ก.ล.ต.เผยเกณฑ์เอสเอ็มอีและสตาร์ทอัพระดมทุนได้ทั้งตลาดแรกและตลาดรอง

ก.ล.ต.เยผลการประชุมคณะกรรมการ ..ครั้งที่ 1/2563 วันที่ 21 มกราคม 2563

นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล เลขาธิการ ..เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการกำกับตลาดทุน (...) ประจำเดือนมกราคม 2563 โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้

1. คณะกรรมการ ..มีมติเห็นชอบเกณฑ์เปิดทางเอสเอ็มอีและสตาร์ทอัพระดมทุนได้ทั้งในตลาดแรกและตลาดรอง 

คณะกรรมการ ..มีมติเห็นชอบหลักเกณฑ์เพื่อรองรับการระดมทุนของเอสเอ็มอีและสตาร์ทอัพออกและเสนอขายหุ้นแก่ผู้ลงทุนในวงจำกัดและผู้ลงทุนทั่วไป และเปิดโอกาสให้นำหุ้นไปจดทะเบียนซื้อขายในตลาดรองได้ โดยเอสเอ็มอีและสตาร์ทอัพที่เป็นบริษัทจำกัดและบริษัทมหาชนจำกัด ซึ่งมีผลการดำเนินการมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง หรือมีมูลค่ากิจการระดับหนึ่งแล้ว สามารถระดมทุนและนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดรองได้โดยไม่ต้องยื่นคำขออนุญาตต่อ ..แต่ต้องเปิดเผยข้อมูลของกิจการและงบการเงินตามที่กำหนด และผู้ลงทุนต้องมีลักษณะต่อไปนี้

      (1)  ผู้ลงทุนสถาบัน กิจการเงินร่วมลงทุน นิติบุคคลร่วมลงทุน ผู้ลงทุนที่มีลักษณะเฉพาะ   

       (2)  กรรมการและพนักงานของเอสเอ็มอีและสตาร์ทอัพ หรือบริษัทในเครือ

       (3)  ผู้ลงทุนที่มีประกาศนียบัตรวิชาชีพที่แสดงถึงความรู้ด้านการเงินและการ    ลงทุน(professional license) 

(4)  ผู้ลงทุนทั่วไปที่มีความรู้และประสบการณ์การลงทุนโดยมีเงินลงทุนโดยตรงในหุ้นเฉลี่ยตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไปในรอบ 12 เดือนล่าสุด 

ทั้งนี้ ..จะเปิดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน และคาดว่าจะได้ข้อสรุปเรื่องหลักเกณฑ์ภายในไตรมาส 1 ปี 2563 ในส่วนการจัดตั้งตลาดรองเพื่อรองรับการจดทะเบียนของเอสเอ็มอีและสตาร์ทอัพ..และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยอยู่ระหว่างประชุมหารือเรื่องรูปแบบตลาดที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ 

2. คณะกรรมการ ..มีมติเห็นชอบการปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ผ่านระบบคราวด์ฟันดิง

คณะกรรมการ ..มีมติเห็นชอบให้บริษัทที่เสนอขายหุ้นกู้แบบคราวฟันดิง กรณีมีผู้จองซื้อถึงร้อยละ 80 ของจำนวนเงินที่ตั้งไว้ โดยไม่ต้องยกเลิกการเสนอขายหากได้ไม่ครบร้อยละ 100 แต่ผู้ให้บริการระบบคราวด์ฟันดิง (Funding Portal) เปิดเผยและแจ้งเงื่อนไข ที่จะไม่ยกเลิกการเสนอขายให้ผู้ลงทุนทราบก่อนจองซื้อ เพื่อลดข้อจำกัดตามเกณฑ์เดิมที่กำหนดว่าหากได้เงินไม่ครบจำนวนที่ตั้งไว้ต้องยกเลิกการเสนอขาย (All-or-nothing)* ซึ่งหลักเกณฑ์ใหม่ดังกล่าวสอดคล้องกับการกำกับดูแลในต่างประเทศ นอกจากนี้ ยังกำหนดให้ Funding Portal มีระบบงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพตามหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดให้มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของ..เพื่อสร้างมาตรฐานและแนวทางในการประกอบธุรกิจให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น

3. คณะกรรมการ ..มีมติเห็นชอบแนวทางการส่งเสริมให้บริษัทที่เสนอขายหุ้นต่อประชาชนดำเนินธุรกิจบนหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี และมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

คณะกรรมการ ..มีมติเห็นชอบในหลักการเกี่ยวกับแนวทางการส่งเสริมให้บริษัทที่เสนอขายหุ้นต่อประชาชนดำเนินธุรกิจบนหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี และมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ดังนี้  

(1) กำหนดให้ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ของบริษัทที่จะเสนอขายหุ้นต่อประชาชน(IPO) ต้องไม่เป็นบุคคลเดียวกัน ซึ่งคาดว่าจะมีผลใช้บังคับในปี 2564

(2)  กำหนดให้บริษัทจดทะเบียนและบริษัทที่จะ IPO เปิดเผยข้อมูลดังต่อไปนี้ 

       (2.1) การปล่อยก๊าซเรือนกระจก : บริษัทจดทะเบียนเปิดเผยข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี/รายงานประจำปี (แบบ 56-1 One report) ตั้งแต่รอบปีบัญชีสิ้นสุด 31 ธันวาคม 2564 และบริษัทที่จะ IPO เริ่มเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวในปี 2564 ทั้งนี้ เพื่อเตรียมความพร้อมและลดภาระของภาคเอกชน ..จะหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งประสานกับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) ในการจัดอบรมให้ความรู้แก่ภาคเอกชนต่อไป  

       (2.2) การเคารพสิทธิมนุษยชน และการมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ : บริษัทจดทะเบียนเปิดเผยข้อมูลใน One report ตั้งแต่รอบปีบัญชีสิ้นสุด 31 ธันวาคม 2564 สำหรับบริษัทที่จะ IPO เริ่มเปิดเผยข้อมูลในปี 2565 

ทั้งนี้ เป็นไปตามแนวทางความตกลงปารีส (Paris Agreement) และระดับชาติตามเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 สำหรับเป้าหมายที่จะบรรลุการลดก๊าซเรือนกระจก และแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ระยะที่ 1 (.. 2562 – 2565) (National Action Plan : NAP) ของรัฐบาล ซึ่งเป็นไปตามหลักการชี้แนะของสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (UNGPs)