หุ้นกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์สดใส บวกแรงกว่าตลาด กำไรเติบโตถ้วนหน้า ส่วนหนึ่งเพราะเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่า และการย้ายฐานการผลิตจากจีนกลับอเมริกา กรณีเทรดวอร์สหรัฐ-จีน ส่งผลให้ดีมานด์พุ่ง หนุนผลงานครึ่งปีหลังสดใส
จากความร้อนแรงของ DELTA ส่งผลให้หุ้นกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์คึกคักขึ้นตามกัน ไม่ว่าจะเป็น KCE HANA SVI ปรับตัวขึ้นมา เนื่องจากผลประกอบการไตรมาส 2 ออกมาดี นักลงทุนจึงทยอยเข้าเก็บเพื่อเก็งกำไร และผลประกอบการที่ออกมาก็ไม่ทำให้นักลงทุนผิดหวัง
ปัจจัยที่ทำให้หุ้นกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์กลับมามีการซื้อขายอย่างคึกคัก เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อส่งออกเป็นหลัก โดยมีสัดส่วน 90 – 95% ของปริมาณการผลิตทั้งหมดโดยเป็นการส่งออก ในปี 2563 สินค้าฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ (HDD) มีสัดส่วน 29.3% ของมูลค่าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด รองลงมา ได้แก่ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบอื่น ๆ 21.9% แผงวงจรไฟฟ้า (IC) 19.6% อุปกรณ์กึ่งตัวนำ Transistors และ Diodes 7.0% สินค้า PCB 3.6% และอิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ 18.7% สำหรับตลาดส่งออกสำคัญของไทย ได้แก่ สหรัฐอเมริกา (27.6% ของมูลค่าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดของไทย), ฮ่องกง (15.3%), อาเซียน (14.4%), สหภาพยุโรป (12.9%), จีน (10.5%) และญี่ปุ่น (8.7%) ดังนั้น หากเศรษฐกิจของประเทศคู่ค่าเริ่มฟื้นตัว ส่งผลให้ธุรกิจชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์กลับมาสดใสอีกครั้ง
หุ้น DELTA
เป็นหุ้นที่ผลิตและจำหน่ายการจัดระบบกำลังไฟฟ้า Power
Management Solution รวมถึงชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
อย่างเช่น พัดลมอิเล็กทรอนิกส์ EMI Filter หรือ โซลินอยด์
ซึ่งมีฐานการผลิตอยู่ทั้งในทวีปเอเชีย ยุโรป และอเมริกาใต้ ผู้ถือหุ้นใหญ่คือ เดลต้า อิเล็กทรอนิกส์
เป็นบริษัทจัดตั้งจากสิงคโปร์ ถือหุ้นประมาณ 42.85% มีผู้ถือหุ้นรายย่อย
(Free Float) ประมาณ 22.35% ในส่วนของผู้ถือหุ้นอื่น
ๆ อยู่ที่ระดับ 12,185 ราย ส่วน Market Cap 9.53 แสนล้านบาท มีมูลค่าสินทรัพย์ประมาณ 86,562
ล้านบาท รายได้ประมาณ 84,712 ล้านบาท ส่วนกำไรอยู่ที่ประมาณ
11,154 ล้านบาท กำไรต่อหุ้นอยู่ที่ระดับ 8.94บาท
หุ้น KCE เป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนทางด้านแผ่นฟิล์มวงจรอิเล็กทรอนิกส์ TCB ซึ่งเป็นแผ่น Expoxy Glass เป็นสื่อนำไฟฟ้า อย่างเช่นตะกั่ว ทองแดง ผลิตแผ่น TCB หลายชั้น ซึ่งเป็นชิ้นส่วนพื้นฐานสำคัญในการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องมือสื่อสารโทรคมนาคม อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า เป็นต้น และอุปกรณ์ หุ้น KCE มีนักลงทุนรายย่อยถือครองประมาณ 59.04 % สินทรัพย์ที่ผ่านมาอยู่ที่ประมาณ 21,641 ล้านบาทมีรายได้ประมาณ 14,117 ล้านบาท มีกำไรประมาณ 1,816 ล้านบาท กำไรต่อหุ้นอยู่ที่ระดับ 1.54 บาท ราคาหุ้น KCE อยู่ที่ระดับประมาณ 50 บาท หุ้น KCE เคยทำราคาสูงสุดที่ประมาณ 94 บาท สำหรับหุ้น KCE ราคาที่นักวิเคราะห์ให้ไว้ในปี 2565 ราคาสูงสุดให้ไว้ 60 บาท ปัจจุบันเคลื่อนไหวอยู่ที่ระดับราคา 50 กว่าบาท ราคาต่ำสุดที่ให้ไว้ 37 บาท หุ้น KCE เข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เมื่อปี พ.ศ.2531 ราคาพาร์อยู่ที่ 0.50 สต. ชำระทุนจดทะเบียนไปแล้วทั้งสิ้น 590 ล้านบาท กรรมการบริษัทได้แก่กลุ่มตระกูล องคโฆษิต
หุ้น HANA ถือหุ้นใหญ่เป็นชาวต่างชาติได้แก่ OMAC (HK) LIMITED สำหรับหุ้น HANA เป็นธุรกิจเฉพาะเจาะจง ให้บริการทางด้านอิเล็กทรอนิกส์แบบครบวงจร อุปกรณ์เครื่องมือทางด้านโทรศัพท์ เป็นต้น ผู้ถือหุ้นรายย่อยในตลาดมีสัดส่วนที่ใกล้เคียงกับ KCE อยู่ที่ระดับ 57.77% เป็นหุ้นที่ต่างชาติมาถือครองเป็นส่วนใหญ่ ทางด้านสินทรัพย์มีประมาณ 30,176 ล้านบาท กำไรสุทธิ 1,027 ล้านบาท รายได้ 20,380 ล้านบาท กำไรต่อหุ้นอยู่ที่ระดับ 1.28 บาท HANA เข้ามาจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทยเมื่อปี พ.ศ.2536 ส่วนราคาพาร์อยู่ที่ระดับ 1 บาท ทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วประมาณ 804 ล้านบาท ส่วนราคาเป้าหมายที่นักวิเคราะห์ให้ไว้อยู่ที่ 65 บาท ราคาปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 54 บาท
หุ้น
SVI ปัจจุบันได้มีการขยายธุรกิจออกไปยังต่างประเทศ
เข้ามาจดทะเบียนในตลาดหุ้นเมื่อปี พ.ศ.2532 ราคาพาร์อยู่ที่ 1 บาท
สำหรับผู้ถือหุ้นอันดับ 1 ได้แก่ พงษ์ศักดิ์ โล่ทองคำ ผู้ถือหุ้นใหญ่คือ นาย
พงษ์ศักด์ โล่ทองคำ โดยถือครองอยู่ที่ระดับ 72.81% มีผู้ถือหุ้นรายย่อยอยู่ที่
18.56 % เท่านั้น ชำระทุนจดทะเบียนอยู่ที่ระดับ 2,171 ล้านบาท ถือเป็นหุ้นเชื้อสายคนไทยที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
ปัจจุบันราคาหุ้นอยู่ที่ 11.50 บาท แต่ราคาในรอบปีที่ผ่านมาอยู่ที่ระดับประมาณ 6
บาท ขึ้นมาเกือบ 100%
นักวิเคราะห์ให้ราคาหุ้น SVI สูงสุดที่ถึง
28 บาท ซึ่งบริษัทหลักทรัพย์ทที่ให้ราคาสูงสุดคือ บล.ยูโอบี เคเหงียน
เป็นบริษัทหลักทรัพย์ทางด้านสิงคโปร์