“กองทุนประกันชีวิต (กปช.)” ด้วยการบริหารจัดการของผู้จัดการกองทุนฯ คนใหม่ มุ่งมั่นนำเทคโนโลยีทันสมัยเพื่อคุ้มครองสิทธิประโยชน์ในกรมธรรม์ของประชาชน ที่ล่วงพ้นอายุความ 10 ปี ซึ่งไม่ได้ขอรับสิทธิเป็นจำนวนมาก ตลอดจนมุ่งพัฒนาองค์กร สร้างเครือข่ายและประสานขอความร่วมมือทุกองค์กรในการช่วยผลักดันสู่ความสำเร็จในการสร้างผลประโยชน์สูงสุดของประชาชน พร้อมเสถียรภาพความมั่นคงของธุรกิจประกันชีวิตในระยะยาว
นายนพพล เบี้ยวไข่มุข ผู้จัดการกองทุนประกันชีวิตคนใหม่ ต่อจากนายจรัญ สอนสวัสดิ์ที่ครบวาระการดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 17 เมษายน 2565 ที่ผ่านมา ได้เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีกรมธรรม์ที่ล่วงพ้นอายุความ (เกินกว่า10 ปีนับจากวันที่มีสิทธิรับผลประโยชน์ตามกรมธรรม์) ที่ทุกบริษัทประกันชีวิตนำส่งเข้ากองทุนประกันชีวิต ณวันที่ 31 มี.ค 2565 เป็นเงินจำนวน 1,669 ล้านบาท ด้วยจำนวน 1.16 ล้านกรมธรรม์ โดยกองทุนฯ ได้จ่ายเงินคืนให้แก่ผู้มีสิทธิรับเงินไปแล้ว จำนวน 8,582 กรมธรรม์หรือเพียง 0.74% ของจำนวนกรมธรรม์ทั้งหมด ด้วยจำนวนเงินจ่ายทั้งสิ้นจำนวน 48 ล้านบาท คิดเป็น 2.60% ของจำนวนเงินทั้งหมด ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนที่น้อยมากเนื่องจากประชาชนผู้เอาประกันหรือผู้รับประโยชน์ไม่ทราบ หรือหลงลืมสิทธิประโยชน์ของตน
ดังนั้น กองทุนฯ โดยคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ จึงถือเป็นภารกิจหลักสำคัญที่จะมุ่งมั่นเร่งรัดดูแลสิทธิประโยชน์ตามกรมธรรม์ดังกล่าวนี้ ให้ประชาชนตระหนักรู้ในสิทธิประโยชน์ของตนทั้งก่อนและหลังกรมธรรม์ล่วงพ้นอายุความ ด้วยการประชาสัมพันธ์เชิงรุก ต่อยอดสร้างเครือข่าย และประสานขอความร่วมมือกับทุกองค์กรที่เกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งสำนักงาน คปภ. สมาคมประกันชีวิตไทย สมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาทางการเงิน (THAIFA) สมาคมนายหน้า ตลอดจนองค์กรอื่น ๆ ทั้งภาครัฐและองค์กรอิสระที่มีพลังขับเคลื่อนชุมชนในพื้นที่ รวมทั้งสื่อสารมวลชนทุกแขนง โดยผ่านทุกช่องทาง Social Network ในปัจจุบันและแน่นอนว่าหากทุกองคาพยพร่วมมือร่วมใจกันอย่างเต็มที่ สัดส่วนการจ่ายเงินฯ คืนจะมีอัตราที่เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด โดยทางกองทุนฯ จะนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วยให้ประชาชนผู้เอาประกันสามารถตรวจสอบสิทธิ ขอรับสิทธิ และรับผลประโยชน์คืนผ่านช่องทางออนไลน์ได้อย่างเรียบง่ายและรวดเร็ว โดยโอนตรงเข้าบัญชีแบบไร้เงินสด
นายนพพลได้กล่าวต่อไปว่า ในโอกาสเข้ารับตำแหน่งผู้จัดการกองทุนฯ นี้ ตนเองมีนโยบายเชิงกลยุทธ์ด้วยการยึดผู้เอาประกันภัยหรือเจ้าหนี้ เป็นศูนย์กลาง (Customer Centric) ให้ได้รับการบริการ 4S คือ Simple (เรียบง่ายไม่ซับซ้อน) Speed (ความรวดเร็ว) Solution (มีทางออกในทุกปัญหา) และ Satisfaction (ได้รับความพึงพอใจในทุกกรณี) พร้อมขับเคลื่อนกองทุนฯ บนพื้นฐานการพัฒนา 3P ภายในองค์กรทั้ง Personnel (บุคลากร) Process (กระบวนการปฏิบัติงาน) และ Platform (ระบบรองรับ) ซึ่งแน่นอนว่าในยุคปัจจุบัน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนองค์กรสู่ความสำเร็จ และที่สำคัญคือต้องก้าวเดินไปด้วยกันกับกองทุนประกันวินาศภัย (กปว.) สอดคล้องกับแผนพัฒนาธุรกิจประกันภัย และยุทธศาสตร์กองทุนประกันชีวิต
สำหรับการเตรียมการรองรับกรณีบริษัทประกันชีวิตถูกเพิกถอนใบอนุญาต และกองทุนฯ ต้องเข้าเป็นผู้ชำระบัญชีต่อไปนั้น กองทุนฯ ได้ศึกษาและจัดทำแผนรองรับเบื้องต้นในระดับหนึ่งแล้ว อย่างไรก็ดี ในสถานการณ์ปัจจุบัน เชื่อมั่นว่าทุกบริษัทประกันชีวิตยังคงมีความมั่นคงแข็งแกร่งในระยะยาว โดยอัตราความพอเพียงของเงินกองทุน (