สคร.เดินหน้าตามนโยบายคลังสร้างความแข็งแกร่งรัฐวิสาหกิจ เร่งเก็บรายได้นำส่งตามเป้า

สครเดินหน้าตามนโยบายกระทรวงการคลังตอบโจทย์ปีแห่งการลงทุนและการสร้างเสถียรภาพทางการคลัง เน้นเร่งการลงทุนรัฐวิสาหกิจและโครงการ PPP เก็บรายได้นำส่งตามเป้า และสร้างความแข็งแกร่งให้รัฐวิสาหกิจ

นายประภาศ คงเอียด ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยว่า จากที่สภาพัฒนฯประกาศตัวเลขเศรษฐกิจไทยในปี 2562 ที่ขยายตัวต่ำกว่าคาดการณ์ และคาดว่าในปี 2563 เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวร้อยละ 1.5 - 2.5 นั้น เห็นว่า ในช่วงความท้าทายของปี 2563 นี้ สครมีส่วนในการช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยได้อย่างมาก ผ่านการเร่งการลงทุนภาครัฐและโครงการ PPP การจัดเก็บรายได้แผ่นดินของรัฐวิสาหกิจให้เป็นไปตามเป้าหมาย และส่งเสริมความเข้มแข็งให้รัฐวิสาหกิจในช่วงที่เศรษฐกิจมีความผันผวน เพื่อสนับสนุนปีแห่งการลงทุนและการสร้างเสถียรภาพทางการคลังของประเทศตามนโยบายกระทรวงการคลังนอกจากความท้าทายในระยะสั้นที่กล่าวไป ยังเห็นว่า การเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานจะมีส่วนสำคัญต่อการเพิ่มความขีดสามารถในการแข่งขันและเป็นการสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจในระยะยาวซึ่งเมื่อพิจารณาแล้วรัฐวิสาหกิจเป็นหน่วยงานหลักที่มีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ในกิจการโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่ง สคร.ยังคงต้องขับเคลื่อนให้เกิดการลงทุนและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของรัฐวิสาหกิจและการให้เอกชนร่วมลงทุน หรือ PPP อย่างต่อเนื่อง


ด้านนายชาญวิทย์ นาคบุรี รองผู้อำนวยการ สครรักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านการประเมินรัฐวิสาหกิจ กล่าวว่า ปี2563 สคร. มีนโยบายเร่งการลงทุนของรัฐวิสาหกิจ เบิกจ่ายให้เร็วขึ้นในส่วนที่สามารถดำเนินการได้ (Front-Loaded) และหาโครงการลงทุนใหม่ๆ สครยังเข้าไปช่วยแก้ไขปัญหาที่ทำให้การลงทุนติดขัดอีกด้วย นอกจากนี้ ยังยกระดับกลไกการติดตามการลงทุนของรัฐวิสาหกิจให้เข้มข้นยิ่งขึ้นโดย ร่วมกับกรมบัญชีกลางในการติดตามความคืบหน้าของโครงการลงทุนที่สำคัญของภาครัฐที่มีมูลค่าตั้งแต่ 1,000 ล้านบาท โดยเพิ่มการติดตามการเบิกจ่ายงบลงทุนของบริษัทในเครือขนาดใหญ่ของรัฐวิสาหกิจและรัฐวิสาหกิจประเภทสถาบันการเงิน เพื่อให้การติดตามการลงทุนของรัฐวิสาหกิจครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ปี 2563 มีแผนการเบิกจ่ายประมาณ 350,000 ล้านบาท โดย  สิ้นเดือนมกราคม 2563 มีแผนการเบิกจ่ายสะสม 35,339 ล้านบาท ซึ่งรัฐวิสาหกิจสามารถเบิกจ่ายได้ 37,279 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 105 ของแผน โดย สครตั้งเป้าหมายให้การเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจในปี 2563 จะต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของแผนเบิกจ่ายทั้งปี นอกจากนี้การจัดเก็บรายได้แผ่นดินจากรัฐวิสาหกิจและกิจการที่กระทรวงการคลังถือหุ้นต่ำกว่าร้อยละ 50 ในปี 2563 สครมีเป้าหมายการจัดเก็บอยู่ที่ 188,800 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2562 จำนวน 20,800 ล้านบาท โดยผลการจัดเก็บ  วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2563 อยู่ที่ประมาณ 95,635 ล้านบาท คิดเป็นประมาณร้อยละ 50 ของเป้าหมายแล้วซึ่ง สครคาดว่า จะสามารถจัดเก็บรายได้นำส่งรัฐให้เป็นไปตามเป้าหมาย เพื่อให้เพียงพอต่อการใช้จ่ายต่างๆ ของภาครัฐและสามารถรักษาเสถียรภาพทางการคลัง

ขณะที่นางสาวปิยวรรณ ล่ามกิจจา รองผู้อำนวยการ สครรักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านการพัฒนารัฐวิสาหกิจ กล่าวถึงเรื่อง การผลักดันโครงการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (PPP)ในปี 2563 คาดว่าแผนการจัดทำโครงการร่วมลงทุนใหม่จะสามารถนำเสนอคณะกรรมการ PPP ให้ความเห็นชอบได้ ซึ่งทำให้เห็นเป้าหมายของโครงการ PPP ที่ชัดเจน สนับสนุนการลงทุนของประเทศ โดยร่างแผนที่จะเสนอคณะกรรมการ PPP จะมีโครงการ PPP ประมาณ 90 โครงการ มูลค่าการลงทุนกว่า 1 ล้านล้านบาท ซึ่งจะมีทั้งโครงการเชิงพาณิชย์และเชิงสังคม และในปีนี้กฎหมายลำดับรองภายใต้พระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน .. 2562 น่าจะแล้วเสร็จทั้งหมด ทั้งนี้ ในปี 2563 จะมีโครงการ PPP ที่สำคัญ ดังนี้ โครงการที่จะสามารถลงนามในสัญญาร่วมลงทุนได้ อย่างน้อย 6 โครงการ รวมมูลค่าการลงทุน ประมาณ 385,000 ล้านบาท ได้แก่1) โครงการ Motorway สายบางปะอิน-โคราช ในส่วนของ O&M ของกรมทางหลวง (ทล.)2) โครงการ Motorway สายบางใหญ่-กาญจนบุรี ในส่วนของ O&M ของ ทล.3) โครงการจัดประโยชน์ที่ดิน โรงแรมแกรมไฮแอท เอราวัณ ของสหโรงแรม 4) โครงการการจัดให้เช่าที่ราชพัสดุสนามกอล์ฟบางพระ ของกรมธนารักษ์5) โครงการศูนย์การขนส่งฯ นครพนม ของกรมการขนส่งทางบก 6) โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยโดยโครงการที่จะนำเสนอคณะกรรมการ PPP อย่างน้อย 4 โครงการ รวมมูลค่าการลงทุนประมาณ 31,000 ล้านบาทได้แก่1) โครงการเคหะชุมชนเชียงใหม่ (หนองหอยของการเคหะแห่งชาติ (กคช.) 2) โครงการศูนย์การแพทย์กระทรวงสาธารณสุข ของกรมการแพทย์ 3) โครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรมตามเส้นทางโครงข่ายรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนของ กคช. และ4) โครงการการบริหารจัดการท่าเทียบเรือสาธารณะเพื่อขนถ่ายสินค้าเหลว ของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สำหรับการแก้ไขปัญหารัฐวิสาหกิจ สครยังคงติดตามการแก้ไขปัญหารัฐวิสาหกิจที่อยู่ในแผนการแก้ไขปัญหาองค์กรอีก 5 แห่งต่อเนื่องอย่างใกล้ชิดและจะเสนอแต่งตั้งคณะอนุกรรมการของคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ชุดใหม่ เพื่อดูแลรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาเป็นการเฉพาะเพื่อให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมและมีความต่อเนื่อง โดยในปัจจุบันรัฐวิสาหกิจทั้ง 5 แห่ง มีความคืบหน้าที่สำคัญดังนี้1.บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชนยังคงต้องแก้ไขปัญหาเรื่องการเพิ่มรายได้ ลดค่าใช้จ่าย เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการและคุณภาพบริการ และที่สำคัญต้องเร่งให้มีการดำเนินโครงการพัฒนาศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภา (MRO) ให้ได้โดยเร็ว 2.การรถไฟแห่งประเทศไทย สามารถปิดงบการเงินเป็นปัจจุบันให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ตรวจสอบงบได้แล้ว สำหรับสิ่งที่ยังคงต้องติดตามและกำกับอย่างใกล้ชิด คือ การจัดตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์ และการให้บริษัทรถไฟฟ้า ..จำกัด มาดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ซึ่งทั้งสองส่วนนี้ กระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา 3.องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ประเด็นสำคัญอยู่ที่ความชัดเจนของแผนการก้ไขปัญหาขององค์กรที่อยู่ระหว่างการปรับปรุงการปรับปรุงแผนฟื้นฟูกิจการตามนโยบายของรัฐกระทรวงคมนาคม และแนวทางการจัดหารถโดยสารใหม่ตามแผนที่จะปรับปรุงบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชนและบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชนคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2563 ได้เห็นชอบการควบรวมแล้ว และต้องดำเนินการควบรวมให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน หลังจากที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ แต่ยังคงมีรายละเอียดจำนวนมากที่ต้องดำเนินการให้สามารถควบรวมได้อย่างไม่มีปัญหา 

ด้านนายประภาศ คงเอียด ผู้อำนวยการ สครกล่าวสรุปว่า แผนการดำเนินงานในปี 2563 ตามภารกิจงานของ สครทั้ง 3 ด้านที่กล่าวมาจะเป็นไปเพื่อการสนับสนุนปีแห่งการลงทุนของรัฐบาลและการสร้างเสถียรภาพทางการคลังในช่วงที่เศรษฐกิจของประเทศที่มีความไม่แน่นอนสูง ซึ่งจากแผนการดำเนินงานข้างต้น คาดว่า สครจะช่วยเร่งการลงทุนของภาครัฐให้ปรับตัวดีขึ้นได้ โดยคาดว่าการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจน่าจะไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90 ของแผน และสร้างกลไกที่เอื้อต่อการเข้ามาร่วมลงทุนของเอกชนในกิจการของรัฐผ่านกฎหมาย ระเบียบ และกระบวนการ PPP ที่สนับสนุนให้เกิดโครงการเร็วขึ้น รวมถึงส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการบูรณาการโครงการลงทุนร่วมกัน เช่น โรงไฟฟ้าชุมชนหรือสถานีชาร์จไฟฟ้าของรัฐวิสาหกิจกลุ่มพลังงาน นอกจากนี้สคร.ยังคงให้ความสำคัญกับการสร้างความแข็งแกร่งให้แก่รัฐวิสาหกิจในทุกด้านและจัดเก็บเงินนำส่งรายได้แผ่นดินของรัฐวิสาหกิจให้เป็นไปตามเป้าหมาย เพื่อสร้างเสถียรภาพทางการคลังให้ประเทศในระยะยาว สำหรับการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการพัฒนาการกำกับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจ .. 2562 (..พัฒนารัฐวิสาหกิจฯปัจจุบัน คนรมีองค์ประกอบครบถ้วนแล้ว และคาดว่าจะมีการประชุม คนรได้ภายในเดือนมีนาคม 2563 นี้ เพื่อขับเคลื่อนงานต่างๆ ที่สำคัญตาม ..พัฒนารัฐวิสาหกิจฯ ต่อไป