EXIM BANK ออกมาตรการของขวัญปีใหม่ช่วยSMEs แบกรับต้นทุนลดภาระหนี้
เข้าถึงเงินทุนปรับปรุงกิจการส่งออกรองรับความผันผวนเศรษฐกิจโลกปี2563
นายพิศิษฐ์ เสรีวิวัฒนา กรรมการผู้จัดการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย(EXIM BANK) เปิดเผยว่าจากภาวะเศรษฐกิจโลกและการค้าโลกที่ขยายตัวต่ำสุดในรอบ10 ปีอยู่ที่3.0% และ1.1% ตามลำดับในปี2562 เงินเฟ้อและดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำอย่างต่อเนื่องทั่วโลกทำให้การค้าขายไปต่างประเทศประความยากลำบากประกอบกับคู่แข่งมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นจากการที่ประเทศตลาดใหม่สร้างฐานการผลิตได้เองหรือมีแรงงานผันตัวเป็นผู้ประกอบการมากขึ้นรวมทั้งการค้าทางออนไลน์ทำได้ง่ายขึ้นทำให้ผู้ส่งออกต้องแบกรับต้นทุนในการดำเนินกิจการและยังมีต้นทุนเพิ่มขึ้นในการต้องปรับปรุงคุณภาพสินค้าและบริการให้ได้มาตรฐานสากลที่มีข้อกำหนดเพิ่มมากขึ้นให้สามารถแข่งขันได้ท่ามกลางความเสี่ยงที่เพิ่มสูงขึ้นจากควEXIM BANK จึงออก“มาตรการEXIM เสริมสภาพคล่องผู้ส่งออก” และ“มาตรการEXIM ลดภาระในการชำระหนี้”เพื่อช่วยผู้ส่งออกSMEs ทั้งลูกค้าใหม่และลูกค้าปัจจุบันของEXIM BANK ในทุสภาพคล่องมากขึ้นสำหรับนำไปใช้ในกิจการและได้รับการบรรเทาภาระในการชำระหนี้ในภาวะที่อาจได้รับคำสั่งซื้อลดลงแต่ยังคงมีภาระของต้นทุนคงที่ที่กิจการต้องจ่ายทุกเดือนหรือเมื่อมีคำสั่งซื้อเข้ามาก็สามารถนำมาเบิกใช้สินเชื่อหมุนเวียนได้รวมทั้งใช้ในการปรับปรุงสินค้าและบริการให้มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นพร้อมที่จะแข่งขันท่ามกลางตลาดโลกที่ยังมีความไม่แน่นอนสูงในปี2563
มาตรการEXIM เสริมสภาพคล่องผู้ส่งออกช่วยให้ผู้ประกอบการSMEs ที่เป็นผู้ส่งออกผู้นำเข้าเพื่อผู้ผลิตในการส่งออกและผู้ผลิตเพื่อผู้ส่งออกสามารถเลือกได้ที่จะใช้วงเงินกู้ระยะยาวหรือวงเงินกู้ระยะสั้นสำหรับนำไปลดภาระการชำระหนี้และเพิ่มสภาพคล่องกิจการให้มีเงินทุนหมุนเวียนสำหรับดำเนินธุรกิจส่งออกหรือปรับปรุงเครื่องจักรโรงงานเทคโนโลยีการผลิตเป็นต้นวงเงินสูงสุด20 ล้านบาทต่อรายระยะเวลาชำระคืนสูงสุด7 ปีอัตราดอกเบี้ยปีที่1-2 เท่ากับ3.99% ต่อปีสามารถใช้หนังสือค้ำประกันของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม(บสย.) เป็นหลักประกันร่วมกับหลักประกันอื่นๆได้ฟรีค่าธรรมเนียมการค้ำประกันสินเชื่อผ่านบสย. สูงสุด4 ปีเป้าหมายวงเงินอนุมัติ2,000 ล้านบาท
มาตรการEXIM ลดภาระในการชำระหนี้เพื่อช่วยเหลือลูกค้าSMEs ของEXIM BANK ที่ยังไม่ต้องการวงเงินเพิ่มแต่ต้องการลดภาระในการผ่อนชำระหนี้รายงวดที่มีกับEXIM BANK ทั้งเงินกู้ยืมระยะยาวและเงินกู้ยืมระยะสั้นโดยลูกค้าที่มีวงเงินกู้ยืมระยะยาวจะขยายระยะเวลาผ่อนชำระเงินกู้ได้สูงสุดไม่เกิน2 ปีกรณีขยายระยะเวลาผ่อนชำระเงินกู้ไม่เกิน1 ปีจะได้รับอัตราดอกเบี้ยลดลงจากเดิม0.125% ต่อปีส่วนลูกค้าที่มีวงเงินกู้ยืมระยะสั้นจะได้รับการเพิ่มสัดส่วนการเบิกกู้และลดอัตราดอกเบี้ยโดยเบิกกู้ได้เพิ่มสูงสุด95% ของมูลค่าL/C และ85% ของมูลค่าP/O พร้อมลดอัตราดอกเบี้ยลง0.125% ต่อปีเป็นระยะเวลา1 ปีมีวงเงินสนับสนุน4,000 ล้านบาท
ทั้งสองมาตรการเริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคม2562 ถึง31 ธันวาคม2563 คาดว่าจะช่วยอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจได้ราว15,700 ล้านบาทช่วยให้เกิดการจ้างงานในระบบ5,200 รายเพิ่มสภาพคล่องและบรรเทาภาระหนี้ของผู้ส่งออกSMEs ได้กว่า750 รายช่วยให้ผู้ประกอบการSMEs ในห่วงโซ่มูลค่าการส่งออก(Export Value Chain) ได้รับการบรรเทาภาระหนี้และต้นทุนการดำเนินกิจการรวมทั้งใช้โอกาสนี้ปรับปรุงสินค้าและบริการเพื่อให้การส่งออกแข่งขันได้ดีขึ้นในอนาคต
กรรมการผู้จัดการEXIM BANK เปิดเผยว่าปัจจุบันที่การส่งออกของประเทศในหลายภูมิภาคทั่วโลกมีทิศทางหดตัวตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอลงและผลพวงจากสงครามการค้าการส่งออกของไทยปี2562 ก็มีแนวโน้มจะหดตัวครั้งแรกในรอบ4 ปีโดยคาดว่าจะหดตัว2.0% แต่การส่งออกของไทยยังได้รับผลกระทบน้อยกว่าอีกหลายประเทศอาทิเกาหลีใต้ที่ตั้งแต่ต้นปี2562 หดตัว10.7% อินโดนีเซียหดตัว7.8% มาเลเซียหดตัว5.0% ญี่ปุ่นหดตัว4.6% และคาดว่าการส่งออกของไทยในปี2563 น่าจะกลับมาขยายตัวได้อีกครั้งที่0-2% EXIM BANK จึงได้ออกมาตรการในปลายปี2562 นี้เพื่อช่วยให้ผู้ส่งออกไทยโดยเฉพาะSMEs ซึ่งเป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจและภาคการส่งออกยังคงมีสภาพคล่องเพียงพอที่จะประคองกิจการและไม่หยุดพัฒนากิจการให้เติบโตยิ่งขึ้นสามารถแข่งขันได้ภายใต้มาตรการทางการค้าต่างๆที่เพิ่มมากขึ้นและเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้ภาคการส่งออกไทยกลับมาฟื้นตัวอีกครั้งในปี2563 โดยอาศัยจุดแข็ง3 ประการได้แก่1. ศักยภาพของสินค้าไทยที่ทนต่อแรงเสียดทานจากความไม่แน่นอนได้ดีทั้งสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปที่ได้มาตรฐานสากลและสินค้าที่ตอบสนองเมกะเทรนด์โลกรองรับพฤติกรรมผู้บริโภคสมัยใหม่ในแต่ละช่วงวัยได้อาทิสินค้าเครื่องสำอางเครื่องประดับเครื่องมือแพทย์เภสัชภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและรถจักรยานยนต์2. การกระจายตลาดปัจจุบันผู้ส่งออกไทยสร้างสมดุลการส่งออกไปตลาดการค้าเดิมและตลาดใหม่ได้ดีทำให้สินค้าไทยบางรายการได้อานิสงส์จากการแทนที่สินค้าจีนอาทิผลิตภัณฑ์ยางเครื่องนุ่งห่มเครื่องใช้ไฟฟ้าและของใช้ในครัวเรือนขณะที่สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอาหารของไทยสามารถเข้าตลาดญี่ปุ่นได้มากขึ้นรวมทั้งเพื่อรองรับการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกของญี่ปุ่นในปี2563 ขณะเดียวกันไทยก็มีสัดส่วนการส่งออกประมาณ50% ไปตลาดใหม่อาทิอินเดียเวียดนามฮังการีโปแลนด์ไนจีเรียโมร็อกโกและเม็กซิโกรองรับการเติบโตของเศรษฐกิจที่ขยายตัวกว่า5% ผู้บริโภคโดยเฉพาะวัยหนุ่มสาวมีกำลังซื้อมากขึ้นและยังมีความต้องการสินค้าไทยอีกมากในตลาดเหล่านี้3. การลงทุนเพื่อสร้างห่วงโซ่มูลค่าใหม่ๆเพื่อส่งออกมากขึ้นซึ่งปัจจุบันการลงทุนของต่างชาติในไทยและการลงทุนของนักลงทุนไทยเพิ่มสูงขึ้นโดยเฉพาะในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก(Eastern Economic Corridor : EEC) ซึ่งให้สิทธิประโยชน์ทั้งด้านภาษีและไม่ใช่ภาษีแก่นักลงทุนทำให้สินค้าส่งออกของไทยมีมูลค่าหรือนวัตกรรมเพิ่มมากขึ้นรวมทั้งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว
“EXIM BANK ออกมาตรการของขวัญปีใหม่ในครั้งนี้เพื่อเร่งเยียวยาความเดือดร้อนของผู้ส่งออกโดยเฉพาะSMEs ที่มีจำนวนมากและเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในภาวะที่เศรษฐกิจโลกซบเซาเพื่อช่วยให้ภาคเอกชนดำเนินธุรกิจได้อย่างไม่สะดุดไม่สั่นคลอนจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ซบเซาจนกระทบการจ้างงานส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจภาคครัวเรือนของไทยขณะเดียวกันก็เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาการผลิตและส่งออกสินค้าหรือบริการของไทยตลอดทั้งห่วงโซ่มูลค่าให้ได้มาตรฐานสากลนำไปสู่การเติบโตของภาคธุรกิจSMEs ที่แข่งขันได้มากขึ้นตามเทรนด์และทิศทางการค้าโลกมีส่วนแบ่งการตลาดที่มั่นคงและสร้างโอกาสใหม่ๆทางธุรกิจได้มากขึ้นเป็นฐานรากที่เข้มแข็งของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทยอย่างยั่งยืน” นายพิศิษฐ์กล่าว