หากพูดถึงกระแสการลงทุนในตลาดหุ้นที่ตอบรับนโยบายการเปิดประเทศของรัฐบาลในขณะนี้ หุ้นกลุ่มที่นักลงทุนต่างประเทศให้ความสนใจมากที่สุดในตอนนี้คงเป็นหุ้น ธีมเปิดเมือง ไม่ว่าจะเป็นหุ้นกลุ่มสนามบินอย่าง AOT หรือหุ้นกลุ่มโรงพยาบาลอย่างโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ BH รวมถึงหุ้นกลุ่มโรงแรมอย่าง เอราวัณ Mint และ Centel ในกลุ่มของเซ็นทรัลนั่นเอง
กลุ่มเซ็นทรัลได้มีการคาดการณ์รายได้ในปี 65 จะเติบโตมากกว่าที่วางไว้ จากเดิมตั้งไว้ที่ 1.8 หมื่นล้านบาท โดยครึ่งปีแรกสามารถทำรายได้ไปแล้ว 8 พันล้านบาท และคาดการณ์ว่าสามารถทำรายได้ต่อเนื่องในช่วงครึ่งปีหลังเพราะเรื่องของการท่องเที่ยวในช่วงครึ่งปีหลังที่มีการคาดการณ์ว่าสูงกว่าครึ่งปีแรก รายได้หลักของกลุ่มเซ็นทรัลมาจากธุรกิจโรงแรมทั้งในประเทศและต่างประเทศ และธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างธุรกิจอาหารนั่นเอง โดยลูกค้าหลักคือกลุ่มนักท่องเที่ยวจากฝั่งยุโรปและตะวันออกกลาง รวมทั้งรายได้ที่มาจากร้านอาหาร กลุ่มเซ็นทรัลได้มีการวางแผนขยายธุรกิจในอีก 3 ปีข้างหน้าคือตั้งแต่ปี 2565-2568 มีจำนวนเงินลงทุนอยู่ 1.2 หมื่นล้านบาท เพื่อรองรับการขยายธุรกิจโรงแรมและอาหาร โดย 3,100 ล้านบาท แบ่งเป็น 1,300 ล้านบาทธุรกิจอาหาร 1,800 ล้านบาทธุรกิจโรงแรม และในปี 2566 จะขยายธุรกิจโรงแรมเพิ่ม 3,000 ล้านบาท และอาหาร 800 ล้านบาท และปี 2567 ขยายโรงแรม 4,200 ล้านบาทและอาหารอีก 800 ล้านบาท
โครงสร้างกลุ่มธุรกิจ
โครงสร้างธุรกิจของเซ็นทรัลแบ่งออกเป็น 4
กลุ่มหลัก ได้แก่
1. ธุรกิจค้าปลีก และแบรนด์สินค้า เป็นสายธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดของกลุ่มเซ็นทรัล
อยู่ภายใต้การดูแลของ บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
2. ธุรกิจศูนย์การค้าและอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์
อยู่ภายใต้การดูแลของ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด
3. ธุรกิจโรงแรม และร้านอาหาร
เซ็นทรัลเป็นเจ้าของโรงแรมแบรนด์เซ็นทารา แกรนด์, เซ็นทารา, เซ็นทรา และโคซี่, พาร์ค ไฮแอท
กรุงเทพฯ และ ฮิลตัน พัทยา ธุรกิจโรงแรมหลักๆ ดูแลโดย บริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา
จำกัด (มหาชน) ส่วนธุรกิจอาหาร เช่น มิสเตอร์โดนัท, เคเอฟซี, อานตี้ แอนส์, เปปเปอร์ ลันช์, ชาบูตง, เดอะ เทอเรส, โยชิโนยะ, โอโตยะ, เทนยะ, คัตสึยะ และ
เฟซท์ ดูแลโดย บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป (จำกัด) หรือ CRG
4. บริการด้านการเงินและฟินเทค ประกอบด้วย
บัตรเครดิต, บริการที่ปรึกษาด้านการลงทุน, ผลิตภัณฑ์และบริการด้านการชำระเงิน และบริการโบรคเกอร์ประกันภัย
กลุ่มธุรกิจ “เซ็นทรัลกรุ๊ป”
กลุ่มเซ็นทรัลภายใต้การดูแลบริหารของเจเนอเรชันที่ 3 ของตระกูล นำโดยทศ จิราธิวัฒน์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด ได้ประกาศลงนามสัญญาเพื่อเข้าซื้อกิจการห้างสรรพสินค้ากลุ่ม เซลฟริเจส (Selfridges Group) เมื่อเดือนธันวาคม ปี 2564 โดยการลงทุนครั้งนี้ทำให้เซ็นทรัลก้าวขึ้นสู่การเป็นผู้นำทางด้านธุรกิจห้างสรรพสินค้าระดับลักชัวรี่ ครอบคลุม 8 ประเทศในยุโรป และแฟลกชิพสโตร์บนทำเลที่ดีที่ของเมืองต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งห้างสรรพสินค้า เซลฟริดเจส (Selfridges) บนถนนออกซ์ฟอร์ดใจกลางกรุงลอนดอน ซึ่งเป็นจุดหมายปลายทางแห่งการช้อปปิ้งอันดับ 1
กลุ่มเซ็นทรัลตระกูล
“จิราธิวัฒน์” ได้เปิดฉากลงทุนบุกทวีปยุโรปครั้งแรกเมื่อปี 2554
ด้วยการซื้อกิจการห้างสรรพสินค้ารีนาเชนเต้ ในประเทศอิตาลี
ผ่านไป 10 ปี กลุ่มเซ็นทรัลซื้อห้างในยุโรปรวมแล้วไม่ต่ำกว่า
10 ห้าง คือ Rinascente, Illum, Kadewe, Alsterhaus, Oberpolliger, Globus,
Selfridges, Brown thomas, Arnotts, de Bijenkorf
รวมประมาณ
40 แห่งในหลายเมืองท่องเที่ยวสำคัญของยุโรป
ไทม์ไลน์การเข้าซื้อกิจการห้างหรูในต่างประเทศ
ปี 2554
เริ่มขยายธุรกิจไปยุโรปจากการเข้าซื้อกิจการห้างรีนาเชนเต ประเทศอิตาลี
ปี 2556 เข้าซื้อกิจการห้างอิลลุม ประเทศเดนมาร์ก
ปี 2558 เข้าซื้อกิจการห้างกลุ่มคาเดเว
ประเทศเยอรมนี ด้วยการร่วมทุนกับซิกน่า
ปี 2563 เข้าซื้อกิจการห้างโกลบุส
ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ด้วยการร่วมทุนกับซิกน่า
ปี 2565 เข้าซื้อกิจการกลุ่มเซลฟริดเจส
ดีลล่าสุดนี้ทำให้เซ็นทรัลได้ห้างจากกลุ่มเซลฟริดเจส
ซึ่งมี 4 แบรนด์ 18 สาขา ใน 3 ประเทศ ประกอบด้วย
เซลฟริดเจส (Selfridges)
ประเทศอังกฤษ
อาร์นอตส์ (Arnotts) ประเทศไอร์แลนด์
บราวน์ โธมัส (Brown
Thomas) ประเทศไอร์แลนด์
ดี แบนคอร์ฟ (de Bijenkorf) ประเทศเนเธอร์แลนด์
ห้างรีนาเชนเต ประเทศอิตาลี
ห้างเซลฟริดเจส (Selfridges) ประเทศอังกฤษ
ห้างอาร์นอตส์ (Arnotts) ประเทศไอร์แลนด์
ห้างบราวน์ โธมัส (Brown
Thomas) ประเทศไอร์แลนด์
ห้างดี แบนคอร์ฟ (de
Bijenkorf) ประเทศเนเธอร์แลนด์