CIMBTเตรียมตั้งรับปัจจัยเสี่ยง เศรษฐกิจไทย Q4 ท่ามกลาง PERFECT STORM คาดจีดีพี โต 4% ไตรมาสสี่ ค่าเงินบาทอ่อน แตะ38 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ
ดร.อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย และที่ปรึกษาการลงทุน ธนาคาร ซี ไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า สำนักวิจัยฯปรับการคาดการณ์เศรษฐกิจปี 2565 เป็น 3.2% จาก 3.1% โดยคาดว่าไตรมาส 3 และ 4 จะฟื้นตัวต่อเนื่องที่ราว 4% จากปีก่อน และมองการเติบโตปี 2566 ที่ 3.4% ซึ่งเป็นระดับที่เหนือค่าเฉลี่ยในอดีต ท่ามกลางความผันผวนทางเศรษฐกิจโลกอย่างรุนแรงตามปัญหาเงินเฟ้อสูงและการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย จากธนาคารกลางสำคัญ แม้เศรษฐกิจไทยมีทิศทางฟื้นตัวสดใสขึ้น แต่ไตรมาส 4 มี 6 ปัจจัยเสี่ยงที่อาจฉุดให้การ เติบโตต่ำกว่าคาด เสมือนหมอกปกคลุมทั่วฟ้าท่ามกลางมหาพายุ ได้แก่ 1 เศรษฐกิจไทยฟื้นไม่ทั่วถึง 2 เงินเฟ้อไทยลดลงช้า 3 เสียโอกาสการลงทุน 4 วิกฤติพลังงานในยุโรป 5 สหรัฐเร่งขึ้นดอกเบี้ย และ 6 เงินหยวนอ่อนค่า
เศรษฐกิจไทยไตรมาส 4 แม้ใกล้จะฟื้นตัวเท่าช่วงก่อนโควิด แต่ขาดการกระจายตัวและอุปสงค์ใน ประเทศอ่อนแอ มีเพียงกลุ่มท่องเที่ยวพื้นได้เร็ว ส่วนปัญหาเงินเฟ้อยังรุนแรงต่อ เพราะแม้เงินเฟ้อจะลดลงแต่ราคาสินค้าและบริการหลากหลายหมวดหมู่เริ่มขยับขึ้นหลังผู้ผลิตขั้นต้นทุนต่อไปไม่ไหว คาดว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะทยอยปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่อง ด้านการเมืองไทยอาจเห็นรัฐบาลยุบสภาฯ ช่วงไตรมาส 4 ถึงต้นปีหน้า มีผลต่อความเชื่อมั่นนักลงทุนต่างชาติที่เตรียมย้ายฐานมาไทยและการลงทุนภาครัฐโครงการใหม่อาจชะลอออกไปก่อนมี รัฐบาลใหม่ ด้านต่างประเทศปัจจัยที่กระทบการส่งออกและการท่องเที่ยวไทย คือ วิกฤติพลังงานในยุโรปที่กระทบการ บริโภคและการลงทุนหากยุโรปมีปัญหากับรัสเซีย และปัญหาเศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัวแรงหลังธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ อีกทั้งการเร่งขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐ สวนทางกับจีนที่ลดดอกเบี้ยเพื่อ กระตุ้นเศรษฐกิจ ทำให้นักลงทุนเก็งกำไรการอ่อนค่าของเงินหยวนและจะยิ่งทำให้เงินบาทอ่อนค่าได้แรงปลายปีนี้
ค่าเงินบาทมีโอกาสแกว่งตัวในระดับ 37-37.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ หากส่วนต่างระหว่างดอกเบี้ยไทยและ สหรัฐกว้างขึ้นอีก ประกอบกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐระยะสั้นอยู่ในระดับสูง จะดึงดูดเงินทุนไหลจาก ตลาดทุนไทยไปพักในสินทรัพย์สกุลดอลลาร์สหรัฐมากขึ้น คาดว่าเงินบาทอาจแตะระดับ 38.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ปลายปีนี้ และมีความเสี่ยงที่อ่อนค่าช่วงต้นปีหน้าได้อีกจากปัญหาความไม่แน่นอนเชิงภูมิรัฐศาสตร์และการอ่อนค่าของ เงินหยวน ประกอบกับการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องในต้นปีหน้า ก่อนที่เงินบาทจะแตะระดับ 37.00 บาทต่อ ดอลลาร์สหรัฐปลายปีหน้า เมื่อเงินเฟ้อสหรัฐเริ่มลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐเสียงโตช้าและมีปัญหา การว่างงานเพิ่มขึ้นจนเฟดจะส่งสัญญาณการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายได้บ้างในปีถัดไป อย่างไรก็ดี หากหยวนอ่อนค่าปี หน้าหรือจีนมีปัญหาเศรษฐกิจต่อเนื่อง เงินบาทอาจจะไม่พลิกมาแข็งค่าเทียบดอลลาร์สหรัฐ แต่น่าจะอ่อนค่าในทิศทางเดียวกับเงินหยวนและค่าเงินในภูมิภาค ซึ่งจะกระทบต้นทุนการนำเข้าสินค้าและทำให้เงินเฟ้อไทยอยู่ในระดับสูงปีหน้า
#ข่าวหุ้น #ข่าวเศรษฐกิจ #ข่าวการเงิน #CIMB #ข่าวเด่นวันนี้