เลขาธิการ คปภ. สรุปส่งท้ายโครงการ “พ.ร.บ.รุกทั่วไทย” เผยประชาชนตื่นตัวทำประกันภัย พ.ร.บ. เพิ่มขึ้น 2 ล้านฉบับ

เลขาธิการ คปภสรุปส่งท้ายโครงการ “...รุกทั่วไทย” เผยประชาชนตื่นตัวทำประกันภัย ..เพิ่มขึ้น 2 ล้านฉบับ พร้อมเดินหน้าดำเนินการเชิงรุกเพื่อช่วยให้ประชาชนทุกพื้นที่สามารถเข้าถึงการประกันภัย..อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น


เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2565 ดรสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการคปภ.) เป็นประธานแถลงข่าวปิดโครงการ “...รุกทั่วไทย”  ห้องประชุมสถาบันวิทยาการประกันภัยระดับสูง สำนักงาน คปภถนนรัชดาภิเษก กรุงเทพฯ โดยมีใจความตอนหนึ่งว่า อุบัติเหตุทางถนนเป็นปัญหาที่ก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ตลอดจนความสูญเสียทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศเป็นอย่างมาก  ดังนั้นระบบประกันภัยจึงเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการบริหารความเสี่ยงและสามารถเยียวยาความสูญเสียต่าง  ที่เกิดขึ้น สำนักงาน คปภจึงได้จัดโครงการ ...รุกทั่วไทย เพื่อรณรงค์ให้เจ้าของรถและผู้ครอบครองรถตระหนักถึงความสำคัญของการจัดทำประกันภัย ..รวมทั้งเข้าใจถึงบทบาท หน้าที่ของกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย และสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับจากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยอย่างถูกต้องมากยิ่งขึ้น 


สำนักงาน คปภมีภารกิจหลักในการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย รวมทั้งให้ความคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชนที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัย นอกจากนี้ยังให้ความคุ้มครองดูแลผู้ประสบภัยจากรถให้ได้รับการช่วยเหลือและเยียวยาจากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย ผ่านการจ่ายเงินค่าเสียหายเบื้องต้น ในกรณีรถที่ก่อให้เกิดความเสียหาย แต่ไม่มีการประกันภัย ..รวมถึง กรณีรถมีการประกันภัย ..แต่ไม่อาจใช้สิทธิได้ ซึ่งนอกจากจะช่วยลดภาระทางการเงินให้แก่ผู้ประสบภัยจากรถแล้ว ยังก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เกี่ยวข้อง เช่น ครอบครัวผู้ประสบภัย ผู้ขับขี่ สถานพยาบาล หรือแม้แต่นายจ้างของผู้ประสบภัย ซึ่งเป็นการลดปัญหาสังคมที่อาจเกิดขึ้นจากการที่ผู้ประสบภัยจากรถไม่ได้รับการเยียวยาอย่างเหมาะสมและรวดเร็ว

ทั้งนี้ จากสถิติการทำประกันภัย ..และการจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นของกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย ระหว่างเดือนมกราคม ถึง เดือนพฤษภาคม ปี 2565 เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน พบว่าในปี 2565 มีการทำประกันภัย ..เพิ่มขึ้นจำนวน 2.01 ล้านฉบับและจากตัวเลขการทำประกันภัย ..ที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้กองทุนทดแทนผู้ประสบภัยมีการจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้กับผู้ประสบภัยจากรถที่ไม่สามารถเข้าถึงสิทธิจากการประกันภัยลดลงถึง 12.50 ล้านบาท ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากการดำเนินโครงการ ..รุกทั่วไทย ที่มีการประชาสัมพันธ์สร้างความตระหนักรู้ให้แก่ประชาชนผ่านช่องทางต่าง  อย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง โดยเห็นได้จากกิจกรรมที่มีการเปิดให้ประชาชน สามารถลงทะเบียนรับกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใด  จำนวน 10,000 ฉบับ 

โดยเปิดรับลงทะเบียนตั้งแต่วันที่ 23 พฤศจิกายน 2564 จนถึงวันที่ 18 เมษายน 2565 ปรากฏว่ามีประชาชนผู้สนใจ

เข้าร่วมลงทะเบียนกว่า 30,000 ราย ซึ่งสำนักงาน คปภโดยกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย ได้ดำเนินการส่งมอบกรมธรรม์ ให้แก่ประชาชนผู้เป็นเจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถจักรยานยนต์ที่มีคุณสมบัติตรงตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขโครงการฯ รวมทั้งสิ้น 10,065 ฉบับ แบ่งเป็นภาคเหนือ จำนวน 1,090 ฉบับ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(ภาคอีสานจำนวน 1,302 ฉบับ ภาคกลาง จำนวน 556 ฉบับ ภาคตะวันออก จำนวน886 ฉบับ ภาคตะวันตก จำนวน 488 ฉบับ ภาคใต้ จำนวน 1,104 ฉบับและกรุงเทพมหานคร จำนวน 4,639 ฉบับ ซึ่งทั้งหมดได้ดำเนินการส่งกรมธรรม์ให้กับผู้ได้รับสิทธิ์ทางไปรษณีย์ครบถ้วนแล้ว 

นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรม “ส่งรักทั่วไทย อุ่นใจเมื่อมีประกันภัย ...” ที่จัดขึ้นทั้ง 4 ภาค อีกทั้งมีการผลิตและเผยแพร่คลิปวีดิโอให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำประกันภัย ..รวมถึงผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ในรูปแบบInfographic แบบภาพเคลื่อนไหว (Motion Graphic) เพื่อย้ำให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการจัดทำประกันภัย ..อีกด้วย “สำนักงาน คปภต้องขอขอบคุณหน่วยงานภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทุกหน่วยงาน ที่มีส่วนร่วมสนับสนุนให้โครงการ ..รุกทั่วไทย ประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง รวมทั้งพี่น้องประชาชนทุกท่านที่ให้ความสนใจและเข้าร่วมกิจกรรมต่าง  ของโครงการฯ ทั้งนี้ สำนักงานคปภจะยังคงมุ่งมั่นในการเป็นหน่วยงานที่จะช่วยส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญของการทำประกันภัย..โดยจะดำเนินการเชิงรุกเพื่อช่วยให้ประชาชนทุกพื้นที่สามารถเข้าถึงการประกันภัย ..อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น” เลขาธิการคปภกล่าวในตอนท้าย