SME D Bank ปลุกเอสเอ็มอีท่องเที่ยว ผุด ‘สินเชื่อ SMEs Re-Start’

SME D Bank หนุนเอสเอ็มอีท่องเที่ยวและเกี่ยวเนื่อง พร้อมกลับมาเดินหน้าธุรกิจได้เต็มศักยภาพ รับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีทิศทางฟื้นตัว ผ่านมาตรการด้าน “การเงิน” เปิดตัว “สินเชื่อ SMEs Re-Start” วงเงินรวม 2,000 ลบ. กู้สูงสุด ลบ.ต่อราย ผ่อนนาน 10 ปี ปลอดชำระเงินต้นสูงสุดถึง 24 เดือน ช่วยเสริมสภาพคล่อง ควบคู่มาตรการด้าน “การพัฒนา” มอบ “3เติม” ช่วยยกระดับเติบโตยั่งยืน

นางสาวนารถนารี รัฐปัตย์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank เปิดเผยว่า ในปี 2565 ภาพรวมเศรษฐกิจไทย ภาคการท่องเที่ยวในประเทศมีแนวโน้มเริ่มกลับมาฟื้นตัว โดยสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) คาดการณ์ปีนี้ จะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาประเทศไทย รวมทั้งสิ้น 5.5 ล้านคน และมีรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งสิ้น 4.7 แสนล้านบาท ขณะที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา คาดการณ์ ปีนี้ ธุรกิจท่องเที่ยวในประเทศจะมีรายได้ จากตลาดนักท่องเที่ยวในและต่างประเทศ รวมกว่า 1.3 ล้านล้านบาท ดังนั้น SME D Bank ธนาคารเพื่อเอสเอ็มอีไทย จึงออกมาตรการสนับสนุนทั้งด้าน “การเงิน” และ “การพัฒนา” ช่วยสนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยว และเกี่ยวเนื่อง (Supply Chain) รับโอกาสจากสถานการณ์ท่องเที่ยวที่คาดจะฟื้นตัวได้เต็มศักยภาพ และกลับมาเดินหน้าธุรกิจได้ดีอีกครั้งในเร็ววัน 

สำหรับมาตรการด้าน “การเงิน” เปิดตัสินเชื่อใหม่ โครงการสินเชื่อ SMEs Re-Start วงเงินรวม 2,000 ล้านบาท สนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยว และเกี่ยวเนื่อง (Supply Chain) เช่น โรงแรม ร้านอาหาร บริษัทนำเที่ยว ร้านขายของที่ระลึกฯลฯ รวมถึง เอสเอ็มอีทุกประเภทที่เป็นคู่ค้ากับกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยว ได้เข้าถึงแหล่งเงินทุน นำไปเสริมสภาพคล่อง ลงทุน ขยาย ปรับปรุงกิจการ หรือสำรองเป็นค่าใช้จ่าย คุณสมบัติเปิดกว้าง กู้ได้ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ทั้งลูกค้าเก่าและลูกค้าใหม่ อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น 5.5% ต่อปี หรือ MLR -1.25% สำหรับวงเงินกู้ ได้แก่ กลุ่มบุคคลธรรมดา สูงสุด 1 ล้านบาท และกลุ่มบุคคลธรรมดาจด VAT หรือนิติบุคคล สูงสุด ล้านบาท ระยะเวลาผ่อนชำระนานสูงสุด 10 ปี พร้อมปลอดชำระคืนเงินต้น (Grace Period) สูงสุดไม่เกิน 24 เดือน โดยเปิดรับคำขอกู้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2566 หรือจนกว่าจะหมดวงเงินโครงการ แล้วแต่อย่างหนึ่งอย่างใดจะถึงก่อน

ส่วนมาตรการด้าน “การพัฒนา” ช่วยเพิ่มศักยภาพ ยกระดับเอสเอ็มอีธุรกิจท่องเที่ยวและเกี่ยวเนื่อง สามารถปรับตัวสู่การท่องเที่ยววิถีใหม่ ช่วยให้ธุรกิจประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน ผ่านกระบวนการ 3 เติม ได้แก่ เติมความรู้ โดยร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร ทั้งภาครัฐและเอกชน จัดสัมมนาทิศทางและแนวโน้มการท่องเที่ยวหลังโควิด-19,สร้างมาตรฐานด้านการท่องเที่ยว รวมถึง การขออนุญาตด้านโรงแรมและที่พัก เป็นต้น เพื่อให้ข้อมูลความรู้แกู่้ประกอบการเอสเอ็มอีกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยว และเกี่ยวเนื่อง 

เติมช่องทางการตลาด ผ่านกิจกรรมร่วมกับ มิส ทัวริซึม เวิลด์ ไทยแลนด์ 2021” มอบหมาย 77 ทูตการท่องเที่ยวและทูตการกีฬา” ประจำแต่ละจังหวัด ทำหน้าที่ตัวแทนช่วยโปรโมทสินค้าหรือบริการให้เอสเอ็มอีไทยทั่วประเทศ ผ่านช่องทางออนไลน์ บนแฟนเพจเฟซบุ๊กที่มียอดผู้ติดตามรวมกว่า 1.5 ล้านราย และ “เติมเทคโนโลยี” ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) และ Digital Provider สนับสนุนลูกค้าธนาคารกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยวและโรงแรม ผ่านทุนคูปองดิจิทัล (Voucher) เพื่อการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลช่วยบริหารจัดธุรกิจด้วยเครื่องมือ Digital Platform และซอฟต์แวร์เทคโนโลยี ด้านการท่องเที่ยวและการบริการต่าง 



จากแนวโน้มการกลับมาฟื้นตัวของภาคธุรกิจท่องเที่ยวในปีนี้ ถือเป็นโอกาสที่ดีของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยว และเกี่ยวเนื่องจะเดินหน้าธุรกิจอีกครั้ง โดย SME D Bank พร้อมสนับสนุนด้านการเงินควบคู่การพัฒนา รองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะด้านการเงิน จะช่วยเหลือเอสเอ็มอีได้ประมาณ 1,000 ราย รักษาการจ้างงาน 5,000 ราย และก่อให้เกิดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ 9,160 ล้านบาท ขณะที่ด้านการพัฒนา จะช่วยให้ผู้ประกอบการมีศักยภาพสูงขึ้น สามารถปรับตัว เติบโตอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน” นางสาวนารถนารี กล่าว 

ทั้งนี้ ผู้ประกอบการที่สนใจใช้บริการ “สินเชื่อ SMEs Re-Startและด้านการพัฒนา สามารถแจ้งความประสงค์ได้ผ่านออนไลน์ เช่น เว็บไซต์ของ SME D Bank (https://www.smebank.co.th/) แอปพลิเคชั่น “SME D Bank” และ LINE Official Account : SME Development Bank เป็นต้น รวมถึงสาขาของ SME D Bank ทั่วประเทศ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Call Center 1357