KBank Private Banking ชูโอกาสเพิ่มผลตอบแทน ผ่าน “กองทุนหุ้นนอกตลาดทั่วโลก” สินทรัพย์ที่ควรมีติดพอร์ตท่ามกลางความผันผวน

KBank Private Banking (เคแบงก์ ไพรเวทแบงกิ้ง) ชี้โอกาสการลงทุนใน “หุ้นนอกตลาดทั่วโลก (Global Private Equity) สินทรัพย์ทางเลือกที่จะช่วยเพิ่มผลตอบแทนให้พอร์ตลงทุนท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอนและความผันผวนของตลาดทุน ล่าสุดแนะนำ กองทุนหุ้นนอกตลาดทั่วโลก (K-GPE22B-UI) เน้นลงทุนในบริษัทนอกตลาดทั่วโลกที่มีศักยภาพสูงที่กระจายลงทุนในหลากหลายภูมิภาค-ช่วงอายุ-อุตสาหกรรม เสนอขายครั้งแรกให้กับลูกค้าบุคคลสินทรัพย์สูงระหว่างวันที่ 3-12 ตุลาคมนี้ เริ่มต้นลงทุนเพียง 1 ล้านบาทเท่านั้น คาดระดมทุนได้กว่า 7 พันล้านบาท และสร้างผลตอบแทนคาดหวังเฉลี่ย 15% ต่อปี  


ดร.ตรีพล ภูมิวสนะ Senior Managing Director, Private Banking Business Head, Private Banking Group ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า KBank Private Banking มุ่งมั่นที่จะนำเสนอผลิตภัณฑ์ทางเลือกใหม่ๆ เพื่อเพิ่มขอบข่ายการลงทุนและโอกาสในการสร้างผลตอบแทนที่ดีอย่างสม่ำเสมอ ท่ามกลางสถานการณ์ปัจจุบันที่ราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์มีการแกว่งตัวสูง การหาผลตอบแทนทำได้ยากขึ้นกว่าช่วงที่ผ่านมา ทำให้ หุ้นนอกตลาด หรือ ไพรเวทอิควิตี้ (Private Equity) ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่สามารถลดความผันผวนของพอร์ตได้ เนื่องจากราคาจะไม่ผันผวนตามตลาดหลักทรัพย์ แต่จะขึ้นอยู่กับปัจจัยพื้นฐานจริงของธุรกิจ โดยสถิติย้อนหลังของผลตอบแทนของหุ้นนอกตลาดผันผวนต่ำกว่าสินทรัพย์อื่น* นอกจากนี้ยังช่วยให้นักลงทุนเข้าถึงธุรกิจซึ่งอยู่ในวัฏจักรที่หลากหลาย และได้รับประโยชน์จากการเติบโตของกิจการก่อนที่จะเข้าตลาด ทำให้เป้าหมายผลตอบแทนจากการลงทุนในหุ้นนอกตลาดสูงกว่าสินทรัพย์กลุ่มอื่นๆ โดยผลตอบแทนย้อนหลัง 10 ปี ของหุ้นนอกตลาดอยู่ที่ 19.8%  ซึ่งสร้างผลตอบแทนให้กับนักลงทุนสูงกว่าการลงทุนในหุ้นสหรัฐมากถึง 5.6%** มีเสถียรภาพกว่าในระยะยาว และยังเป็นเครื่องมือกระจายความเสี่ยงให้กับพอร์ตการลงทุนตลอด 2-3 ปีที่ผ่านมา KBank Private Banking ร่วมกับ Lombard Odier พันธมิตรทางธุรกิจนำเสนอกองทุนหุ้นนอกตลาด (Private Equity Fund) ของบริษัทต่างประเทศไปแล้วทั้งสิ้น 2 กองทุน โดยในปี 2562 ได้แนะนำกองทุน K-GPE19A-UI ซึ่งลงทุนในกิจการที่มั่นคง มีกระแสเงินสดสม่ำเสมอและเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยสามารถสร้างผลตอบแทนได้กว่า 72% ตั้งแต่จัดตั้งกองทุน หรือ เฉลี่ยกว่า 19% ต่อปี ***  และในปี 2563 ได้แนะนำกองกองทุน K-GTPE20A-UI ซึ่งลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี และเป็นแหล่งสร้างการเติบโตที่สำคัญ โดยสามารถสร้างผลตอบแทนได้กว่า 22% ตั้งแต่จัดตั้งกองทุน หรือ เฉลี่ยกว่า 11% ต่อปี ***
ล่าสุด KBank Private Banking ได้เสนอขายกองทุนหุ้นนอกตลาดใหม่ อย่างกองทุน K-GPE22B UI (K Global Private Equity 22B Not for Retail Investors) โดยมี Lombard Odier เป็นผู้จัดการกองทุนหลักซึ่งมีประสบการณ์ลงทุนในไพรเวทมาร์เก็ตมาเป็นเวลานาน โดยกองทุนนี้มี 7 จุดเด่นสำคัญ ได้แก่  
  1. กระจายและเข้าถึงการลงทุนในบริษัททั่วโลก โดยเน้นลงทุนในสหรัฐฯ ยุโรปและบางส่วนในเอเชีย  
  2. ลงทุนในหลายช่วงอายุของบริษัท ผสมผสานการลงทุนแบบ Buyouts ในธุรกิจที่มั่นคง ควบคู่กับการเป็นผู้ถือหุ้นส่วนน้อยในธุรกิจเติบโตสูง (Growth) และในธุรกิจที่เพิ่งเริ่มก่อตั้ง (Venture Capital)   
  3. ลงทุนในหลากหลายอุตสาหกรรมกว่า 50 ธุรกิจ อาทิ ME+EM แบรนด์แฟชั่นร่วมสมัยของอังกฤษสำหรับผู้หญิง คุณภาพดี ราคาไม่สูง RIPPLING แพลตฟอร์มซอฟต์แวร์เพื่อการบริหารด้าน HR และ IT สหรัฐฯ Precisely ผู้ผลิตซอฟต์แวร์ด้านการตวรจสอบความถูกต้องของข้อมูล เป็นต้น  
  4. มีนโยบายการลงทุนที่เรียกเงินทุนเพียงครั้งเดียว (One -off Capital Call) แตกต่างจากกองทุนหุ้นนอกตลาดทั่วไปที่มักเรียกเงินลงทุนหลายครั้ง (Multiple Call)  
  5. กองทุนมีอายุเพียง 9 ปีซึ่งสั้นกว่ากองทุนหุ้นนอกตลาดอื่นๆ 
  6. เริ่มต้นลงทุนเพียง 1 ล้านบาท ซึ่งต่ำกว่ากองทุนหุ้นนอกตลาดอื่นๆ และการระดมทุนในประเทศไทยในหน่วยไทยบาทยังช่วยป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน 
  7. สร้างผลตอบแทนคาดหวังเฉลี่ยสูงถึง 15% ต่อปี ตลอดระยะเวลาการลงทุน
    “ท่ามกลางความผันผวนของตลาด KBank Private Banking เชื่อว่ากองทุนหุ้นนอกตลาดเป็นหนึ่งในสินทรัพย์ทางเลือกที่จะยังมีผลงานที่โดดเด่น และสามารถสร้างผลตอบแทนที่เป็นที่น่าพอใจให้กับลูกค้าได้ ทั้งนี้ยังมีแผนที่จะนำเสนอผลิตภัณฑ์การลงทุนทางเลือกอื่นๆ เพิ่มเติม อย่างต่อเนื่อง นอกจาก กองทุนหุ้นนอกตลาดแล้ว จะมีการออกผลิตภัณฑ์ที่เป็นสินทรัพย์ทางเลือกอื่นๆ ครอบคลุมทั้งในและต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็น Global Private Debt (ตราสารหนี้นอกตลาดทั่วโลก) Global and Local Private Real Estate (อสังหาริมทรัพย์นอกตลาดทั้งทั่วโลก และในประเทศไทย) Quantitative Hedge Fund Strategy (กองทุน Hedge Fund ที่ใช้กลยุทธ์การลงทุนด้วยกระบวนการคณิตศาสตร์และสถิติจากข้อมูลเชิงปริมาณ) และ Exotic Structured Note (หุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงแบบต่างๆ) เพื่อเสริมทางเลือกและโอกาสในการสร้างผลตอบแทนให้กับนักลงทุนต่อไป” ดร.ตรีพล กล่าวปิดท้าย