GPSC แจงผลประกอบการปี 2565 รายได้รวม 123,685 ล้านบาท กำไรสุทธิลดลง 88% แม้ได้รับปัจจัยบวกจากการปรับค่า Ft เพิ่มขึ้น บอร์ดอนุมัติจ่ายเงินปันผลจากผลการดำเนินงานครึ่งปีหลังอีก 0.30 บาทต่อหุ้น ปลื้มความสำเร็จติดอันดับสมาชิกดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ (DJSI) ปีแรก
นายวรวัฒน์ พิทยศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่
บมจ.โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ (GPSC) เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานปี 2565 บริษัทฯ
มีรายได้รวมทั้งสิ้น 123,685 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้น 65%
เมื่อเทียบกับปี 2564 โดยมีกำไรสุทธิรวมทั้งสิ้น
891 ล้านบาท ลดลง 6,428 ล้านบาท หรือ 88%
จากปี 2564 เนื่องจากกำไรขั้นต้นของโรงไฟฟ้าผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก
(SPP) ลดลง 8,770 ล้านบาท
หลังราคาก๊าซธรรมชาติและถ่านหินที่ปรับตัวสูงขึ้น
ทำให้มาร์จิ้นจากการขายไฟฟ้าให้กับลูกค้าอุตสาหกรรมลดลง ขณะที่อัตราค่าไฟฟ้าผันแปร
(Ft) ยังไม่สามารถปรับตัวได้ทันราคาต้นทุนเชื้อเพลิง
GPSC มีเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนพลังงานสะอาดในพอร์ตการลงทุนให้มีสัดส่วนมากกว่า
50% จากกำลังการผลิตรวมของบริษัทฯ ภายในปี 2573
โดยบริษัทฯ
ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงตามเทรนด์พลังงานโลก
ที่มุ่งสู่การพัฒนาพลังงานสะอาดมากขึ้น พร้อมปรับกลยุทธ์ใหม่ให้สอดรับกับเป้าหมายการเติบโตทางธุรกิจที่ยั่งยืน
เพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์กรก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ อีกทั้งแสวงหาโอกาสร่วมมือกับพันธมิตรในการศึกษาและลงทุนในพื้นที่ที่มีศักยภาพตามกลยุทธ์
4S
กลยุทธ์ 4S ประกอบไปด้วย
S1: Strengthen and Expand the Core การสร้างความแข็งแกร่งที่เน้นการเพิ่มประสิทธิภาพโรงไฟฟ้าให้มากขึ้น
S2: Scale-Up Green Energy มุ่งเพิ่มสัดส่วนโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน
S3: S-Curve & Batteries การพัฒนานวัตกรรมพลังงานและธุรกิจแห่งอนาคต
S4: Shift to Customer-Centric Solutions บริการโซลูชั่นเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าเป็นสำคัญ
“กลยุทธ์ใหม่จะเน้นการขยายโอกาสในการพัฒนาพลังงานที่เป็นแพลตฟอร์ม
สอดคล้องกับทิศทางพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านพลังงานในรูปแบบความร่วมมือ
และการเข้าไปศึกษาความเป็นไปได้กับ Local partner ในประเทศเป้าหมาย
โดยเฉพาะ อินเดีย เวียดนามและไต้หวัน
ที่จะนำมาสู่การพัฒนาความเชี่ยวชาญของบุคลากรในองค์กรในการพัฒนาโครงการใหม่ๆ
ในอนาคต เพื่อรองรับการเติบโตอย่างรวดเร็ว ซึ่งปัจจุบันบริษัทฯ
มีกำลังการผลิตไฟฟ้าตามสัดส่วนการถือหุ้น รวม 7,102 เมกะวัตต์
แบ่งเป็นการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดในสัดส่วน 37% ก๊าซธรรมชาติ 48% ถ่านหิน 11%
และอื่น ๆ 4%” นายวรวัฒน์กล่าว
ในปี 2566 คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ได้เห็นชอบการปรับค่า Ft แบ่งออกเป็น 2 กรณี สำหรับเรียกเก็บรอบเดือนมกราคม-เมษายน 2566 กรณีสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านที่อยู่อาศัยเรียกเก็บในอัตราเดิม 93.43 สตางค์ต่อหน่วย สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทอื่นๆ เรียกเก็บที่ 154.92 สตางค์ต่อหน่วย เพิ่มขึ้นจาก 61.49 สตางค์ต่อหน่วย ส่งผลให้ราคาทางด้านพลังงานมีความผันผวนต่อการดำเนินธุรกิจที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด อีกทั้งการวางเป้าหมายการพัฒนาบริษัทผลิตไฟฟ้ายั่งยืน มุ่งสู่องค์กรนวัตกรรมพลังงานสะอาดชั้นนำในอาเซียน