กบข.ผนึกจุฬาฯ พัฒนา ดัชนีความพร้อมเพื่อการเกษียณ

กบขเผยร่วมมือกับคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พัฒนา ดัชนีความพร้อมเพื่อการเกษียณ (Retirement Readiness Index) สำหรับประเทศไทย ต่อยอดความสำเร็จจากการพัฒนา ดัชนีความพร้อมเพื่อการเกษียณสำหรับสมาชิก กบข. ซึ่งพัฒนาสำเร็จลุล่วงแล้วในปี .2562 ที่ผ่านมา โดยตั้งเป้าว่าดัชนีใหม่นี้จะแล้วเสร็จในไตรมาส ปีนี้

นายวิทัย รัตนากร เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กล่าวว่า ในปี .. 2562 ที่ผ่านมา กบขได้ร่วมกับคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พัฒนา ดัชนีความพร้อมเพื่อการเกษียณ (Retirement Readiness Index) สำหรับสมาชิก กบข.” ได้สำเร็จ ซึ่งทำให้ กบขสามารถนำดัชนีดังกล่าว มาเป็นเครื่องมือและบรรทัดฐานในการวัดความพร้อมในการเข้าสู่การเกษียณอายุให้กับสมาชิก กบขและยังใช้ในการวางแผนพัฒนากลยุทธ์ การสื่อสารกับสมาขิก และสร้างการตระหนักถึงความสำคัญของการออม การวางแผนทางการเงินให้กับสมาชิกได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากความสำเร็จดังกล่าว กบขและคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯจึงได้เล็งเห็นถึงประโยชน์ที่จะร่วมมือกันต่อยอดพัฒนา ดัชนีความพร้อมเพื่อการเกษียณอายุสำหรับประเทศไทย ขึ้นมา



ดัชนีชี้วัดความพร้อมเพื่อการเกษียณชุดนี้ จะเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับสมาชิก กบขและสังคมไทยโดยรวมในการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ  เพื่อช่วยสร้างความตระหนักรับรู้ให้กับประชาชนทั่วไป ถึงความสำคัญของการออมและการวางแผนทางด้านการเงินเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการเกษียณอายุ นอกจากนั้น ยังจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับทางภาครัฐในการประเมินความพร้อมในการเกษียณอายุของประชาชนทั่วไป ซึ่งจะนำไปสู่การวางแผน ปรับปรุงแนวทางต่างๆ เพื่อให้ประชาขนคนไทยมีการเกษียณอายุอย่างมีคุณภาพ ซึ่งดัชนีนี้จะครอบคลุมการเกษียณอายุทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน และยังเป็นดัชนีที่มุ่งเน้นการประเมินความพร้อมในการเกษียณแบบองค์รวม โดยคำนึงถึงปัจจัยทั้งด้านการเงินและปัจจัยด้านสุขภาพพลานามัยและความเป็นอยู่เข้าไปด้วย โดยคาดว่าจะสามารถเผยแพร่ผลดัชนีได้ภายในไตรมาส 3 ของปีนี้ นายวิทัย กล่าว

ด้าน รศดรวิเลิศ ภูริวัชร คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงความร่วมมือในครั้งนี้ว่า เป็นโอกาสอันดีอย่างยิ่งที่คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ร่วมมือกับสถาบันหลักอย่าง กบขในการเตรียมความพร้อมให้กับประชาชนคนไทยในการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ  อันจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งให้กับสังคมโดยรวมของประเทศซึ่งเป็นพันธกิจที่สำคัญอันหนึ่งของคณะฯและมหาวิทยาลัยที่ต้องการเป็นสถาบันการศึกษาที่เป็นเสาหลักในการพัฒนาประเทศ และสร้างประโยขน์ให้กับสังคมไทยโดยรวม

ทั้งนี้ การส่งเสริมการออมและบริหารเงินออมเพื่อการเกษียณ รวมถึงการดูแลสุขภาพทางการเงิน (Financial Health) ของสมาชิก ถือเป็นภารกิจสำคัญของ กบขภายใต้ยุทธศาสตร์สมาชิกคือศูนย์กลาง หรือ Member Centric โดยในปี2563 กบขกำหนดภารกิจแยกตามลักษณะความพร้อมในการออมและบริหารเงินเพื่อการเกษียณของสมาชิกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ 1) กลุ่มออมเพิ่ม หมายถึงกลุ่มที่มีความพร้อมทางการเงินแต่ยังไม่ได้ใช้บริการออมเพิ่มกับ กบขและกลุ่มที่มีความจำเป็นควรทยอยออมเพิ่มเพื่อเป้าหมายเงินเกษียณที่เพียงพอ 2) กลุ่มเลือกหรือปรับแผนลงทุน หมายถึงกลุ่มสมาชิกที่ กบขจะดำเนินการสื่อสารเชิงรุกเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับแผนลงทุนที่ กบขมีให้บริการ เป้าหมายคือให้สมาชิกเลือกแผนลงทุนที่เหมาะสมกับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ และ 3) กลุ่มแก้ปัญหาทางการเงิน หมายถึงสมาชิก กบขที่มีรายจ่ายเกินรายได้และมีภาระหนี้สินมีความเสี่ยงสูงที่จะมีเงินเกษียณไม่เพียงพอ โดย กบขอยู่ระหว่างจัดทำโครงการร่วมกับธนาคารรัฐ และออกมาตรการของ กบขเพื่อให้ความช่วยเหลือสมาชิกกลุ่มนี้ ทั้งนี้ หากสมาชิกต้องการคำปรึกษา สามารถติดต่อศูนย์ข้อมูลการเงิน กบข. (Financial Assistant Center) ที่พร้อมให้บริการแบบส่วนบุคคล (Personalized) ได้ทาง My GPF App หรือ อีเมล fa@gpf.or.th