ชาติศิริ โสภณพนิล ต้อนรับ “มาร์กอส จูเนียร์” ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ในการประชุมAPEC Business Advisory Council 2022 (ABAC 2022) ตอกย้ำความเชื่อมั่น พร้อมเปิดโอกาสทางธุรกิจ ในฐานะ “ธนาคารชั้นนำระดับภูมิภาค”
นายชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กล่าวต้อนรับ นายเฟอร์ดินานด์ “บองบอง” มาร์กอส จูเนียร์ ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ในโอกาสให้เกียรติกล่าวปาฐกถาในที่ประชุม APEC Business Advisory Council 2022 (ABAC 2022) โดยกล่าวว่า ภายหลังนายมาร์กอส ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ได้เริ่มทำงานอย่างเต็มกำลังเพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนและสถานะของประเทศฟิลิปปินส์ในระดับนานาชาติ ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างอบอุ่นจากประชาคมโลก เห็นได้จากเงินลงทุนจากต่างประเทศที่เริ่มไหลเข้าประเทศอย่างต่อเนื่องส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศฟิลิปปินส์ในไตรมาสที่สามของปีนี้ 8 ขยายตัวในอัตรา 7.6% ซึ่งสูงเป็นอันดับต้นๆ ในอาเซียน อีกทั้งยังได้รับการคาดการณ์ว่าจะเติบโตยิ่งขึ้นไปอีกในปี 2566 จากการขยายตัวของภาคการส่งออก การบริโภคในประเทศ และการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ในท่ามกลางสถานการณ์โลกที่ไม่เอื้ออำนวย
“ธนาคารกรุงเทพดำเนินธุรกิจอยู่ในประเทศฟิลิปปินส์มาอย่างต่อเนื่องเกือบสามทศวรรษ และยังคงเชื่อมั่นในอนาคตของประเทศฟิลิปปินส์ โดยธนาคารกรุงเทพ สาขามะนิลา เปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี 2538 และมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนลูกค้าธุรกิจอย่างต่อเนื่องและหลากหลาย ทั้งบริษัทในประเทศ บริษัทไทยที่ขยายตลาดไปยังประเทศฟิลิปปินส์ และบริษัทจากประเทศอื่น ๆ ที่ต้องการขยายธุรกิจในภูมิภาคอาเซียนและเอเชีย โดยเฉพาะประเทศที่ธนาคารมีเครือข่ายสาขา”
ทั้งนี้ ปัจจุบัน ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ‘ธนาคารชั้นนำระดับภูมิภาค’ เป็นประตูแห่งโอกาสด้านการค้าการลงทุน ด้วยเครือข่ายบริการที่ครอบคลุม เชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินในระดับภูมิภาค ด้วยจำนวนสาขาในต่างประเทศที่มากกว่า 300 สาขา ครอบคลุม 14 เขตเศรษฐกิจสำคัญของโลกโดยเฉพาะในกลุ่มประเทศอาเซียน ที่ธนาคารมีสาขาครอบคลุมถึง 9 ประเทศ จากสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ ที่พร้อมให้การสนับสนุนลูกค้าและนักธุรกิจในการออกไปลงทุนในต่างประเทศ และพร้อมรองรับการเข้ามาลงทุนในไทยของนักลงทุนจากต่างประเทศด้วย
สำหรับการประชุม ABAC 2022 โดยสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปค 2022 เป็นเจ้าภาพ เป็นเวทีคู่ขนานการจัดการประชุมเอเปค ปี 2565 จัดขึ้นภายใต้แนวทาง "Embrace Engage Enable" เพื่อผลักดันความก้าวหน้าของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกทั่วทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจ เพื่อขับเคลื่อนกลยุทธ์ 5 ด้าน ได้แก่ การบูรณาการทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Economic Integration), การเสริมสร้างศักยภาพด้านดิจิทัล (Digital), การส่งเสริมความพร้อมของธุรกิจในทุกขนาด (MSMEs and Inclusiveness), ความก้าวหน้าเชิงวิถีปฏิบัติด้านความยั่งยืน (Sustainability) และระบบการเงินที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นและสภาพแวดล้อมตอบโจทย์ (Finance & Economics) โดยผลการหารือจะนำไปสู่การพัฒนาบทสรุปข้อเสนอแนะเพื่อยื่นต่อผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคในช่วงปลายปี 2022 ต่อไป