บสย. โชว์ยอดอนุมัติค้ำสินเชื่อ 6 เดือน ทะลุ 9 หมื่นล้านบาท

บสย. เผยครึ่งปีหลังดัน ศูนย์ F.A.CENTER หนุน Re-Start Start up แก้หนี้อย่างยั่งยืน

นายสิทธิกร ดิเรกสุนทร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เปิดเผยผลดำเนินงานค้ำประกันสินเชื่อ บสยรอบ 6 เดือน (1 ..-30 มิ.. 2565)  อนุมัติวงเงินค้ำประกันสินเชื่อรวม 92,879 ล้านบาท โดยยอดค้ำประกัน 50% มาจาก โครงการค้ำประกันสินเชื่อ บสย. SMEs สร้างชาติ (PGS 9) วงเงิน 46,314 ล้านบาท อันดับ 2 โครงการค้ำประกันสินเชื่อ ...ฟื้นฟู สัดส่วน 39% วงเงิน 36,425 ล้านบาท และอันดับ 3 โครงการค้ำประกันสินเชื่อ บสย. Micro ต้องชนะ (Micro 4) สัดส่วน 5% วงเงิน 4,473 ล้านบาท และ โครงการอื่นๆ สัดส่วน 6% วงเงิน 5,667 ล้านบาท 

กลุ่มธุรกิจยอดค้ำประกันสูงสุด คือ 1. ธุรกิจบริการ 28% 2. กลุ่มเกษตรกรรม 12% 3. ธุรกิจการผลิตสินค้าและการค้า 11% สร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ช่วยผู้ประกอบการ SMEs เข้าถึงแหล่งทุน 68,731 ราย สร้างสินเชื่อในระบบ 102,544 ล้านบาท รักษาการจ้างงานรวม 620,164 ตำแหน่ง และสร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ383,592 ล้านบาท    


นายสิทธิกร กล่าวว่า ผลการค้ำประกันสินเชื่อในกลุ่มธุรกิจเกษตรกรรมมีสัดส่วนเพิ่มขึ้น 2% จาก 10% ในปี2564 เป็น 12% ในปี 2565 คิดเป็นวงเงินค้ำ 11,001 ล้านบาท โดยภาคใต้ ครองแชมป์ยอดค้ำสูงสุด สัดส่วน25% วงเงิน 2,774 ล้านบาท ประกอบด้วย 1.ผัก ผลไม้ 2.ข้าวพืชไร่ 3.ค้าสัตว์น้ำ และอื่นๆ ผ่านสถาบันการเงินของรัฐ หรือ SFIs/ธนาคารพาณิชย์ สัดส่วน 30:70  



ด้านผลการดำเนินงาน การให้คำปรึกษาทางการเงิน โดยศูนย์ที่ปรึกษาทางการเงิน SMEs (บสย. F.A. Center) ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาและพัฒนาศักยภาพและยกระดับขีดความสามารถทางธุรกิจของ SMEs โดยไม่มีค่าใช้จ่าย โดยทีมผู้เชี่ยวชาญทางการเงิน นับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2563-30 มิถุนายน 2565 ให้บริการรวม 9,458 รายมีผู้เข้ารับการอบรม 6,120 ราย มีผู้ลงทะเบียนขอรับคำปรึกษา 3,338 ราย และให้คำปรึกษาแล้ว จำนวน 1,940 ราย ขอรับคำปรึกษามากที่สุด ได้แก่ 1.สินเชื่อ 2.ปรับโครงสร้างหนี้ 3. การพัฒนาธุรกิจ โดยมีความต้องการสินเชื่อ 11,242 ล้านบาท


นอกจากนี้ บสยยังประสบผลสำเร็จจากการดำเนินโครงการช่วยเหลือลูกหนี้ บสยภายใต้โครงการ “บสยพร้อมช่วย” แก้หนี้อย่างยั่งยืน เช่น การประนอมหนี้ การปรับโครงสร้างหนี้ ด้วยมาตรการ 3 สี ม่วง เหลือง เขียวที่ได้รับการยอมรับจากลูกหนี้ที่เข้าโครงการประนอมหนี้ ว่าเป็นโครงการเชิงรุกที่ยอดเยี่ยม ที่สามารถช่วยประคองธุรกิจได้จริง ด้วยโมเดลการประนอมหนี้ที่มีความยืดหยุ่น เหมาะกับความสามารถในการชำระหนี้  



สำหรับทิศทางการดำเนินงาน บสยตลอดครึ่งปีหลัง มุ่งเน้นการทำงานแบบเชิงรุก ช่วยผู้ประกอบการทุกกลุ่มเข้าถึงสินเชื่อ เพื่อผลักดันยอดค้ำประกันสินเชื่อสู่เป้าหมาย 174,348 ล้านบาท อาทิ สนับสนุนผู้ประกอบการSMEs ที่ต้องการ กลับมาทำธุรกิจ หลังการเปิดประเทศ และ กลุ่มสตาร์ทอัพ โดยร่วมกับสถาบันการเงินพันธมิตร ยกระดับศูนย์ที่ปรึกษาทางการเงิน พัฒนาหลักสูตรการอบรม พร้อมให้คำปรึกษาผู้ประกอบการSMEs และกลุ่มนักศึกษาจบใหม่ที่ต้องการมีธุรกิจเป็นของตัวเอง หรือ Start up เตรียมความพร้อมการเข้าสู่โลกธุรกิจ

ทั้งนี้ เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ได้รับการค้ำประกันสินเชื่ออย่างต่อเนื่อง   บสยยังอยู่ในระหว่างการนำเสนอโครงการค้ำประกันสินเชื่อ PGS 10 วงเงิน 150,000 ล้านบาท ตั้งเป้าช่วยผู้ประกอบการSMEs  35,000 ราย และกระตุ้นการปล่อยสินเชื่อ 180,000 ล้านบาท และ โครงการค้ำประกันสินเชื่อ Micro 5 วงเงิน 30,000 ล้านบาท ตั้งเป้าช่วยผู้ประกอบการ SMEs  120,000 ราย และ กระตุ้นการปล่อยสินเชื่อ 30,000 ล้านบาท