ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(เลขาธิการคปภ.) เปิดเผยว่าตั้งแต่ปี2560 สำนักงานคปภ. ได้แต่งตั้งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคและการมีส่วนร่วมด้านการประกันภัยเพื่อเพิ่มกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องรวมถึงเป็นเวทีแลกเปลี่ยนข้อมูลรับฟังสภาพปัญหาตลอดจนระดมข้อคิดเห็นเพื่อนำไปปรับปรุงมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยคณะกรรมการฯชุดนี้มีองค์ประกอบที่มาจากทั้งหน่วยงานภาครัฐภาคเอกชนภาคประชาชนและสื่อมวลชนได้แก่สำนักงานคปภ. สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการกรมประชาสัมพันธ์สมาคมส่งเสริมและคุ้มครองผู้บริโภคสมาพันธ์ชมรมคุ้มครองผู้บริโภคกรุงเทพมหานครมูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการสมาคมประกันชีวิตไทยสมาคมประกันวินาศภัยไทยสมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงินและสมาคมนายหน้าประกันภัยไทยฯลฯ
โดยมีผลงานเด่นใน5 มาตรการได้แก่ มาตรการแรกการเร่งรัดเยียวยาและช่วยเหลือประชาชนผู้เอาประกันภัยผู้รับประโยชน์และผู้ได้รับความเสียหายจากสัญญาประกันภัย ช่วยเหลือประชาชนด้านการประกันภัยกรณีอุบัติภัยกลุ่มจำนวน116 ครั้งมีผู้เสียชีวิตจำนวน240 รายมีผู้บาดเจ็บ1,010 คนและมีทรัพย์สินได้รับความเสียหายโดยมีค่าสินไหมทดแทนจำนวน1.76 พันล้านบาท
มาตรการที่2 การเพิ่มความคุ้มครองตามสัญญาประกันภัยอัตราค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถรถยนต์ที่มีที่นั่งไม่เกิน7 คนหรือรถยนต์บรรทุกผู้โดยสารรวมทั้งผู้ขับขี่ไม่เกิน7 คนในอัตราไม่น้อยกว่าวันละ500 บาทรถยนต์รับจ้างสาธารณะที่มีที่นั่งไม่เกิน7 คนในอัตราไม่น้อยกว่าวันละ700 บาทและรถยนต์ที่มีที่นั่งเกิน7 คนหรือรถยนต์บรรทุกผู้โดยสารรวมทั้งผู้ขับขี่เกิน7 คนในอัตราไม่น้อยกว่าวันละ1,000 บาทรวมทั้งมีการปรับปรุงกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ โดยให้เพิ่มจำนวนเงินความคุ้มครองสูงสุดกรณีเสียชีวิตทุพพลภาพอย่างถาวรจาก300,000 บาทเป็น500,000 บาท
มาตรการที่3 ด้านเทคโนโลยีประกันภัยเพื่อเสริมสร้างสิทธิประโยชน์ของผู้บริโภคซึ่งสำนักงานคปภ. ได้พัฒนาApplication Me Claim “คลิกเดียวฉับไวอุ่นใจประกันภัยมา” การบริการด้านคุ้มครองสิทธิประโยชน์โดยได้จัดทำChat Bot @OICConnect ซึ่งเป็นระบบตอบคำถามเกี่ยวกับการประกันภัยอัตโนมัติหรือChat Bot โดยเป็นระบบAI ที่มีความสามารถในการประมวลภาษาไทยโดยมีคลังคำถามคำตอบ16 หมวดหมู่ครอบคลุมกว่า170 คำถามพร้อมให้บริการผ่านระบบApplication LINE ซึ่งเป็นที่นิยมสามารถเข้าถึงประชาชนคนไทยผู้ใช้งานบนระบบApplication LINE กว่า44 ล้านคนเชื่อมโยงข้อมูลกระบวนการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ทั้ง3 ระบบงานในลักษณะAPI เชื่อมโยงข้อมูลทั้งสำนักงานคปภ. ส่วนกลางและสำนักงานคปภ. ภาค/เขต/จังหวัดทั่วประเทศ มาตรการที่4 การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการระงับข้อพิพาทด้านการประกันภัยเพื่อคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของผู้บริโภคโดยสำนักงานคปภ. ได้จัดสัมมนาผู้ไกล่เกลี่ยและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาทักษะและถอดบทเรียนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้านการประกันภัยการจัดอบรมความรู้เกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้านการประกันภัยและการดำเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยผู้ชำนาญการสัญจรเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในส่วนสำคัญที่เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ขั้นตอนและวิธีการ ไกล่เกลี่ย มาตรการที่5 การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการประกันภัยให้เข้าถึงประชาชนรวมถึงให้ประชาชนเข้าใจถึงสิทธิที่พึงมีในด้านประกันภัย