กรมสมเด็จพระเทพ ติดตามความก้าวหน้าการพัฒนาพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์

กรมสมเด็จพระเทพฯ ติดตามความก้าวหน้าการพัฒนาพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ พร้อมพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันวิทยสิริเมธี และโรงเรียนกำเนิดวิทย์ ประจำปีการศึกษา 2563

วันนี้ (16 พฤศจิกายน 2564) - สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปยังวังจันทร์วัลเลย์ พระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันวิทยสิริเมธี ประจำปี 2563 จำนวน 17 คน แบ่งเป็นระดับปริญญาเอกจำนวน 13 ราย และระดับปริญญาโท จำนวน 4ราย และพระราชทานทุนการศึกษา “ศรีเมธี”ให้กับนิสิตที่มีผลการเรียนดีเยี่ยมจากสถาบันฯ จำนวน 6 ราย รวมทั้งพระราชทานประกาศนียบัตรแก่ผู้แทนนักเรียนโรงเรียนกำเนิดวิทย์ที่สำเร็จการศึกษา รุ่นที่ 4 โดยมี นายชาญนะ เอี่ยมแสง ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง นายอานันท์ ปันยารชุน ประธานที่ปรึกษานโยบายสถาบันวิทยสิริเมธี นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร นายกสภาสถาบันสถาบันวิทยสิริเมธี  ดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์ ประธานกรรมการ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท. และคณะผู้บริหารจาก กลุ่ม ปตท. ร่วมกับผู้บริหารสถาบันวิทยสิริเมธี และโรงเรียนกำเนิดวิทย์ เฝ้าฯ รับเสด็จ  ณ ตำบลป่ายุบใน อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง

นายอรรถพล เปิดเผยว่า กลุ่ม ปตท. มุ่งพัฒนาพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมให้แก่ทุกภาคส่วนของประเทศ โดยตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ จึงร่วมกันจัดตั้งโรงเรียนกำเนิดวิทย์ (KVIS) ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และสถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) ระดับบัณฑิตศึกษา(ปริญญาโทและปริญญาเอก) ขึ้นเมื่อปี พ.ศ 2558 

สถาบันวิทยสิริเมธี เป็นสถาบันการศึกษาที่มุ่งเน้นการสร้างนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ผ่านการเรียน การสอนแบบบูรณาการ เพื่อให้นิสิตสามารถทำงานวิจัยเชิงลึก สร้างองค์ความรู้ใหม่ที่เป็นงานวิจัยชั้นแนวหน้าในระดับสากล โดยปัจจุบันมีนักศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอก (หลักสูตรนานาชาติ) เปิดสอนใน 4 สำนักวิชา ได้แก่ 1. สำนักวิชาวิทยาการโมเลกุล 2. สำนักวิชาวิทยาการพลังงาน สนับสนุนโดยกลุ่ม ปตท. 3. สำนักวิชาวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมชีวโมเลกุล  ซึ่งได้รับการสนับสนุนการจัดตั้งโดยธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) และ 4. สำนักวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้รับการสนับสนุนการจัดตั้งโดยธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) นอกจากนี้ยังมีศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นแนวหน้า (Frontier Research CenterFRC) ที่เป็นกลไกสนับสนุนการดำเนินงานวิจัย  

บัณฑิตผู้สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2563 ทำหน้าที่เป็นวิทยาศาสตร์ นักวิจัย วิศวกร และตำแหน่ง  อื่น ๆ ที่สำคัญของบริษัทในกลุ่ม ปตท. และบริษัทเอกชนชั้นแนวหน้าของไทยและต่างชาติ ทั้งนี้ VISTEC ผลิตผลงานวิจัยในด้าน Chemical Sciences คิดเป็นกว่าร้อยละ 53 ของผลงานวิจัยภายในประเทศ ซึ่งล้วนแต่เป็นผลงานมีความความโดดเด่นทั้งด้านคุณภาพ (High Quality) และด้านผลกระทบต่อวงการวิชาการ (High Impact Discoveries) ในระดับสูงทั้งสิ้น ทำให้สถาบันฯ ได้รับการจัดอันดับโดย Nature Index ขึ้นเป็นอันดับที่ 1 ของประเทศไทยในการสร้างสรรค์ผลงานวิจัย “ชั้นเลิศ” ทั้งในด้านเคมี (Chemistry) ด้านวิทยาศาสตร์กายภาพ (Life Sciences) และด้านวิทยาศาสตร์แบบรวมทุกสาขา (All Sciences) และอันดับที่ 3 ของกลุ่มประเทศอาเซียนในด้านเคมี (Chemistry) อีกด้วย (โดยอันดับที่ 1 และ 2 เป็นมหาวิทยาลัยจากประเทศสิงคโปร์) ข้อมูล ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564

สำหรับโรงเรียนกำเนิดวิทย์นักเรียนที่สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2563 มีจำนวน 76 คน สามารถเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยชั้นนำต่างประเทศ จำนวน 22 คน ศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัย ชั้นนำในประเทศ 54 คน ปัจจุบัน โรงเรียนได้เปิดดำเนินการมาแล้วเป็นเวลา ปี มีนักเรียนสำเร็จการศึกษาไปแล้ว รุ่น รวม 280 คนโดยไปศึกษาต่อทางด้านสะเต็มศึกษาในมหาวิทยาลัยชั้นนำทั้งในและต่างประเทศจำนวน 174 คน และได้รับทุนไปศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุด 100 ลำดับแรกของโลกจำนวน 83 คนนอกจากนี้ ยังมีผลงานวิจัยที่ได้ขอจดอนุสิทธิบัตรจำนวน เรื่อง จดสิทธิบัตรจำนวน เรื่อง และตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการจำนวน 11 เรื่อง

จากนั้น ได้ทอดพระเนตรนิทรรศการแสดงผลงานของโรงเรียน และทรงวางพวงมาลัยถวายสักการะ พระพุทธมหาปารมีนุภาพพิสุทธิ์อนุตตรสังคามวิชัย ซึ่งเป็นพระพุทธรูปประจำโรงเรียน และทรงปลูกต้นพระศรีมหาโพธิ์ ณ หอพระโรงเรียนกำเนิดวิทย์ ที่มูลนิธิพลังที่ยั่งยืนได้สนับสนุนการก่อสร้าง เพื่อเป็นที่สักการะ และยึดเหนี่ยวจิตใจของนักเรียน ครู และบุคลากร

ต่อมา สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพฯ เสด็จพระราชดำเนินไปเป็นประธานในพิธีเปิดอาคารเมธีสโมสร (Faculty Center) เป็นอาคารขนาด 3 ชั้น ได้รับการสนับสนุนการก่อสร้างจาก บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) และกลุ่ม ปตท. เพื่อใช้เป็นที่พักอาศัยของคณาจารย์ รวมถึงเป็นพื้นที่ส่วนกลางในการพบปะ พูดคุย จัดกิจกรรมร่วมกัน เพื่อให้เกิดการต่อยอดทางความคิด หรืองานวิจัยในรูปแบบผสมผสานระหว่างองค์ความรู้ อีกทั้งยังเป็นพื้นที่สำหรับการจัดแสดงผลงานที่น่าสนใจอีกด้วย

จากนั้นทรงทอดพระเนตรผลงานด้านวิชาการและงานวิจัยของสถาบันวิทยสิริเมธี ที่สอดคล้องกับกลุ่มเทคโนโลยีและอุตสาหกรรม บริเวณ Science Hall อาทิ งานวิจัยวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ชั้นแนวหน้าเพื่ออนาคตสีเขียวที่ยั่งยืน งานวิจัยชีววิทยาสังเคราะห์และตัวเร่งปฏิกิริยาชีวภาพสำหรับการสร้างนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนแพลตฟอร์มปัญญาประดิษฐ์สำหรับการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงอุตสาหกรรม และนวัตกรรมแบตเตอรี่พลังงานสูงสำหรับห่วงโซ่คุณค่าในตลาดยานยนต์ไฟฟ้าแห่งอนาคต 

และทรงเสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานในพิธีเปิดอาคารศูนย์วิจัยพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ปตท.สผ. หรือ PTIC(PTTEP Technology and Innovation Centerในโอกาสนี้ นายไกรฤทธิ์ อุชุกานนท์ชัย ประธานกรรมการ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)(ปตท.สผ.) พร้อมด้วย นายมนตรี ลาวัลย์ชัยกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และคณะผู้บริหารเฝ้ารับเสด็จ และถวายรายงานเกี่ยวกับการจัดตั้งศูนย์วิจัยพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ปตท.สผ. (PTIC) ตลอดจนการดำเนินงานเพื่อพัฒนาให้เป็นสถานที่รองรับการขยายผลงานวิจัยสู่การพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีต้นแบบ การทดสอบการใช้งาน และต่อยอดเพื่อการใช้ประโยชน์ได้จริงในภาคอุตสาหกรรมต่อไป

ศูนย์วิจัยพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ปตท.สผ. ก่อตั้งขึ้นบนพื้นที่กว่า 44 ไร่ ณ วังจันทร์วัลเลย์ เพื่อดำเนินกิจกรรมด้านการวิจัย พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อใช้ประโยชน์จริงในเชิงพาณิชย์ ทั้งในอุตสาหกรรมพลังงานและอุตสาหกรรมอื่น ๆ การพัฒนาบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยี และการส่งเสริมความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา สถาบันวิจัย และหน่วยงานในเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor of Innovation หรือ EECi)โดยภายในศูนย์วิจัยฯ ประกอบไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกและอุปกรณ์ที่ทันสมัย เพื่อให้นักวิจัยสามารถประเมินประสิทธิภาพ ปรับปรุงแก้ไขผลงาน ก่อนนำไปใช้งานจริง อาทิ อาคารทดสอบต้นแบบ (Pilot Area Building)สนามทดสอบอากาศยานไร้คนขับ (UAV Test Field) ลานจอดเฮลิคอปเตอร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม (Exploration and Production Research Facility) ศูนย์ฝึกอบรม ตลอดจนพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการ ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีอุปกรณ์และเมืองอัจฉริยะ (Smart FacilityCity Technology Research Facility) ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Technology Research Facility) ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีพลังงานทางเลือก (Future Energy Technology Research Center) และศูนย์ความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม (Joint Industry Collaboration Center) ที่พร้อมสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาร่วมกับองค์กรภาครัฐ เอกชน เอสเอ็มอี และสตาร์ทอัพ และส่งเสริมให้พันธมิตรสามารถใช้ประโยชน์จาก PTIC เพื่อร่วมผลักดันนวัตกรรมแห่งอนาคตไปด้วยกัน

สำหรับพื้นที่ “วังจันทร์วัลเลย์” เป็นฐานที่ตั้งสำคัญของ EECi มุ่งยกระดับขีดความสามารถในการวิจัย พัฒนา และนวัตกรรมให้แก่ทุกภาคส่วนของประเทศ รองรับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เพื่อให้ประเทศไทยสามารถสร้างห่วงโซ่มูลค่าทางเศรษฐกิจ ทั้งในภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตร และภาคบริการ ลดปัญหาความเหลื่อมล้ำ และนำไปสู่การเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของประชาชน แบ่งออกเป็นพื้นที่เพื่อการศึกษา (Education Zone) พื้นที่เพื่อการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม (Innovation Zone) และพื้นที่เพื่ออำนวยความสะดวก ที่พักอาศัยและสันทนาการ (Community Zone) ที่มีระบบนิเวศนวัตกรรมที่เป็นเลิศ จึงนับได้ว่าวังจันทร์วัลเลย์เป็นพื้นที่ที่มีความพร้อมในการพัฒนาสู่เมืองอัจฉริยะ หรือ Smart City ของประเทศไทย