บลจ.วีออกกองทุนใหม่ WE-EM8M ให้ผลตอบแทน8%

บลจ.วี” มอง ตลาดหุ้นเกิดใหม่ยังเติบโตสูง แนะเป็นโอกาสเข้าลงทุนช่วงราคาถูก เปิดขาย IPO “กองทุนเปิด WE-EM8M” วันที่ 11-21 กุมภาพันธ์ 2563  ตั้งเป้าหมายเลิกโครงการ 8%* ใน 8 เดือน จับกลยุทธ์ Active Allocation เน้นลงทุนกลุ่มธุรกิจและภูมิภาคที่ราคาต่อกำไรมีการปรับตัวสูง

นายอิศรา พุฒตาลศรี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน วี จำกัด (บลจ.วี)  เปิดเผยว่า จากการทำข้อตกลงการค้าในเฟสแรกของสหรัฐฯกับจีนเมื่อวันที่ 15..ที่ผ่านมา ได้ส่งผลบวกต่ออุตสาหกรรมภาคการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้นเกินร้อยละ 50 ซึ่งเป็นระดับที่แสดงถึงการขยายตัวของเศรษฐกิจที่ดีในช่วงไตรมาสที่ 1และ 2 ของปี2020 ขณะเดียวกัน ธนาคารกลางในหลายประเทศยังคงดำเนินนโยบายทางการเงินแบบผ่อนคลาย ด้วยลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายและการเพิ่มสภาพคล่องแก่ระบบเศรษฐกิจ เพื่อรักษาเสถียรภาพการเติบโตของเศรษฐกิจเอาไว้ ถือเป็นปัจจัยบวกแก่ภาคการลงทุนและการบริโภค และลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) ซึ่งยังมีความสามารถในการดำเนินนโยบายทางการเงินแบบผ่อนคลายได้อีกค่อนข้างมาก ด้วยปัจจัยบวกดังกล่าว บลจ.วี มองว่า การลงทุนในตลาดหุ้นประเทศเกิดใหม่มีความน่าสนใจในช่วงนี้ โดยเมื่อพิจารณาจากมูลค่าหุ้นที่ค่อนข้างถูกโดยเปรียบเทียบกับหุ้นของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว  ซึ่งสะท้อนจากอัตราส่วนของดัชนี MSCI Emerging Markets Index เทียบกับ MSCI World Index ที่อยู่ในระดับที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี และมีแนวโน้มที่เริ่มจะปรับตัวสูงขึ้นตามตลาดหุ้นของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว โดยผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในกลุ่มตลาดเกิดใหม่คาดว่า จะเติบโตอยู่ที่ 18% ในปี 2020 และ 13% ในปี 2021 ซึ่งสะท้อนว่า สัดส่วนของราคาต่อกำไรมีการปรับตัวสูง ดังนั้นระดับราคาในปัจจุบันจึงถือว่าอยู่ในระดับที่ไม่สูงและน่าสนใจมาก

เพื่อสร้างโอกาสสำหรับการลงทุนในระยะสั้น บลจ.วี จึงเปิดเสนอขายครั้งแรก (IPO) กองทุนเปิด วี อีเมอร์จิ้งมาร์เก็ต 8M (WE-EM8M) ระหว่างวันที่ 11-21 .. 2563โดยในส่วนของการเลือกหุ้นรายตัวกองทุนจะลงทุนผ่านกองทุนหลัก JP Morgan Emerging Markets Equity Fund ซึ่งบริหารจัดการโดย JP Morgan Asset Management และเลือกลงทุนในประเทศ/ภูมิภาค/กลุ่มอุตสาหกรรมในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ที่มีแนวโน้มการเติบโตสูง และได้รับปัจจัยหนุนจากการขยายตัวของเศรษฐกิจ รวมไปถึงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายได้แก่ จีนและรัสเซีย ที่มีระดับราคาค่อนข้างถูกเมื่อเปรียบเทียบกับอดีต

กองทุน WE-EM8M ตั้งเป้าหมายเลิกโครงการ 8%* ใน 8 เดือน  กองทุนจะเลิกกองทุนตามเป้าหมายเมื่อมีมูลค่าหน่วยลงทุน (NAV) ผ่านระดับ 10.83 บาท ต่อหน่วยและ NAV ที่รับซื้อคืนขั้นต่ำ 10.80 บาทต่อหน่วย  โดยบริษัทจะดำเนินการสับเปลี่ยนเข้ากองทุนเปิด วี มันนี่ มาร์เก็ต ภายใน 5 วันทำการนับตั้งแต่วันถัดจากวันคำนวนราคารับซื้อคืนหน่วยอัตโนมัติ โดยมีการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน

ทั้งนี้ กองทุนเปิด WE-EM8M จะใช้กลยุทธ์บริหารการลงทุนเชิงรุก (Active Allocation) โดยที่พอร์ตการลงทุนหลัก(Core portfolio) ประมาณ 75% จะลงทุนผ่านกองทุนหลัก JP Morgan Emerging Markets Equity Fund ที่เน้นลงทุนในตลาดหุ้นประเทศเกิดใหม่ที่มีแนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจในระดับที่สูง ส่วนพอร์ตการลงทุนในเชิงรุก (Active portfolio) จะเน้นจับจังหวะลงทุน (Trading) ในตลาดหุ้นจีนที่มีการเติบโตจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านกองทุนGlobal X China Consumer Discretionary ETF ประมาณ 15% นอกจากนี้จะเลือกจับจังหวะลงทุนในหุ้นกลุ่มน้ำมันของรัสเซียที่แนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นจากการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ผ่านกองทุน iShares MCSI Russia ETF ประมาณ 10% เพื่อเพิ่มโอกาสในการสร้างผลตอบแทน

แม้ตลาดหุ้นในปัจจุบันจะมีปัจจัยที่สร้างความผันผวนให้กับการลงทุน ไม่ว่าจะเป็น การเจรจาการค้าในเฟสถัดไปการออกจากยุโรปของอังกฤษ การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ และการระบาดของไวรัสโคโรนา แต่ด้วยมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่คาดว่าจะดำเนินไปตลอดทั้งปีจะส่งให้ตลาดเกิดใหม่ฟื้นตัวได้อย่างมีเสถียรภาพ และเมื่อพิจารณาที่ระดับราคาปัจจุบันพบว่าดัชนี CSI 300 มี P/E  อยู่ที่ประมาณ 14 เท่า ดัชนี Hang Seng อยู่ที่ประมาณ 8.5 เท่า และMOEX Russia อยู่ที่ประมาณ 6.5 เท่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง บลจ.วี จึงมองว่า ราคาของหุ้นในทั้ง 3 ตลาด ค่อนข้างถูกเมื่อเปรียบเทียบกับอดีต เป็นโอกาสสำหรับนักลงทุนที่ต้องการรับผลตอบแทนที่ดีในระยะสั้นจากการลงทุนในตลาดเกิดใหม่” นายอิศรา กล่าว

สำหรับผู้ที่สนใจสามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมพร้อมรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน วี จำกัด(“บลจ.วี”) โทรศัพท์ 02-648-1111 หรือตัวแทนซื้อขายหน่วยลงทุนของ บลจ.วี ได้แก่ บล.เคทีบี (ประเทศไทย), บล.หยวนต้า , บล.โนมูระบลน.ฟินโนมินา และ บลนเวลท์ รีพับบลิค