B เล็งดัน”เทพฤทธา”เข้าตลาด ระดมทุนขยายกิจการรับดีมานด์น้ำดิบพุ่ง


 

บี จิสติกส์” เร่งศึกษาแผนนำหุ้นบริษัทร่วมทุน “เทพฤทธา” ซึ่งเป็นผู้จำหน่ายน้ำดิบเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ภายใน 2 ปี หลังแนวโน้มธุรกิจเติบโตสูงจากความต้องการใช้น้ำ “ภาคครัวเรือน-อุตสาหกรรม” พุ่ง เล็งเพิ่มบ่อใหม่พื้นที่ภาคตะวันออกรองรับเขตอีอีซี เผยอยู่ระหว่างคัดเลือกที่ปรึกษาทางการเงิน คาดได้ข้อสรุปภายในเดือนนี้

ดร.ปัญญา บุญญาภิวัฒน์  ประธานกรรมการบริหารบริษัท บี จิสติกส์ จำกัด(มหาชนหรือ B เปิดเผยว่า การที่บริษัทให้ความสำคัญกับการลงทุนในธุรกิจกลุ่มสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานทั้งกลุ่มพลังงานทดแทน และธุรกิจผลิตน้ำดิบ เนื่องจากมองว่าเป็นธุรกิจที่ตอบโจทย์การเติบโตที่ยั่งยืนและสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผู้ถือหุ้นได้  โดยในส่วนของบริษัท เทพฤทธา จำกัด  ซึ่งดำเนินธุรกิจจำหน่ายดิบและเป็นบริษัทร่วมทุนที่ B ถือหุ้นอยู่ในสัดส่วน 51 % กำลังศึกษาแผนที่จะนำหุ้น   เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และขณะนี้อยู่ระหว่างการคัดเลือกที่บริษัทปรึกษาทางการเงิน คาดว่าได้ข้อสรุปภายในเดือนนี้ โดยตั้งเป้าหมายว่าจะนำหุ้นบริษัท เทพฤทธาเข้าจดทะเบียนตลาดหลักทรัพย์ได้ภายใน 2 ปี

ดร.ปัญญา กล่าวต่อว่า  สาเหตุที่บริษัทต้องเร่งศึกษาแผนการนำหุ้นบริษัทเทพฤทธา เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เนื่องจากธุรกิจจำหน่ายน้ำดิบมีแนวโน้มเติบโตสูงจาก                 ความต้องการใช้น้ำของภาคครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรม  ทำให้บริษัทต้องเตรียมแหล่งเงินทุนรองรับการขยายกิจการในอนาคต ทั้งเรื่องการลงทุนซื้อบ่อใหม่เพื่อขยายปริมาณการส่งน้ำดิบให้กับลูกค้า เตรียมลงทุนวางระบบท่อเพื่อส่งน้ำดิบไปยังผู้ผลิตน้ำโดยตรง ซึ่งบริษัทมีเป้าหมายที่จะซื้อบ่อใหม่เพิ่มในพื้นที่ภาคตะวันออก เพื่อรองรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษหรือ EEC

สำหรับแผนขยายการลงทุนของบริษัทเทพฤทธา ในปี 2565 บริษัทมีแผนลงทุนซื้อบ่อใหม่ เพื่อขยายปริมาณการส่งน้ำดิบให้กับลูกค้า  ในสัญญาฉบับใหม่ ปริมาณขั้นต่ำ 1.5 ล้าน ลบ.ต่อปี และเป็นบ่อสำรองให้กับบริษัทเพื่อกักเก็บน้ำเพิ่มขึ้น  อย่างไรก็ตามในส่วนของ B นั้น ได้เริ่มทยอยรับรู้รายได้จากธุรกิจผลิตน้ำดิบมาตั้งแต่ไตรมาส 3 ปี 2564

เทพฤทธา ถือเป็นบริษัทร่วมทุนของ B ที่มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องในระยะยาวจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมเรื่องของแหล่งเงินทุน และการระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ก็จะทำให้บริษัทมีความคล่องตัวในการบริหารด้านการเงิน สามารถออกตราสารทางการเงินประเภทต่าง  ได้ทั้งตราสารหนี้ ตราสารทุน และตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนช่วยให้บริษัทสามารถจัดโครงสร้างทางการเงินที่เหมาะสมต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทได้ดร.ปัญญา กล่าว 

นอกจากนี้จะช่วยเสริมสร้างความน่าเชื่อถือ และภาพลักษณ์ที่ดีในการบริหารงานและมาตรฐานการดำเนินงานของบริษัทมากขึ้น ผ่านกลไกการเปิดเผยข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งนอกจากจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้สนใจลงทุนในหลักทรัพย์ของบริษัทมากขึ้นแล้ว ยังช่วยสร้างความน่าชื่อถือแก่ลูกค้า คู่ค้า และสถาบันการเงินนอกจากนี้ยังเป็นการเพิ่มโอกาสทางการค้าการเข้าถึงพันธมิตรและการต่อยอดธุรกิจในอนาคต

ส่วนภาพรวมการลงทุนในกลุ่มสาธารณูปโภค นอกเหนือจากที่บริษัทเข้าไปร่วมทุนในธุรกิจจำหน่ายน้ำดิบ โดยเข้าไปถือหุ้น 51% ในบริษัท เทพฤทธา จำกัด  ปัจจุบันบริษัทมีรายได้จากธุรกิจพลังงานทดแทนในเชิงพาณิชย์(COD) ไปแล้ว 2 โครงการคือ โครงการโซลาร์ฟาร์ม SSG สยาม โซลาร์ ภายใต้บริษัทร่วม เดอะ เมกะวัตต์จำกัด ที่อยู่ในชัยภูมิ กำลังการผลิต 27 เมกะวัตต์ โดยได้ COD ไปแล้วตั้งแต่ปี 56 และโครงการโซลาร์ฟาร์มในประเทศเวียดนาม ที่บริษัทเข้าไปร่วมลงทุน กำลังการผลิต 29 เมกะวัตต์ ซึ่งได้ COD ไปแล้วเมื่อปี 63 ที่ผ่านมา โดยที่ทั้ง 2 โครงการถือว่าเป็นธุรกิจที่สร้างรายได้เสริมเข้ามาให้กับบริษัทได้อย่างต่อเนื่อง