บริษัทไทยพลาสติก รีไซเคิล กรุ๊ป ร่วมลงนาม MOU กับ ม.เกษตรฯ-พันธมิตร นำร่องพัฒนามาตรฐานระบบการจัดการเศรษฐกิจหมุนเวียนองค์กร

บริษัท ไทยพลาสติก รีไซเคิล กรุ๊ป จำกัด ผู้ประกอบการรีไซเคิลขวดพลาสติก PET ร่วมลงนามความร่วมมือทางวิชาการ"มาตรฐานระบบการจัดการเศรษฐกิจหมุนเวียน(CEMS)สำหรับองค์กร" เพื่อผลักดันนโยบายเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ระหว่าง ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านกลยุทธ์ธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือ วีกรีน คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และบริษัทเอกชนรวม 32 บริษัท จาก 6 กลุ่มอุตสาหกรรม ประกอบด้วย เกษตรอาหาร วัสดุก่อสร้าง พลาสติก บรรจุภัณฑ์ แฟชั่นไลฟ์สไตล์ และพลังงานหมุนเวียน โดยได้รับเกียรติจาก ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดี.เกษตรศาสตร์ รศ.ดร.รัตนาวรรณ มั่งคั่ง ผู้อำนวยการวีกรีน ในฐานะหัวหน้าโครงการฯ ร่วมลงนาม โดยนายพงษ์ศักดิ์  จึงรุ่งเรืองวัฒนา  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร  บริษัทไทยพลาสติก รีไซเคิล กรุ๊ป  ตัวแทนบริษัทฯร่วมลงนาม  อาคารสารนิเทศ 50 ปี .เกษตรศาสตร์ บางเขน เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2565 ที่ผ่านมา

 

ทั้งนี้  บริษัทไทยพลาสติก รีไซเคิล กรุ๊ป เป็น 1 ใน 32 บริษัทนำร่องที่ผ่านการคัดเลือกเพื่อเข้าร่วมโครงการฯ เป็นไปตามเกณฑ์พิจารณา คือต้องเป็นบริษัทที่มีนโยบายเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างชัดเจน มีระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐาน ISO14001 มีทรัพยากรและบุคลากรที่สามารถจะให้ความร่วมกับทางโครงการฯ และสามารถแสดงข้อมูลในการดำเนินการตามข้อกำหนดของมาตรฐานได้ โดยมีการเตรียมความพร้อมเพื่อรับการตรวจประเมินในการขอการรับรองมาตรฐาน สมช. 2 เล่ม 2 ทั้งนี้โครงการนี้จะช่วยส่งเสริมให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ นำไปสู่การลดปริมาณของเสีย รวมทั้งลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นนโยบายระดับชาติสู่การประยุกต์ใช้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนในภาคเอกชนอย่างเป็นรูปธรรม

 

สำหรับโครงการวิจัยเรื่อง "การพัฒนาระบบการตรวจสอบและรับรองระบบการจัดการเศรษฐกิจหมุนเวียนองค์กรเพื่อผลักดันนโยบายเศรษฐกิจหมุนเวียน” นี้  ทางวีกรีน คณะสิ่งแวดล้อม .เกษตร ร่วมกับสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) โดยได้รับการสนับสนุนทุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ หรือ บพขมีระยะเวลาดำเนินโครงการที่เกี่ยวข้องกับบริษัทนำร่อง ตั้งแต่ .. 2565 - .. 2566 โดยมาตรฐานฯดังกล่าวจะเป็นกลไกสำคัญที่จะช่วยสนับสนุนให้องค์กรและผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ  และจะทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในภูมิภาคอาเซียนที่มีการพัฒนาระบบ Certification System ในเรื่องของ Circular Economy Management System ซึ่งจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับคู่ค้าธุรกิจในตลอดห่วงโซ่อุปทานช่วยเพิ่มโอกาสทางการตลาด และสามารถที่จะเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในภาพรวมต่อไป