Thailand Focus 2022 ตอกย้ำศักยภาพตลาดทุนและเศรษฐกิจไทยแก่ผู้ลงทุนไทยทั่วโลก พร้อมความหวังใหม่เสริมจุดแข็งดันการลงทุนชูศักยภาพบจ.ไทย
นายอาคม รมต.การคลัง กล่าวว่า เศรษฐกิจของประเทศไทยค่อย ๆ ปรับตัวและกำลังฟื้นตัวหลังจากวิกฤติโรคโควิด 19 ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอย่างหนัก หลังจากได้รับผลกระทบจากโควิด ในปีที่แล้วรัฐบาลได้เริ่มเปิดประเทศอีกครั้ง ผ่านโครงการภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจโดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยว และรัฐยังยกเลิกมาตรการจำกัดการท่องเที่ยวทั้งหมดเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
เศรษฐกิจของไทย ได้รับผลกระทบหนักมากในช่วงสองปีที่ผ่านมา จากวิกฤติโรคโควิด และความไม่สงบทางด้านการเมือง ส่งผลลบต่อเศรษฐกิจของไทยในภาพรวม รวมถึงอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น แต่นายอาคมมองว่า เศรษฐกิจของไทยจะฟื้นตัวได้ในปีนี้ โดยตั้งเป้าจีดีพีไว้ที่ 3.5%
จากมาตรการของรัฐบาลที่ช่วยเหลือทั้งภาคประชาชนและภาคธุรกิจ โดยเฉพาะการออกพรบ.กู้เงินฉุกเฉิน ที่นำเงินมาช่วยทั้งภาคประชาชนและภาคธุรกิจ กระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยภายในประเทศ เกิดการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจ รวมถึงการจัดหาวัคซีนโรคโควิดให้ประชาชน
กลุ่มคนรายได้น้อยคือกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากโควิดมากที่สุด ดังนั้น รัฐจึงออกมาตรการช่วยเหลือ ไม่ว่าจะเป็นการช่วยเหลือด้านราคาแก๊สหุงต้ม ก๊าซเอ็นจีวี และน้ำมันดีเซล รวมถึงการลดราคาค่าไฟฟ้า ในส่วนของภาคธุรกิจ ก็มีมาตรการช่วยในการจัดโครงสร้างหนี้ ประนอมหนี้ การออกเงินกู้พิเศษเป็นต้น
นายอาคมแสดงความมั่นใจว่าในปีนี้ เศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวกลับมาอย่างแน่นอน โดยย้ำอีกว่า การเก็บภาษีในปีนี้จะได้ตามเป้าที่ตั้งไว้ ในอนาคต ประเทศไทยหลังจากวิกฤติโควิด จะพุ่งเป้าไปที่การปรับเปลี่ยนทางเศรษฐกิจไปสู่ความยั่งยืนมากขึ้น เน้นความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยตั้งเป้าการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็นศูนย์ภายในปี 2065 เพื่อกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจในอนาคต รัฐบาลได้เน้นไปยังการสนับสนุนการลงทุนในการก่อสร้างขนาดใหญ่ ภาคแรงงาน และนวัตกรรมใหม่ๆ ส่งเสริมภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม รวมถึงช่วยเหลือSME กลุ่ม start up และรากหญ้า ถึงแม้ประเทศไทยจะประสบกับปัญหาจากโควิดมาเป็นเวลาสองปี แต่เศรษฐกิจไทยยังคงแข็งแกร่งและมีแนวโน้มในทางที่ดียิ่งขึ้น
ความหวังใหม่ เศรษฐกิจไทย ธุรกิจไทย ปรับตัว ยืดหยุ่น พร้อมก้าวสู่โลกใหม่อย่างแท้ยั่งยืน
ดร.ภากร ปีตธวัชชัย กรรมการผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) กล่าวว่า Thailand Focus 2022 งานสำคัญประจำปีของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเพื่อสร้างความมั่นใจกับนักลงทุนทั่วโลกได้ กลับมาสู่การจัดแบบปกติอีกครั้ง หลังจาก 2 ปีที่ได้จัดทางออนไลน์ในช่วงการสถานการณ์โรคระบาดโรคโควิด-19
สำหรับงานในปีนี้กลับมาด้วยแนวคิด New Hope เพื่อแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของเศรษฐกิจและตลาดทุนไทยกลับมาฟื้นตัวได้ด้วยความยืดหยุ่นเอาชนะความท้าทายต่างๆในช่วงสถานการณ์โรคระบาด นอกจากเศรษฐกิจไทยสามารถฟื้นตัวสถานการณ์โควิด ยังสามารถปรับตัวให้เข้ากับโอกาสใหม่ๆ และสร้างสรรค์ธุรกิจใหม่ให้เข้ากับกระแสนิวนอร์มอล ประเทศไทยกลับมาเป็นน่าสนใจของนักลงทุนทั่วโลกเช่น อุตสาหกรรมเทคโนโลยีอาหารซึ่งจะเป็นเครื่องยนต์หลักขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในอนาคตอุตสาหกรรมอนาคตกำลังก้าวสู่เทรนด์อาหารเพื่อสุขภาพ เช่น อาหารในกลุ่มโปรตีนทางเลือก และอาหารทางการแพทย์ สำหรับการท่องเที่ยว ก้าวใหม่สู่ ธุรกิจเพื่อสุขภาพ และการพำนักอาศัยระยะยาวกำลังเติบโตซึ่งสอดคล้องกับจุดแข็งภาคการท่องเที่ยวไทย
นอกจากนี้ ในช่วงที่ผ่านมาเกิดธุรกิจใหม่ เช่น ธุรกิจดิจิทัล และ New S-Curve เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สะท้อนศักยภาพของธุรกิจไทย และ บ่งชี้ว่านักลงทุนให้ความสนใจธุรกิจขนาดเล็กในเศรษฐกิจยุคใหม่มากขึ้น
ทั้งนี้ในช่วงวิกฤติและความท้าทาย ภาคธุรกิจตระหนักว่าต้องมุ่งเน้นการเติบโตอย่างยั่งยืนพร้อมกับความยืดหยุ่น และคล่องแคล่วด้านการสื่อสารและพัฒนาอยู่เสมอ เพื่อเตรียมพร้อมรับโอกาสและ ความท้าทายใหม่ๆในอนาคต ทั้งหมดนี้จะทำให้นักลงทุนเกิดความเชื่อมั่น และ เห็นโอกาสการลงทุนในประเทศไทย
ด้าน ผู้ว่าฯ กรุงเทพ พร้อมเปิดกรุงเทพฯ ให้เมืองที่น่าอยู่อาศัยสำหรับทุกคน
ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์" ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า กรุงเทพพร้อมเปิดรับนักท่องเทียว และธุรกิจจากทั่วโลกแล้ว สถานการณ์โควิดในกรุงเทพดีขึ้น ระบบสาธารณสุขมีความพร้อมทั้งการครองเตียงและ ยาฟาวิพิราเวีย โมลนูพิราเวียร์ สามารถรองรับได้หากมีการแพร่ระบาด ขณะที่คนกรุงเทพมีอัตราการรับวัคซีนสูง เมื่อกล่าวถึงกรุงเทพมหานครส่วนมากผู้คนมักจะนึกถึงการจัดการขยะหรือปัญหารถติด ไม่บ่อยครั้งนักที่จะเชื่อมโยงเศรษฐกิจกับกรุงเทพมหานคร งบประมาณปี2566กรุงเทพฯได้รับวงเงิน69,000 ล้านบาท หรือ 2.48% ของงบประมาณประเทศไทย ขณะที่กรุงเทพฯมีประชากร 8.43 ล้านคน หรือสัดสวน 12 % ของประชากรไทย 69.8 ล้านคน
กรุงเทพฯ มีขนาดพื้นที่ 1,569 ตารางกิโลเมตร ขณะที่เศรษฐกิจกรุงเทพมหานคร มีสัดส่วน 32% ของจีดีพีไทย ประกอบด้วย 7 กลุ่มหลัก คือ ค้าส่งค้าปลีก ราชการ อาหารและทีพัก ข้อมูลและการสื่อสาร การเงินและประกัน โรงงานผลิต และ การเดินทาง กรุงเทพมหานครมี โครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกหลากหลายครบครัน มีพื้นที่อาคารสำนักงาน 8.2 ล้านตารางเมตร อัตราค่าเช่า 44 ดอลล่าร์สหรัฐ/ตารางฟุต/ปี เมื่อเทียบกับ ฮ่องกง 240 ดอลล่าร์สหรัฐ และ สิงคโปร์ 113 ดอลล่าร์สหรัฐ มีจำนวนแรงงาน 5.6 ล้านคน มีแรงงานต่างด้าวสัดส่วน 9.5% , ค่าครองชีพกรุงเทพ อันดับ 106 ของโลก และระบบสาธารณสุขช่วงโควิด อันดับที่ 28
ดร.ชัชชาติ กล่าวว่า กรุงเทพมหานครมีจุดเด่นที่ความแตกต่างหลากหลายสังคมวัฒนธรรมที่สามารถอยู่ร่วมกันได้ มีแหล่งท่องเที่ยวมากมาย อย่างไรก็ตาม มีสิ่งที่เมืองกรุงเทพควรจะพัฒนาให้ดีขึ้นได้ เช่นกฎหมายและระเบียบที่เป็นข้อจำกัดต่อการทำธุรกิจ การคอรัปชั่น ความสามารถภาษาอังกฤษ และ ทักษะแห่งอนาคต
ด้านคุณภาพชีวิต กรุงเทพมีปัญหาฝุ่นPM 2.5 ปัญหาจราจร และ พื้นที่สีเขียวน้อยเฉลี่ย 1 ตารางเมตรต่อคน เทียบกับ 9 ตารางเมตรต่อคนตามเกฏณฑ์ขององค์กรอนามัยโลก ซึ่งอาจนำแนวทาง Land Tax มาใช้เพื่อจูงใจเอกชนนำที่ดินให้สาธารณะประโยชน์เพิ่มขึ้น
ดร.ชัชชาติ กล่าวว่า กรุงเทพติดอันดับ 1 เมืองน่าท่องเที่ยวที่สุดในโลก ขณะที่ติดอันดับ 98 เมืองคุณภาพชีวิตที่ดี สะท้อนว่ากรุงเทพเหมาะสำหรับการพำนักระยะสั้น วางเป้าหมายว่าจะทำให้กรุงเทพให้เป็นเมืองที่น่าอยู่อาศัยสำหรับทุกคน ผ่าน 9 แนวทาง ได้แก่ สิ่งแวดล้อม สุขภาพ ความปลอดภัย การเดินทาง การจัดการ โครงสร้างพิ้นฐาน เศรษฐกิจ ความคิดสร้างสรรค์ และ การเรียนรู้ บนกลยุทธ์การพัฒนาเศรษฐกิจกรุงเทพมุ่งเน้นเศรษฐกิจดิจิทัล การท่องเที่ยวและสุขภาพ อัญมณี การจัดประชุมสัมมนา และ การเชื่อมต่อกับเขตเศรษฐกิจพิเศษอีอีซี
ดร.ชัชชาติ กล่าวว่า มีภารกิจ 4 ข้อ ในการการทำให้กรุงเทพฯเป็นเมืองสำหรับทุกคน คือ การเพิ่มประสิทธิภาพ พัฒนาคุณภาพชีวิต สร้างโอกาส และ การสร้างความเชื่อมั่น นอกจากนี้ การเปิดกรุงเทพ ยังหมายถึงความโปร่งใสด้านข้อมูลข่าวสาร เช่น การเปิดเผยข้อมูลงบประมาณในเว็บไซต์ และ การนำแพลทฟอร์มเทคโนโลยี เช่น ทราฟฟี่ฟองดู ข้าแก้ปัญหาให้คนกรุงเทพ สามารถเพิ่มประสิทธิการในการทำงานโดยไม่ต้องใช้งบประมาณเพิ่มเติม และยังสามารถเพิ่มความโปร่งใสแก้ปัญหาคอรัปชั่นได้ด้วย
สร้างโอกาสการลงทุนในอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ของไทย
ดร.ศรพลเริ่มต้นด้วยถามดร.รัชนีถึงสถานการณ์การลงทุนในประเทศไทย หลังจากการฟื้นฟูเศรษฐกิจ มีกลุ่มอุตสาหกรรมใดบ้างที่ทางบีโอไอเห็นความสำคัญในขณะนี้
ดร.รัชนี วัฒนวิศิษฏพร ผู้อำนวยการกองส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน กล่าวว่า ในปี 2564 อุตสาหกรรมที่มีการลงทุนสูงสุด 5 อันดับแรก คือกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้า กลุ่มการแพทย์ กลุ่มปิโตรเคมี กลุ่มอุตสากรรมเกษตรและกลุ่มยานยนต์และส่วนประกอบยานยนต์ ดร.รัชนีกล่าวว่าการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเป็นกุญแจสำคัญในการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ ดร.รัชนีบอกอีกว่า ประเทศที่มีการลงทุนในประเทศไทยมากที่สุดคือ ญี่ปุ่น จีนสิงคโปร์ สหรัฐอเมริกาและไต้หวัน ตามลำดับ
“รัฐบาลทำงานอย่างหนักในการให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมหลักของประเทศ และพยายามดึงดูดนักลงทุนจากต่างประเทศให้เข้ามาลงทุนในไทยมากขึ้น โดยเพิ่มมาตรการและข้อเสนอจูงใจต่างๆ ที่ทำให้ประเทศไทยเป็นแหล่งลงทุนเมื่อเทียบกับคู่แข่งในภูมิภาค” ดร.รัชนีเสริม
นอกจากนี้ รัฐบาลยังให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว ในแผนพัฒนาประเทศ ซึ่งสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ของประเทศที่พยายามนำประเทศไทยไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ดังนั้นจึงต้องเสริมความแข็งแกร่งของภาคอุตสาหกรรมเพื่อเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขัน
“รัฐบาลได้ตั้งเป้าว่าเราจะผลิตรถไฟฟ้าที่ไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนเองได้ โดยออกนโยบาย 3030 คือการที่เราสามารถผลิตรถไฟฟ้าในประเทศได้ 30% ภายในปี 2030 และต่อไปเราจะทำให้ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตรถไฟฟ้าของโลก โดยการเพิ่มศักยภาพทางด้านการแข่งขันของประเทศ” ดร.รัชนีกล่าว
ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในกลุ่มอาเซียนที่มีนโยบายส่งเสริมการลงทุนด้านนี้ โดยเราจะส่งเสริมผู้ลงทุนและให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกให้กับนักลงทุนมากที่สุด
นายวิวรรธน์ เหมมณฑารพ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวถึงความท้าทายของภาคอุตสาหกรรมไทยจากวิกฤติโควิด สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่าง จีน สหรัฐอเมริกาและไต้หวัน สงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครน เหตุการณ์เหล่านี้ส่งผลกระทบกับอุตสาหกรรมไทยอย่างไร และเราต้องปรับตัวอย่างไรถึงจะอยู่รอดได้
นายวิวรรธน์กล่าวว่า “ไม่เพียงแค่โรคโควิดที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง แต่เรากำลังเผชิญกับปัญหากาติดขัดด้านการค้าดิจิตอล สงครามระหว่างรัสเซีย ยูเครน รวมถึงปรากฏการณ์เศรษฐกิจถดถอยทั่วโลกและภาวะภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงอีกด้วย” โดยเฉพาะปัญหาความขัดแย้งระหว่างจีนและไต้หวันเป็นชนวนเหตุสำคัญที่ส่งผลให้เกิดการขาดตลาดของชิพเซมิคอนดักเตอร์ในขณะนี้
นายวิวรรธน์วิเคราะห์ว่าการเติบโตของเศรษฐกิจไทย จะมาจากสามอุตสาหกรรมหลัก ได้แก่ ภาคบริการคิดเป็น 59% ของจีดีพีภาคอุตสาหกรรม 32% และภาคเกษตรกรรม 9% ตามลำดับ โดยทางสภาอุตสาหกรรมได้ร่วมมือกับรัฐบาลในการส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมให้ประสานกับภาคเกษตรกรรม เพื่อทำให้เป็นกลุ่มเดียวกัน ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจและนับเป็น 40% ของจีดีพี โดยเรียกรวมว่า กลุ่มอุตสาหกรรมการเกษตร
นายวิวรรธน์ยังพูดถึงอัตราการว่างงานที่เพิ่มสูงขึ้นมากในช่วงปี 2563-2564 ดังนั้นประเทศจะต้องปรับโครงสร้างทางธุรกิจให้เน้นไปทางเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียวให้มากขึ้นเพื่อลดปัญหาการว่างงานอย่างยั่งยืน
นายธนพล ศิริธนชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ด้านเรียลเอสเตท ของประเทศไทย และในอนาคต เราจะทำอย่างไรให้มีโอกาสการแข่งขันมากขึ้นและเตรียมพร้อมสำหรับความท้าทายในอนาคต
นายธนพลกล่าวว่า “ถ้าหากมองไปที่กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่อาศัย ในขณะที่หนี้ครัวเรือนสูงขึ้น รวมถึงอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นและปัญหาเงินเฟ้อ ล้วนส่งผลกระทบให้กับกลุ่มผู้มีรายได้ปานกลาง ทำให้ตลาดกลุ่มที่อยู่อาศัยมีแนวโน้มลดลง แต่ในกลุ่มผู้มีรายได้สูงนั้น การตลาดอสังหาริมทรัพย์ยังอยู่ในเกณฑ์ดีอยู่”
หลังจากการเปิดประเทศหลังโควิด ทำให้นักท่องเที่ยวเข้ามามากขึ้น กลุ่มบริการก็เริ่มกลับมาดีขึ้น คุณธนพลมองว่าคลังสินค้าแบบทันสมัย หรือสมาร์ทแวร์เฮ้าส์เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับภาคอสังหาริมทรัพย์และภาคอุตสาหกรรม โดยมีความต้องการนตลาดที่สูงขึ้น โดยกลุ่มผู้ผลิตมีความต้องการซื้อที่ดินเพื่อสร้างนิคมอุตสาหกรรมมากขึ้น
คุณธนพลกล่าวเสริมถึงอนาคตของภาคโลจิสติกส์และภาคอุตสาหกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากหลังจากโควิด กลุ่มผู้ซื้อมีการใช้อีคอมเมอร์สมากขึ้น การซื้อสินค้า สั่งสินค้าออนไลน์เพิ่มขึ้นมาก ทำให้รูปแบบของการผลิต ระบบขนส่งจากโรงงานไปยังคลังสินค้าเปลี่ยนไป คลังสินค้าในปัจจุบันไม่ได้เป็นเพียงโรงเก็บของ แต่เป็นแหล่งรวบรวมสินค้าและจัดการ จัดสรร รวมถึงจัดระบบการขนส่งสินค้าไป