขันได้ยากยิ่งขึ้น โดยผู้สมัครต้องมีทุนจดทะเบียนอย่างน้อย 5 ล้านบาทขึ้นไปในวันเริ่มกิจการ

ธนาคารไร้สาขาใหม่ ยังต้องดำเนินการบนระบบดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ กล่าวคือ ไม่สามารถให้บริการตู้กดเงินหรือตู้รับฝากเงินที่เชื่อมโยงกับตัวแบรนด์นั้นๆ ได้ อย่างไรก็ตาม การถอนเงินและการฝากเงินอาจกระทำได้ผ่านตู้เอทีเอ็มของธนาคารอื่นๆ นอกจากนี้ ในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เช่นเวียดนามและฟิลิปปินส์มีตู้ kiosk ที่มีบริการเปิดบัญชีและติดต่อพนักงานธนาคารได้ตัวต่อตัว โดยส่วนมากตู้นี้จะตั้งอยู่ในสาขาย่อยของธนาคาร อย่างไรก็ตาม ธนาคารไร้สาขาในประเทศไทยจะต้องรวมบริการทุกประเภทไว้ทางออนไลน์เท่านั้น

 

ถึงเวลาหันหน้าหนีเทคโนโลยีเก่าๆ

อีกหนึ่งประการสำคัญของโครงร่างใหม่นี้ได้ระบุไว้ว่า ธนาคารไร้สาขาที่จะประสบความสำเร็จได้นั้น จะต้องไม่ดำเนินงานบนระบบเทคโนโลยีเก่า ธนาคารรูปแบบใหม่จะวางระบบที่ใช้แพลตฟอร์มเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าธนาคารวิถีใหม่เหล่านี้สามารถดำเนินการเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดและผู้บริโภคที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

ความคืบหน้าโครงร่างใบอนุญาตฯ

ธปท.  เปิดรับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะถึงโครงร่างการออกใบอนุญาตธนาคารพาณิชย์ไร้สาขาจากองค์กรและลูกค้าบุคคลทั่วไป โดยธปท.จะรวบรวมความคิดเห็นที่ได้และนำไปเสนอต่อกระทรวงการคลังเพื่อพิจารณาต่อไป

<!--[if gte vml 1]> <![endif]--><!--[if !vml]--><!--[endif]-->

คุณ David Brady Mambu ประเทศไทย กล่าวว่า ที่ Mambu เรายึดมั่นในการขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนในภูมิภาคนี้ พวกเราเชื่อว่าบริการธุรกรรมทางการเงินบนแพลตฟอร์มคลาวด์ (Cloud Banking Platform) จาก Mambu จะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ธนาคารดิจิทัลในประเทศไทยเติบโตมากยิ่งขึ้น ด้วยการนำเสนอโซลูชันที่ยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนไปตามความต้องการของลูกค้าได้อย่างคล่องตัว

เป็นช่วงเวลาที่น่าจับตามองสำหรับประเทศไทย ที่กำลังจะก้าวไปถึงขั้นการจัดการออกกฎหมายในอุตสาหกรรมดิจิทัลแบงก์กิ้งและเศรษฐกิจดิจิทัลและการเติบโตอย่างยั่งยืน Mambu เชื่อว่าอุตสาหกรรมดิจิทัลแบงก์กิ้งในประเทศไทยจะเติบโตอย่างต่อเนื่อง และตั้งตารอที่จะเป็นส่วนหนึ่งของก้าวใหม่ในครั้งนี้ ตลอดเวลาที่ผ่านมา ทีมของเรามุ่งมั่นพัฒนาโซลูชันแห่งนวัตกรรมเพื่อให้ลูกค้าของเราประสบความสำเร็จได้ในยุคดิจิทัล และเราจะร่วมสร้างประโยชน์ในอุตสาหกรรมแบงก์กิ้งให้เติบโตยิ่งขึ้นในประเทศไทยต่อไป

ที่ผ่านมา Mambu ได้ร่วมงานกับธนาคารดิจิทัลในหลากหลายประเทศ เช่น ธนาคารดิจิทัลในประเทศมาเลเซีย 2 แห่งจากทั้งหมด 5 แห่ง รวมไปถึงในประเทศสิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ในหลายเดือนที่ผ่านมา ทีม Mambu ในเอเชียแปซิฟิกได้ร่วมงานกับผู้ยื่นสมัครขอใบอนุญาตธนาคารไร้สาขาในประเทศไทย โดยได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการตัดสินใจทางเทคโนโลยี และสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าว่าพวกเขากำลังสร้างธนาคารแห่งอนาคต และสามารถทนทานการทดสอบของเวลาได้

มีการคาดการณ์ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะเผยแพร่โครงร่างฉบับสุดท้าย และเปิดให้สมัครขอใบอนุญาตฯ ได้ภายในปีพ.ศ. 2566 นี้ และจะประกาศผู้ที่ผ่านการคัดเลือกในปีพ.ศ. 2567

###