หลักทรัพย์บัวหลวง มองดัชนีครึ่งหลัง 1700 จุด

หลักทรัพย์บัวหลวง มองดัชนีครึ่งหลั 1,700 จุด ชูกลยุทธ์กระจายความเสี่ยงรับมือความผันผวน

หลักทรัพย์บัวหลวง ประเมินแนวโน้มตลาดหุ้นไทยครึ่งหลังปี 2565 กว่งตัวขึ้นแตะ 1,700 จุด        หนุนด้วยปัจจัยเศรษฐกิจฟื้นตัวจากการเปิดเมืองรับนักท่องเที่ยว และกำไรบริษัทจดทะเบียนไตรมาส            2 ปี 2565 คาดเติบโตราว 9% จากไตรมาสแรก พร้อมแนะจัดพอร์ตลงทุนรับมือความผันผวนและเงินเฟ้อพุ่งต่อเนื่อง แต่คาดว่าจะผ่านจุดสูงสุดในไตรมาส 3 ปีนี้ด้วยการลงทุนในหุ้น 60% ที่เหลือกระจายไปในกองทุนอสังหาฯสินค้าโภคภัณฑ์ และตราสารหนี้

นายชัยพร น้อมพิทักษ์เจริญ กรรมการผู้จัดการ สายงานค้าหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า การประเมินเป้าหมายดัชนี SET Index ในช่วงครึ่งหลังปี 2565 ที่ระดับ 1,700 จุดยังคงเป็นไปได้ ส่วนกรอบล่างอาจมี Downside อยู่ที่ 1,550-1,570 จุด แม้อัตราเงินเฟ้อสูงและราคาสินค้าเพิ่มขึ้น แต่เชื่อว่า            เศรษฐกิจน่าจะฟื้นตัวและหนุนดัชนีให้ค่อย ๆ ไต่ขึ้นไปสู่เป้าหมาย หลังจากเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยว                                  และผ่อนปรนมาตรการให้ร้านอาหารกลับมาเปิดได้ ซึ่งหัวใจสำคัญอยู่ที่มาตรการต้องไม่เปลี่ยนไปมาเพื่อให้ประชาชนเกิดความเชื่อมั่น อย่างไรก็ตาม ดัชนีอาจไม่ถึงเป้าหมายหากสถานการณ์สงครามรัสเซียและยูเครนขยายวงไปยังภูมิภาคอื่น ๆ 

ทั้งนี้ปัจจัยที่มีผลต่อการลงทุนในช่วงครึ่งหลัง คือ อัตราเงินเฟ้อที่อยู่ระดับสูง จากตัวเลขประกาศอัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ ในเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา พุ่งทำนิวไฮในรอบ 40 ปี แต่เราคาดว่า อัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ จะผ่านจุดสูงสุดและอัตราเร่งจะเริ่มลดลงในกลางปี 2565 ต่อเนื่องไปจนถึงปี 2566 จากสาเหตุการจับจ่ายใช้สอยในสหรัฐฯ มีสัญญาณอ่อนตัวลงเป็นเดือนที่ 3การขอสินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยลดลงอย่างรุนแรงต่อเนื่อง และจำนวนกองเรือสำหรับการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศเริ่มทยอยเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ค่าระวางน่าจะอ่อนตัวลงต่อได้

่วนการเจรจายุติสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนยังดำเนินต่อไป สำหรับอัตราเงินเฟ้อของไทยยังไม่ถึงจุดพีคอาจได้เห็นในช่วงไตรมาส 3-4 ปี 2565ซึ่งจะช้ากว่าสหรัฐฯ และยุโรป โดยคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) คาดการณ์ว่า ในปี 2566เงินเฟ้อจะต่ำกว่าปีนี้ ชี้ให้เห็นว่า กนง.ประเมินเงินเฟ้อจะแตะระดับสูงสุดในปี 2565 ละหลังจากนั้นจะค่อย ๆ ลดลงในปีหน้าเช่นกัน ปัจจัยสำคัญอยู่ที่ระดับราคาน้ำมัน ซึ่งจะมีการเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันจากกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ตามแผนที่วางไว้ ขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) น่าจะปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นเร็วในการประชุมเดือนกรกฎาคมนี้อีก 0.75และจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกราว 1% ในการประชุมที่เหลือของปีนี้ และน่าจะจบรอบการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในครึ่งแรกปี 2566

ในส่วนของกำไรบริษัทจดทะเบียน (บจ.) มองว่า ปี 2565 เป็นปีแรกที่จะเห็นการฟื้นตัวของกำไร เพราะเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวจากเปิดเมืองรับนักท่องเที่ยว และการจับจ่ายใช้สอยดีขึ้นจากการผ่อนคลายมาตรการ ส่งผลให้กำไรบจ.          ไตรมาส ปี 2565 เติบโตได้ดีและแนวโน้มไตรมาส ปี 2565 คาดการณ์กำไรบจ.จะเติบโต 9% จากไตรมาสแรก          ซึ่งหากไม่รวมกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับพลังงานกำไรบจ.จะเติบโต 1% จากไตรมาส ปี 2565 เนื่องจากราคาต้นทุนสินค้า    และการขนส่ง อย่างไรก็ตามหากเปรียบเทียบกำไรบจ.ในไตรมาส ปี 2565 กับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาอาจเติบโต 35% แต่หากไม่รวมกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับพลังงานกำไรบจ.จะเติบโต 10%

 

 

สำหรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยคาดว่า กนง.จะปรับขึ้นดอกเบี้ย 1-2 ครั้ง ในปี 2565 ส่งผลให้ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นจาก 0.5% เป็น 1-1.25%  โดยครั้งแรกอาจเห็นในเดือนกรกฎาคมนี้ และปี 2566 อาจเห็นการปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก  1-2 ครั้ง หรืออาจไม่ขึ้นก็ได้ขึ้นอยู่กับอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ และทิศทางเงินเฟ้อประเทศไทยที่กนง.คาดการณ์ไว้ ส่วนการท่องเที่ยวของไทยปัจจุบันจำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาวันละ 3 หมื่นคน ตกเดือนละเกือบ 1 ล้านคน          เรามองว่า อาจเป็นไปตามที่รัฐบาลคาดการณ์ที่จะได้เห็นนักท่องเที่ยว 8 ล้านคน ในปี 2565 และปี 2566 ที่ระดับ 12-15 ล้านคน โดยทิศทางตัวเลขรายเดือนเป็นสิ่งที่นักลงทุนต้องจับตา เพราะเป็นตัวขับเคลื่อนและมีอิทธิพลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

"ตลาดหุ้นไทยน่าจะดีกว่าตลาดหุ้นในภูมิภาคอื่น ๆ แม้ในแง่ของค่า P/E ตลาดหุ้นไทยจะมีพรีเมี่ยมสูงกว่าค่าเฉลี่ยในภูมิภาคอยู่บ้าง โดยเฉพาะตลาดหุ้นเวียดนามที่โดดเด่นในปีนี้ แต่เวียดนามเป็นตลาดหุ้นชายขอบ (Frontier Market) ที่เพิ่งเริ่มต้นและเม็ดเงินลงทุนของต่างชาติเข้าได้จำกัด แม้ตลาดหุ้นไทยไม่ได้ให้ผลตอบแทนแรง 30-40% เหมือนหุ้นเวียดนาม แต่คาดหวังผลตอบแทน 6-10% ต่อปีนั้นยังเป็นไปได้ และภาพรวมตลาดหุ้นไทยไม่น่าจะผันผวนมากเหมือนต่างประเทศ อาจเป็นเพราะข้อดีของตลาดหุ้นไทยที่มีหุ้นสินค้าโภคภัณฑ์มากซึ่งมีผลต่อดัชนี" นายชัยพร กล่าว

นายชัยพร กล่าวต่อว่า กลยุทธ์การลงทุนในช่วงที่เหลือของปีนี้ เรายังคงแนะนำให้จัดพอร์ตแบบเน้นกระจายการลงทุน เพื่อลดความเสี่ยงจากความผันผวน โดยให้น้ำหนักการลงทุนในตลาดหุ้นสัดส่วน 60%กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์, กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานสัดส่วน 20% เนื่องจากมองว่าอสังหาริมทรัพย์จะฟื้นตัวและมีการจ่ายเงินปันผลที่น่าสนใจ นอกจากนี้ควรมีการลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ ทองคำ และน้ำมันสัดส่วน 10% ที่เหลือแนะนำให้ถือเป็นเงินสดและตราสารหนี้ระยะสั้นสัดส่วน 10%

สำหรับกลุ่มหุ้นแนะนำเป็นกลุ่มที่ดีอยู่แล้วและคาดว่าจะดีต่อเนื่อง คือ กลุ่มโภคภัณฑ์น้ำมันถ่านหินและกองเรือ คาดการณ์กำไรยังเติบโตต่อเนื่องนอกจากนั้นยังแนะกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากแนวโน้มการขึ้นอัตราดอกเบี้ย เช่น                กลุ่มสถาบันการเงิน รวมถึงหุ้นกลุ่มโรงพยาบาลขนาดใหญ่ที่อาจมีกำไรเติบโตโดดเด่นกว่าโรงพยาบาลขนาดกลางและเล็กเพราะได้รับผลกระทบไม่มากนักจากภาวะอัตราเงินเฟ้อและดอกเบี้ยขึ้น สำหรับกลุ่มอาหารส่งออกไก่ หมู น่าจะดีต่อเนื่องจนถึงสิ้นปีนี้จากภาวะขาดแคลนอาหาร และค่าเงินบาทอ่อนเทียบค่าเงินสหรัฐ (USD)ส่วนหุ้นโรงไฟฟ้าคอนซูเมอร์ไฟแนนซ์, อิเล็กทรอนิกส์ และอสังหาริมทรัพย์ ยังไม่แนะนำในช่วงนี้จนกว่าจะเห็นภาพราคาก๊าซ และอัตราผลตอบแทนหุ้นกู้เริ่มลดลง