บมจ.บัตรกรุงไทย (KTC) ประกาศปรับตัวครั้งใหญ่ เตรียมพร้อมสู่องค์กรรองรับในเรื่องการเปลี่ยนแปลงและได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าโดยตรง ตั้งเป้าการเติบโตในปี 2566 เกินแสนล้านบาท และยอดค่าใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเติบโต 10% สินเชื่อ “พี่เบิ้ม รถแลกเงิน” พิ่ม 9,100 ล้านบาท สินเชื่อกรุงไทยธุรกิจ ลีสซิ่งเพิ่ม 3,000 ล้านบาท และอีก 5 ปีข้างหน้า หรือปี 2570 ตั้งเป้ากำไร 1 หมื่นล้านบาท
นายระเฑียร ศรีมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร KTC กล่าวถึงแผนการดำเนินงานปี 2566 KTC จะเริ่มปรับเปลี่ยนเพื่อเตรียมองค์กรให้เป็นโครงสร้างแบบแนวราบ (Flat Organization) ให้มีการเชื่อมโยง Information Technology ต่าง ๆ ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ขององค์กรอย่างเป็นรูปธรรมทั้ง 3 มิติดังนี้
- Enterprise Architecture การจัดการโครงสร้างให้สอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
-
-
การดำเนินธุรกิจของ KTC จากนี้จะแบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ
• กลุ่มธุรกิจหลัก
(Existing) ได้แก่
ธุรกิจบัตรเครดิตและธุรกิจสินเชื่อไม่มีหลักประกันที่มีพอร์ตสินเชื่อในระดับหมื่นล้านบาทขึ้นไป
• กลุ่มธุรกิจใหม่ที่คาดว่าจะสร้างรายได้แบบก้าวกระโดด
(New SCurve) ได้แก่ สินเชื่อรถแลกเงิน เคทีซี พี่เบิ้ม
และสินเชื่อกรุงไทยธุรกิจ ลีสซิ่ง และ
• กลุ่มโมเดลธุรกิจที่อยู่ในระหว่างการบ่มเพาะ (Incubator) เช่น MAAI – Loyalty Platform เป็นต้น
สำหรับแผนกลยุทธ์การตลาดบัตรเครดิตในปี 2566 จะเน้นแนวคิด Less is MORE โดยปรับกระบวนการทำงานในทีมการตลาดให้กระชับคล่องตัวมากขึ้น บน 5 แกนสำคัญ
1. การบริหารพอร์ตลูกค้าให้มีคุณภาพมากที่สุด ด้วยการสร้างสรรค์โปรแกรมการตลาดเพื่อให้ลูกค้าใช้จ่ายอย่างต่อเนื่อง และการนำระบบออโตเมชั่น (Automation) เข้ามาใช้ในกระบวนการของการบริหารความสัมพันธ์กับสมาชิกบัตร
2.
3. จัดโปรแกรมกระตุ้นการใช้จ่ายที่ตอบโจทย์ฐานสมาชิกบัตรเคทีซี เน้น 3 หมวดใช้จ่ายหลัก คือ หมวดร้านอาหารและร้านอาหารในโรงแรม หมวดช้อปปิ้งออนไลน์และหมวดท่องเที่ยว นอกจากนี้ยังคงเดินหน้าความร่วมมือกับพันธมิตรธุรกิจอื่นๆ ที่มีเป้าหมายทางธุรกิจเดียวกัน ในการทำกิจกรรมการตลาดที่ตอบโจทย์ทุกหมวดใช้จ่ายสำคัญของสมาชิก และเพื่อสร้างการจดจำและผูกพันกับแบรนด์
4. ร่วมมือกับพันธมิตรท้องถิ่นในการจัดแคมเปญการตลาดและกิจกรรมการขยายฐานสมาชิกบัตรในต่างจังหวัด
5. บริหารจัดการการสื่อสารการตลาด ให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด โดยเน้นการทำคอนเทนท์ มาร์เก็ตติ้ง ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ เพื่อสร้างการรับรู้แบรนด์เคทีซีให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น โดยในปี 2566 ตั้งเป้ามีสมาชิกสมัครบัตรใหม่ 180,000 ใบ และคาดว่าจะมียอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเติบโต 10% จากปี 2565 หรือประมาณ 264,000 ล้านบาท
สำหรับแผนกลยุทธ์ของ “เคทีซี พี่เบิ้ม” ในปี 2566
จะเน้นขยายพอร์ตสินเชื่ออย่างต่อเนื่อง ด้วยจุดแข็งของผลิตภัณฑ์
ทั้งการให้วงเงินใหญ่สูงสุด 1 ล้านบาท อนุมัติใน 1 ชั่วโมง รับเงินทันที สามารถเข้าถึงสินเชื่อได้มากขึ้น
ผ่านทางธนาคารกรุงไทยกว่า 900 สาขาทั่วประเทศ สามารถทำรายการผ่านแท็บแล็ตในการรับสมัครสินเชื่อให้กับลูกค้าและอนุมัติแบบครบวงจรภายใน
1 ชั่วโมง พร้อมรับเงินทันที คาดว่าสิ้นปี 2566 จะมียอดอนุมัติสินเชื่อ “เคทีซี
พี่เบิ้ม รถแลกเงิน” เพิ่ม 9,100 ล้านบาท
ธุรกิจสินเชื่อบัตรกดเงินสด “เคทีซี พราว” (KTC PROUD) เป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีการพัฒนาต่อเนื่อง บัตรใบเดียวก็สามารถทำได้ทั้งการเบิกใช้วงเงิน
รูด โอน กด ผ่อน และ
แผนกลยุทธ์ในปี 2566 KTC จะพัฒนาไปในทางออนไลน์มากขึ้น
เพื่อตอบรับกับพฤติกรรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ะเพิ่มช่องทางเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่ต้องการใช้สินเชื่อด้วยต้นทุนรับสมัครที่ต่ำแต่ได้ผลดี
คาดว่าเมื่อสิ้นปี 2566 พอร์ตลูกหนี้สินเชื่อบุคคลจะเติบโต 7%
และมีสมาชิกใหม่ “เคทีซี พราว” 110,000 ราย
นอกจากนี้ KTC จะมุ่งบริหารต้นทุนทางการเงินให้มีประสิทธิภาพ
ภายใต้ความเสี่ยงที่ยอมรับได้และเหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจ
โดยจะมีการระดมเงินกู้ยืมระยะยาวประมาณ 15,000 ล้านบาท
เพื่อรองรับหุ้นกู้ที่จะครบกำหนดในปี2566 จำนวน 4,640 ล้านบาท
รวมทั้งสนับสนุนการเติบโตของพอร์ตสินเชื่อเคทีซี และต้นทุนการเงินอาจเพิ่มขึ้นตามทิศทางอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นจากปี
2565 อยู่ที่ 2.5%-3.0%
สุดท้ายนี้นายระเทียร กล่าวว่า KTC ยังเดินหน้าแผนกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนอย่างรับผิดชอบ ด้วยความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาและยกระดับองค์กรให้แข็งแกร่ง ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม โดยดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใสและมีธรรมาภิบาล