บีซีพีจีต่อยอดเศรษฐกิจหมุนเวียนติดตั้งโซลาร์ลอยน้ำให้พิพิธภัณฑ์ประมง
เป็นอาคารใช้พลังงานสุทธิเป็นศูนย์(Net Zero Energy Building) แห่งแรกของโลกและเป็นแหล่งทดลองเพื่อประโยชน์ในการใช้นวัตกรรมแผงโซลาร์ลอยน้ำในประเทศไทย
จากผู้นำด้านธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกด้วยการดำเนินการและลงทุนในโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์พลังงานลมพลังงานความร้อนใต้พิภพและพลังน้ำในประเทศไทยญี่ปุ่นฟิลิปปินส์อินโดนีเซียและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวบริษัทบีซีพีจีจำกัด(มหาชน) ยังให้ความสำคัญกับการนำนวัตกรรมมาพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการด้านพลังงาน(energy as a service) เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป
นายบัณฑิต สะเพียรชัย กรรมการผู้จัดการใหญ่บีซีพีจี เปิดเผยว่านอกจากบีซีพีจีได้ให้ความสำคัญกับการผลิตพลังงานสะอาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแล้วบีซีพีจียังคำนึงถึงการใช้พลังงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดโดยการนำเทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการพลังงานอาทิเทคโนโลยีBlockchain, AI, IoT ฯลฯเพื่อให้ไฟฟ้าทุกหน่วยที่ผลิตได้มีการนำไปใช้ประโยชน์สูงสุดไม่มีเหลือทิ้งให้สูญเปล่าตามแนวคิด“เศรษฐกิจหมุนเวียน” (Circular Economy) มาอย่างต่อเนื่อง อาทิโครงการT77 ที่บีซีพีจีได้นำเทคโนโลยีบล็อคเชนมาบริหารจัดการพลังงานสร้างปรากฏการณ์เปลี่ยน“Consumer” เป็น“Prosumer” จนได้รับความสนใจไปทั่วโลกโครงการSmart University มหาวิทยาลัยเชียงใหม่โครงการที่เราเข้าไปบริหารจัดการด้านโครงสร้างพื้นฐานและพลังงานอัจฉริยะทำให้ทุกคนในโครงการมีอิสระในการผลิตใช้และแลกเปลี่ยนพลังงานส่วนเกินทุกหน่วยอย่างเต็มศักยภาพและมีประสิทธิภาพเป็นต้น
ล่าสุดบีซีพีจีได้ติดตั้งโซลาร์ลอยน้ำกำลังการผลิต39.5 กิโลวัตต์ให้กับพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาประมงคณะประมงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์หนึ่งในพิพิธภัณฑ์ที่ทรงคุณค่าของไทยซึ่งภายในพิพิธภัณฑ์จะใช้ไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดที่ผลิตจากโซลาร์ลอยน้ำทั้งหมดทำให้อาคารพิพิธภัณฑ์แห่งนี้เป็นแห่งแรกของโลกที่ใช้พลังงานสุทธิเป็นศูนย์(Net Zero Energy Building) และเนื่องจากเป็นอาคารประหยัดพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จึงมีพอให้ส่งต่อไปยังอาคารใกล้เคียงไม่มีการเหลือทิ้งให้สูญเปล่า
บีซีพีจีติดตั้งโซลาร์ลอยน้ำให้กับพิพิธภัณฑ์ฯในบ่อน้ำพื้นที่10 ไร่ ทำให้มีการใช้พื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพและประการสำคัญเราตั้งใจให้ที่นี่เป็นแหล่งเรียนรู้ในการทดลองโซลาร์ลอยน้ำบนสภาพพื้นที่ที่ใกล้เคียงหนองบึงส่วนใหญ่ของไทยมากที่สุดทำให้สามารถนำไปประยุกต์หรือถ่ายทอดต่อยอดได้ง่ายอีกทั้งที่คณะประมงยังมีการศึกษาวิจัยด้านเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดใต้แผงโซลาร์ลอยน้ำและเก็บข้อมูลคุณภาพน้ำอย่างต่อเนื่องข้อมูลที่ได้จึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการใช้นวัตกรรมแผงโซลาร์ลอยน้ำในประเทศไทยสำหรับการทำเกษตรกรรมหรือกสิกรรมในอนาคต