ธ.ก.ส. จัดทัพพื้นที่ เร่งช่วยเหลือลูกค้าก้าวข้ามวิกฤติ

ธ.ก.ส.จัดทัพสาขา เข้าดูแลลูกค้าในพื้นที่แบบครบวงจร ทั้งการตรึงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ การแบ่งเบาภาระหนี้ ผ่านโครงการชำระดีมีคืน การปรับโครงสร้างหนี้ การไกล่เกลี่ยหนี้ การพัฒนาศักยภาพการประกอบอาชีพเดิม อาชีพเสริม อาชีพใหม่ การประสานเครือข่ายในการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาช่วยลดต้นทุนและสร้างมูลค่าเพิ่ม พร้อมเติมสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยผ่อนปรน เพื่อให้ลูกค้าสามารถฟื้นตัวได้อย่างยั่งยืน

นายธนารัตน์  งามวลัยรัตน์  ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ในช่วงที่ผ่านมาลูกค้าธนาคารต้องเผชิญกับสถานการณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาวะเศรษฐกิจลอตัวสงครามความขัดแย้งภาวะโลกร้อนที่ทำให้เกิดภัยธรรมชาติรุนแรงมากขึ้น การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา-19 ที่ต่อเนื่อง ทำให้รายได้เกษตรกรลดลง บางรายหันไปพึ่งพาหนี้นอกระบบจนเป็นภาระหนัก เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและป้องกันลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในระยะยาว ธ.ก.สจึงได้กำหนดแนวทางการเข้าไปดูแลลูกค้า โดยให้ ธ.ก.ส. ทุกสาขาบูรณาการการออกแบบ-การจัดการเชิงพื้นที่ “แก้หนี้ แก้จน” D&MBA : Design & Manage by Area ภายใต้แผนงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากเพื่อจัดการและแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชนโดยคนในชุมชนและเน้นการเชื่อมโยงกับหัวขบวนตามแต่ละพื้นที่ เพื่อให้เกิดกระบวนการผลิต การจ้างงานตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำจนถึงปลายน้ำโดยเจาะลึกไปที่ Problem Based : ปัญหา/ความต้องการ โดยศึกษาสาเหตุที่แท้จริง เรียงลำดับความสำคัญของปัญหา กำหนดแนวทางแก้ไขโดยให้ชุมชนเป็นศูนย์กลาง Possibility : ความเป็นไปได้/สมเหตุสมผล Potential : ศักยภาพของชุมชน หมายถึง ชุมชนที่เป็นเป้าหมาย จะต้องมีความพร้อมที่จะขับเคลื่อนแผนงานตามแนวทางที่ได้กำหนดร่วมกันของคนในชุมชน เช่น ความพร้อมของผู้นำหรือแกนนำชุมชน หัวขบวนขับเคลื่อนธุรกิจชุมชน เป็นต้น Participation : เน้นการมีส่วนร่วมคนในชุมชนวมทั้งมีภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ เอกชน เครือข่ายทางสังคม ให้การสนับสนุนการพัฒนา และ Purpose เป็นเรื่องสำคัญ ที่คนในชุมชนได้รับประโยชน์ นี่คือหลักหรือแนวทางที่ผู้จัดการสาขา ธ.ก.ส. ทุกสาขาต้องไปออกแบบ เพื่อเข้าไปดูแลและร่วมแก้ไขปัญหาไปพร้อม  กับชุมชน

นายธนารัตน์ กล่าวต่อไปว่า ในส่วนของเครื่องมือที่ ธ.ก.ส. เข้าไปสนับสนุน ประกอบด้วยการตรึงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ในช่วงขาขึ้นขณะนี้ออกไปให้นานที่สุด เพื่อมิให้เป็นภาระต้นทุนกับลูกค้าในช่วงการ  ฟื้นตัว การจูงใจให้ลูกค้ารักษาประวัติการชำระหนี้ที่ดีไว้ โดยดูแลในเรื่องผลตอบแทน ทั้งอัตราดอกเบี้ยที่คิดตามชั้นลูกค้าและการคืนเงินดอกเบี้ยเพื่อแบ่งเบาภาระผ่านโครงการชำระดีมีคืน จำนวน 2,000 ล้านบาท ให้กับลูกค้าที่ชำระหนี้ ตั้งแต่วันนี้ถึง 31 มีนาคม 2566 การดูแลภาระหนี้สินเดิม เพื่อลดความกังวลใจในเรื่องหนี้ เช่น การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ให้ลูกค้าสามารถชำระหนี้ได้ตามศักยภาพ การไกล่เกลี่ยหนี้ การจัดทำคลินิกหมอหนี้ เพื่อลดหนี้ครัวเรือน การให้คำปรึกษาด้านการจัดการหนี้ ทั้งหนี้ในและนอกระบบ การพัฒนาเพื่อเพิ่มศักยภาพในการประกอบอาชีพ เช่น การให้ความรู้ด้าน Financial Literacy/Digital Literacy  การร่วมกับภาคีเครือข่ายภาครัฐเอกชน สถาบันการศึกษา ในการศึกษาดูงาน การฝึกปฏิบัติเพิ่มทักษะ  ทั้งอาชีพเดิม อาชีพเสริม อาชีพใหม่การปรับเปลี่ยนการผลิตไปปลูกพืชที่มีมูลค่าสูงการลดต้นทุนการผลิตโดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม การแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิต การยกระดับมาตรฐานสินค้า เป็นต้น    การเติมสินเชื่อใหม่ ภายใต้อัตราดอกเบี้ยที่ผ่อนปรน เพื่อเสริมสภาพคล่องในการใช้จ่ายและการลงทุน เช่น สินเชื่อสานฝันสร้างอาชีพ สินเชื่อนวัตกรรมดีมีเงินทุน อัตราดอกเบี้ย ร้อยละ 4 สินเชื่อแฟรนไชส์ สินเชื่อ Green Credit สินเชื่อ Contract Farming อัตราดอกเบี้ย MRR สินเชื่อธุรกิจชุมชนสร้างไทย อัตราดอกเบี้ย ร้อยละ 0.01 เป็นต้น  การสนับสนุนช่องทางด้านการตลาดในทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นตลาดในระดับท้องถิ่น ตลาด Modern trade ตลาดE-Commerce ควบคู่การสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันความเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นการประกันภัยทางการเกษตร ผลิตภัณฑ์เงินฝากสงเคราะห์ชีวิต กองทุนทวีสุข กองทุนเงินออมแห่งชาติ   เป็นต้น

ทั้งนี้ ในการดำเนินงานดังกล่าว ธ.ก.ส. ยึดหลักการพัฒนาชุมชนสู่ความยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และภายใต้แผนยุทธศาสตร์ชาติ ที่เน้นหนักในด้าน BCG Model เพื่อก้าวสู่การพัฒนาระดับสากลตามแนวทาง SDG โดยขับเคลื่อนผ่านชุมชนต้นแบบที่ธนาคารได้พัฒนาไว้แล้ว จำนวน 7,927 แห่ง   เพื่อมุ่งสู่ชุมชนอุดมสุขที่ยั่งยืน ทั้งด้านมิติ ด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมประเพณี อาทิการปรับเปลี่ยนการผลิตโดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม การส่งเสริมการปลูกพืชที่สร้างมูลค่าสูงการทำเกษตรกรรมยั่งยืน ชุมชนไม้มีค่าส่งเสริมการลดการเผาการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ ชุมชนท่องเที่ยว