ก.ล.ต. รับมอบโล่เกียรติยศ “องค์กรคนดี” ประจำปี 2566


สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (...) รับมอบโล่เกียรติยศ “องค์กรคนดี” ประจำปี 2566 จากนายศุภชัย สมเจริญ รองประธานวุฒิสภา จัดโดยคณะอนุกรรมาธิการการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม วุฒิสภา เพื่อยกย่ององค์กรที่บริหารงานโดยยึดหลักคุณธรรม จริยธรรม และหลักธรรมาภิบาล เป็นที่ประจักษ์ในสังคม เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2566  อาคารรัฐสภา

โครงการ “องค์กรคนดี” ดำเนินงานโดยคณะอนุกรรมาธิการการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม วุฒิสภา ซึ่งตระหนักและให้ความสำคัญเพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ที่บริหารงานโดยยึดหลักคุณธรรม จริยธรรม มีหลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานเป็นที่ประจักษ์ในสังคม และเสริมสร้างคนดี คนเก่ง คนกล้า รวมทั้งสร้างโอกาสสู่สังคมเพื่อพัฒนาประเทศไทยอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ผู้นำองค์กรยังเป็นแบบอย่างและมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมกิจกรรมสร้างคนดีให้เกิดขึ้นในสังคม เป็นต้นแบบองค์กรคนดีที่สามารถแนะนำวิธีการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรภายในองค์กร ให้เป็นผู้มีความรู้ความสามารถและมีคุณธรรมจริยธรรม และสามารถขยายผลไปสู่องค์กรอื่นของประเทศได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งการมอบรางวัลครั้งนี้มีหน่วยงานที่ได้รับโล่เกียรติยศ “องค์กรคนดี” ประจำปี 2566 จำนวน 72 หน่วยงาน ประกอบด้วยองค์กรภาครัฐ 61 แห่ง ภาคเอกชน 4 แห่ง 
ภาคชุมชน 4 แห่ง และภาคประชาสังคม 3 แห่ง

ทั้งนี้ ..มีแนวนโยบายการดำเนินงานที่สะท้อนตามวัตถุประสงค์ของรางวัลที่ได้รับโดยแบ่งเป็น 2 มิติได้แก่ 
1) ด้านธรรมาภิบาล สร้างคนดี มีคณะทำงานองค์กรโปร่งใส และนโยบายและมาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสสู่การปฏิบัติจริง โดยพัฒนาต่อยอดและส่งเสริมความรู้ด้านธรรมาภิบาล เติบโตเชื่อมโยงกับกระบวนการทำงานโดยใช้แนวทางนวัตกรรมเพื่อความโปร่งใสและขยายวงกลุ่มผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change agent) ทำให้ต่อเนื่องและยั่งยืน มีการติดตามความคืบหน้าพัฒนาระบบพร้อมข้อมูลที่ทันสมัย (Data-driven governance) ก่อให้เกิดกลุ่ม Change agent ส่งเสริมคนเก่ง คนกล้า และขับเคลื่อนผลงานด้วยองค์กรนวัตกรรม โดยมีการสร้างสรรค์กระบวนการ (Commitment) เสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร (Culture) ส่งเสริมศักยภาพ (Capabilities) และสำเร็จบนงานจริง (Co-creation) เพื่อส่งเสริมให้คน ..คิดต่อยอดพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง เพื่อสร้างแนวคิด วิธีและรูปแบบใหม่  ในการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และนำไปสู่การเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม นำดิจิทัลมาใช้เพื่อให้บริการสะดวก ลดภาระ ตอบโจทย์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและเชื่อถือได้

2) การจัดการความยั่งยืนในมิติสังคมและสิ่งแวดล้อม มุ่งเน้น ESG เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์สำคัญเป็นการขับเคลื่อน SDGs in Action ผ่านโครงการต่าง  เช่น โครงการเสริมสร้างตลาดทุนธรรมาภิบาลเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก โครงการ “..ไม่ทิ้งกัน” จากผลงานนวัตกรรมของพนักงานปรับพฤติกรรมการทิ้งขยะด้วยกิจกรรม “3Rs” (Reduce Reuse Recycle) เป็นต้น ขณะที่การขับเคลื่อนในตลาดทุนได้ให้ความสำคัญในหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทจดทะเบียน (Corporate Governance Code: CG Code) หลักธรรมาภิบาลการลงทุนสำหรับผู้ลงทุนสถาบัน(Investment Governance Code หรือ I Code) และหลักเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลของบริษัทจดทะเบียน(One Report) เพื่อยกระดับการเปิดเผยข้อมูล ESG

นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล เลขาธิการ ... กล่าวว่า “..มีกระบวนการพัฒนาบุคลากรเพื่อพัฒนาสมรรถนะในการปฏิบัติงานให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาพนักงานในองค์กร โดยมีการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรของ ..ระยะ 3 ปี (.. 2564 – 2566) ให้กับพนักงาน..และลูกจ้างในทุกสายงาน โดยครอบคลุมทั้งความรู้เชิงวิชาการ และการพัฒนาเชิงพฤติกรรมเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้บรรลุผลสัมฤทธิ์ อีกทั้งให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจให้แก่พนักงานทุกระดับ และยึดมั่นในค่านิยมองค์กร “เปิดใจ รู้จริง ร่วมมือ ซื่อตรง” นอกจากนี้..ได้ริเริ่มและสนับสนุนให้บุคลากรทำกิจกรรมเพื่อสังคม โดยเฉพาะกิจกรรมที่ส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อปลูกฝังการรู้จักเสียสละและอุทิศตนเป็นประโยชน์เพื่อสังคม โดยมีผู้บริหารขององค์กรเป็นผู้นำการริเริ่มและเป็นแบบอย่างในการดำเนินการ

สำหรับรางวัลที่สะท้อนถึงการยึดหลักคุณธรรม จริยธรรม มีหลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานของ..ที่ผ่านมา ได้แก่ 1. ผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสประจำปี 2565 2. รางวัลองค์กรโปร่งใส (NACC Integrity Awards) ครั้งที่ 9 และครั้งที่ 10 3. รางวัล “อาคารราชการต้นแบบด้านการจัดการน้ำเสีย” จากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ปี 2563 4. ประกาศนียบัตรด้านการชดเชยก๊าซเรือนกระจก “ร้อยดวงใจ ร่วมใจลดโลกร้อน” ปี 2563 และ 5. ประกาศนียบัตร “องค์กรปลอดคาร์บอน” ปี 2563 เป็นตัวอย่างความสำเร็จและแนวปฏิบัติที่ดีในการขับเคลื่อนเพื่อบรรลุ SDGs (SDG Good Practices, Success Stories and Lessons Learned in the Implementation of the 2030 Agenda) ที่จะนำไปใช้แบ่งปันประสบการณ์กับประเทศต่าง  องค์กร หน่วยงาน และประชาชนที่สนใจประเด็นการขับเคลื่อนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป