คปภ. เพิ่มภูมิคุ้มกันความเสี่ยงให้ผู้ประกอบการ SMEs นำร่องลงพื้นที่จังหวัดภูเก็ต

คปภเพิ่มภูมิคุ้มกันความเสี่ยงให้ผู้ประกอบการ SMEs นำร่องลงพื้นที่จังหวัดภูเก็ตสร้างเกราะให้ผู้ประกอบการ SMEsเข้าใจและใช้ประโยชน์จากประกันภัยเพื่อการฟื้นตัวอย่างยั่งยืน

ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(เลขาธิการ คปภ.) เป็นประธานเปิดการสัมมนาในหัวข้อ “ประกันภัยถูกทางสร้างเกราะให้ SMEs” เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2565  โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ บีช รีสอร์ท จังหวัดภูเก็ต ซึ่งจัดโดยสายกฎหมายและคดี สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้และสร้างความเข้าใจด้านประกันภัยเชิงรุกให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจขนาดย่อม หรือ ผู้ประกอบธุรกิจ SMEs ได้เข้าใจเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ เงื่อนไขความคุ้มครอง ตลอดจนข้อยกเว้นของกรมธรรม์ประกันภัยประเภทต่าง  เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ประกันภัยให้สอดคล้องกับความเสี่ยงของบุคคลหรือธุรกิจของตนเอง โดยมีการให้ความรู้ในหัวข้อ “การประกันภัยสำหรับธุรกิจ SMEs” ที่เกี่ยวกับหลักการประกันภัย ประเภทการประกันภัยที่จำเป็นต่อธุรกิจ การบริหารความเสี่ยงของธุรกิจด้วยการประกันภัย หลักการที่จำเป็นในการพิจารณาทำประกันภัย รวมถึงกรณีศึกษาต่าง  ที่เกิดขึ้น 

นอกจากนี้ยังมีการให้ความรู้ในหัวข้อ “ประกันภัยถูกทางสร้างเกราะให้ SMEs” ที่เกี่ยวกับหลักกฎหมายและหลักการประกันภัย โดยมีผู้ประกอบการและผู้แทนจากหน่วยงานต่าง  เข้าร่วมสัมมนาเป็นจำนวนมาก เช่น หอการค้าไทยจังหวัดภูเก็ตและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย สมาพันธ์เอสเอ็มอี จังหวัดภูเก็ต สภาอุตสาหกรรมจังหวัดภูเก็ต ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมตลอดจนกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น



ในโอกาสนี้ได้รับเกียรติจาก นายณรงค์ วุ่นซิ้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ให้การต้อนรับและได้กล่าวขอบคุณที่สำนักงาน คปภเลือกจังหวัดภูเก็ตเป็นพื้นที่เป้าหมายในการให้ความรู้ด้านประกันภัยแก่ผู้ประกอบการ SMEs อันจะเป็นประโยชน์ต่อการนำระบบประกันภัยเข้ามาบริหารความเสี่ยงภัยต่อการประกอบธุรกิจ เนื่องจากจังหวัดภูเก็ตเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้ามายังประเทศไทย ตกเฉลี่ยปีละ 4- 5 ล้านคน ดังนั้นรายได้หลักของจังหวัดภูเก็ตจึงมาจากธุรกิจการท่องเที่ยวไม่ว่าจะเป็นธุรกิจ โรงแรม ร้านอาหาร บริษัทท่องเที่ยว และร้านขายของที่ระลึก นอกจากนี้รายได้ของจังหวัดยังมาจากการค้าส่งและค้าปลีกผลิตภัณฑ์ทางประมง อาทิ ฟาร์มเลี้ยงกุ้ง ฟาร์มเลี้ยงหอยมุก และการทำเกษตรกรรม โดยพืชพันธุ์หลัก  ได้แก่ ยางพารา มะพร้าวมะม่วงหิมพานต์ และสับปะรด ซึ่งการประกอบกิจการใด  ก็ตามย่อมมีความเสี่ยงเกิดขึ้นและส่งผลเสียหายแก่ผู้ประกอบการ ดังนั้นการทำประกันภัยจะเป็นตัวช่วยที่ดีต่อผู้ประกอบการ ประชาชนทั่วไป รวมไปถึงนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต สามารถโอนความเสี่ยงภัยต่าง  ที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่คาดคิดด้วยการทำประกันภัย ซึ่งจังหวัดภูเก็ตพร้อมให้ความร่วมมือกับสำนักงาน คปภเพื่อนำระบบประกันภัยเข้ามาบริหารความเสี่ยงภัยในทุกมิติ

ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ คปภได้เปิดการสัมมนาและปาฐกถาพิเศษ โดยกล่าวในตอนหนึ่งว่าผู้ประกอบการ SMEs ในทุกประเภทธุรกิจต่างก็มีความเสี่ยงที่หลากหลายและแตกต่างกันไป ดังนั้น การบริหารความเสี่ยงด้วยการประกันภัยจึงเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยให้กับผู้ประกอบการ SMEs ได้ใช้ในการรองรับความเสี่ยงภัยต่าง  ซึ่งสำนักงาน คปภได้สนับสนุนและส่งเสริมให้ภาคธุรกิจประกันภัยมีการออกผลิตภัณฑ์ประกันภัยแบบใหม่  เพื่อให้สามารถตอบโจทย์ความต้องการของประชาชน รวมถึงกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มที่อ่อนไหวถึงแม้ธุรกิจในขณะนี้จะมีการฟื้นตัว แต่เนื่องจากกลุ่มนี้ส่วนใหญ่สายป่านทางธุรกิจไม่ยาว ดังนั้นหากไม่บริหารความเสี่ยงให้ดีแล้วเกิดภัยขึ้นมาก็จะเกิดผลกระทบอย่างมาก สำหรับการทำประกันภัยแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ประเภทแรก กฎหมายกำหนดให้กิจกรรมนั้น  ต้องมีการทำประกันภัยภาคบังคับไว้ มิเช่นนั้นจะเป็นความผิดตามกฎหมาย เช่น ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ มีกฎหมายกำหนดเกี่ยวกับการทำประกันภัยอยู่ในมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัตินำเที่ยวและมัคคุเทศก์ .. 2551 และประกาศคณะกรรมการธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ เรื่อง หลักเกณฑ์การประกันภัยสำหรับอุบัติเหตุให้แก่นักท่องเที่ยว มัคคุเทศก์ และผู้นำเที่ยวในระหว่างเดินทางท่องเที่ยว.. 2561 โดยกำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวทุกรายต้องจัดให้มีประกันภัยสำหรับอุบัติเหตุให้แก่นักท่องเที่ยว มัคคุเทศก์ และผู้นำเที่ยวในระหว่างเดินทางท่องเที่ยว ซึ่งสำนักงาน คปภได้สนับสนุนให้มีการออกกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุการเดินทางสำหรับธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ โดยมีเงินเอาประกันภัยกรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพ ไม่ต่ำกว่า 1,000,000 บาทต่อคน และกรณีบาดเจ็บไม่ต่ำกว่า 500,000 บาทต่อคน ทั้งนี้หากผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวไม่จัดให้มีประกันภัยตามที่กฎหมายกำหนดไว้จะต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500,000 บาท


นอกจากนี้กฎหมายยังกำหนดให้ผู้ประกอบการ SMEs ประเภทหอพัก ตามมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติหอพัก .. 2558 ซึ่งกำหนดให้ผู้ประกอบกิจการหอพักต้องจัดให้มีการประกันภัยเพื่อคุ้มครองชีวิต ร่างกายและทรัพย์สินของผู้พัก และประกาศคณะกรรมการส่งเสริมกิจการหอพัก เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดให้มีการประกันภัยเพื่อคุ้มครองชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของผู้พักตามพระราชบัญญัติหอพัก .. 2558 โดยสำนักงาน คปภได้สนับสนุนและส่งเสริมให้มีกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้พักในหอพัก เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถจัดหาประกันภัยได้ตามกฎหมาย ซึ่งมีการกำหนดความคุ้มครองการเสียชีวิตทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง และค่ารักษาพยาบาลของผู้พักอันเป็นผลมาจากหอพักเกิดไฟไหม้หรือระเบิด หรือผู้พักถูกฆาตกรรม ถูกทำร้ายร่างกาย โดยอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในหอพัก รวมทั้งคุ้มครองทรัพย์สินส่วนตัวของผู้พักอันเป็นผลมาจากสถานที่ประกันภัยเกิดไฟไหม้ ระเบิด และหากผู้ประกอบกิจการหอพักผู้ใดไม่ปฏิบัติต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท เป็นต้น

ประเภทที่ 2 เป็นการทำประกันภัยโดยสมัครใจที่นอกเหนือจากการประกันภัยภาคบังคับตามกฎหมายกำหนดให้ ผู้ประกอบการ SMEs ยังมีทางเลือกในการจัดหาประกันภัยเพื่อความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับกิจการของตนเองได้หลากหลายรูปแบบ คือ การประกันภัยทรัพย์สินซึ่งคุ้มครองความสูญเสียหรือเสียหายของทรัพย์สินที่เอาประกันภัยจากภัยต่าง  เช่น ไฟไหม้ ฟ้าผ่า ระเบิด ภัยธรรมชาติ ลมพายุ น้ำท่วมแผ่นดินไหว หรืออุบัติเหตุหรือเหตุการณ์ที่ไม่ได้คาดหมาย รวมทั้ง อาจเลือกการประกันภัยสำหรับความเสี่ยงต่อภัยใดภัยหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น ประกันอัคคีภัยที่ให้ความคุ้มครองหลักต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นกับวัตถุที่เอาประกันภัยจากไฟไหม้ ฟ้าผ่า การระเบิดของแก๊สที่ใช้เพื่ออยู่อาศัย โดยอาจมีการเพิ่มเติมความคุ้มครองต่อภัยจากน้ำท่วม ลมพายุ หรือแผ่นดินไหว เป็นต้น นอกจากนี้ สำนักงาน คปภยังได้สนับสนุนให้ภาคธุรกิจประกันภัยออกผลิตภัณฑ์ประกันภัยส่วนบุคคล เช่น กรมธรรม์ประกันภัยการเดินทาง กรมธรรม์ประกันภัยสุขภาพ กรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยรายย่อยที่หลากหลายขึ้น เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากระบบประกันภัยเพื่อเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ


ด้านนายศึกษิต สุวรรณดิษฐกุล นายกสมาคมโรงแรมไทยภาคใต้ ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้เข้าร่วมสัมมนาในครั้งนี้ เปิดเผยว่า ผู้ประกอบการโรงแรมหรือที่พักทั้งขนาดใหญ่ กลาง เล็ก ส่วนใหญ่ต้องการทำธุรกิจบนความพึงพอใจและความประทับใจของลูกค้าผู้มาใช้บริการอยู่ตลอดเวลา เช่น เมื่อลูกค้าประสบอุบัติเหตุในระหว่างเข้าพักอาศัย หากผู้ประกอบโรงแรมและที่พักอาศัย มีการทำประกันภัยไว้ก็จะทำให้ลูกค้าอุ่นใจและสามารถใช้เป็นเครื่องบริหารความเสี่ยงภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งขณะนี้มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกลับเข้ามาท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตจำนวนมาก โดย 5 อันดับแรกคือ นักท่องเที่ยวจากประเทศรัสเซีย อินเดีย สิงคโปร์ ออสเตรเลีย และอังกฤษ ดังนั้นการลงพื้นที่ให้ความรู้ของสำนักงาน คปภในครั้งนี้ จึงถูกที่ถูกเวลาและเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก เพราะทำให้ผู้ประกอบการเข้าใจและมีทัศนคติที่ดีต่อการนำระบบประกันภัยเข้ามาบริหารความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ส่วนนายราชันย์ ชาติสุทธิ ผู้จัดการศูนย์กลุ่ม SMEs ภาคใต้อันดามัน 6 จังหวัด ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้เข้าร่วมสัมมนาในครั้งนี้ กล่าวว่า การลงพื้นที่เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการ SMEs ของสำนักงาน คปภในครั้งนี้ ทำให้ผู้ประกอบการได้เข้าใจระบบการประกันภัยมากขึ้น และได้รู้จักบทบาทหน้าที่ของผู้ประกอบการบางประเภทที่จะต้องทำประกันภัยตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งความรู้ที่ได้จากการสัมมนาในครั้งนี้ ตนจะนำไปบอกกล่าวและเผยแพร่ให้กับสมาชิกของกลุ่ม SMEs ภาคใต้อันดามัน 6 จังหวัด ได้ตระหนักและตื่นตัวต่อการนำระบบประกันภัยเข้ามาบริหารความเสี่ยงทั้งต่อธุรกิจและลูกค้าผู้ที่เข้ามาใช้บริการในมิติต่าง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติที่เข้ามาใช้บริการต่าง  ในพื้นที่ภาคใต้อันดามัน 6 จังหวัด

เลขาธิการ คปภกล่าวเพิ่มเติมด้วยว่า สำนักงาน คปภได้ส่งเสริมให้ภาคธุรกิจประกันภัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการ SMEs ในรูปแบบของกรมธรรม์ประกันภัยสำหรับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อรองรับความสูญเสียหรือความเสียหายที่เกิดขึ้นกับผู้ประกอบการ SMEs จากภัยต่าง  เช่น ไฟไหม้ น้ำท่วม ระเบิด ภัยเนื่องจากน้ำ ภัยต่อเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือความเสี่ยงต่อความรับผิดต่อบุคคลภายนอกที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากการเข้ามาติดต่อกับผู้ประกอบกิจการโดยเหมาะสมกับสภาพความเสี่ยงของธุรกิจของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดย่อมที่มีมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท และวิสาหกิจขนาดกลางไม่เกิน 200 ล้านบาท หรือที่เรียกว่า กรมธรรม์ประกันภัยสำหรับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SMEs Package โดยรวบรวมความคุ้มครองไว้ให้ครอบคลุมความต้องการของผู้ประกอบการโดยอาจมีความคุ้มครองหลักสำหรับการประกันอัคคีภัยซึ่งอาจรวมถึงภัยเพิ่มเติม หรือการประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน และขยายความคุ้มครองเพิ่มเติม เช่น การประกันภัยเงินทดแทนการสูญเสียรายได้ ซึ่งให้ความคุ้มครองในกรณีที่ทรัพย์สินที่เอาประกันภัยเกิดความสูญเสียหรือเสียหายจากการประกันภัยในหมวดความคุ้มครองหลัก การประกันภัยโจรกรรมซึ่งให้ความคุ้มครองความสูญเสียหรือเสียหายต่อทรัพย์สินภายในสิ่งปลูกสร้างที่เกิดจากการลักทรัพย์ การชิงทรัพย์ หรือปล้นทรัพย์ รวมถึงความเสียหายต่อสิ่งปลูกสร้างที่เกิดจากกรณีดังกล่าว การประกันภัยสำหรับเงิน ซึ่งให้ความคุ้มครองเงินสดขณะอยู่ในสถานที่เอาประกันภัยหรือขณะทำการขนส่งจากการลักทรัพย์ การชิงทรัพย์ หรือการปล้นทรัพย์ การประกันภัยสำหรับกระจก การประกันภัยความรับผิดต่อบุคคลภายนอก และการประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล การประกันภัยอุบัติเหตุหรือ การประกันภัยสุขภาพสำหรับพนักงาน การประกันภัยป้ายโฆษณาซึ่งให้ความคุ้มครองความเสียหายของป้ายโฆษณาและความรับผิดต่อบุคคลภายนอกจากป้ายโฆษณา หรือ การประกันภัยเครื่องจักร เป็นต้น

การประกอบกิจการของผู้ประกอบธุรกิจไม่ว่าจะเป็นรายใหญ่หรือรายย่อมต้องเผชิญกับความเสี่ยง การประกันภัยจึงเป็นเรื่องใกล้ตัว ซึ่งหากทุกท่านได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันภัยแล้ว ก็จะสามารถใช้ประโยชน์จากการประกันภัยเพื่อบริหารความเสี่ยงให้กับธุรกิจของท่านและอาจรวมถึงตัวท่านและครอบครัวของท่านด้วย ทั้งนี้หากทำประกันภัยแล้วไม่ได้รับความเป็นธรรม สำนักงาน คปภก็มีหน่วยงานคุ้มครองสิทธิประโยชน์ด้านการประกันภัย ทั้งที่สำนักงาน คปภถนนรัชดาภิเษก และสำนักงาน คปภภาคทั้ง 9 ภาค และสำนักงาน คปภ.จังหวัดทั่วประเทศ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายในการบริการแต่อย่างใด ซึ่งสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน คปภ. 1186” เลขาธิการ คปภกล่าวในตอนท้าย