BEAUTY เผยผลประกอบการงวด 9 เดือนปี 64 ขาดทุนลด 41.6%
มองไตรมาส 4/64 ธุรกิจทยอยฟื้น
เดินหน้าปรับโครงสร้าง กระจายสินค้า
BEAUTY เผยผลประกอบการงวด
9 เดือน ปี 64 รายได้รวม 294.5 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิ 72.3 ล้านบาท ลดลง 41.6%
มองไตรมาส 4/64 ส่งสัญญาณดี เริ่มมีปัจจัยหนุน ไฮซีซั่นธุรกิจ นโยบายเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยว
กระตุ้นกำลังซื้อ เดินหน้าแผนธุรกิจฝ่าวิกฤตโควิด-19 พัฒนาโมเดลขายและขยายช่องทางจำหน่าย
พร้อมรักษากระแสเงินสดในเกณฑ์ดี ลดต้นทุน ควบคุมค่าใช้จ่ายต่อเนื่อง
นพ.สุวิน
ไกรภูเบศ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บิวตี้ คอมมูนิตี้ จำกัด (มหาชน) (BEAUTY) ผู้นำธุรกิจค้าปลีกผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง
ผลิตภัณฑ์เพื่อความงาม สุขภาพและบำรุงผิวด้วยแนวคิด Live a beautiful life เปิดเผยว่า ผลประกอบการงวด 9 เดือนปี 64 บริษัทมีรายได้รวม 294.5 ล้านบาท ลดลง 50.3% จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีรายได้รวมอยู่ที่ 592.7 ล้านบาท
ขาดทุนสุทธิ 72.3 ล้านบาท ขาดทุนลดลง 41.6%
จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ขาดทุนสุทธิ 123.8% ล้านบาท
เป็นผลจากการลดค่าใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นไปตามนโยบายปรับโครงสร้างธุรกิจ
ลดต้นทุน ควบคุมค่าใช้จ่าย โดยงวด 9 เดือน มีค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น226.2 ล้านบาท ลดลง 49.3% จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 446.2 ล้านบาท
ขณะที่ ผลประกอบการไตรมาส 3/64 บริษัทมีรายได้รวม
75.4 ล้านบาท ลดลง 61.0% จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีรายได้รวม
193.5 ล้านบาท และลดลง 7.8% จากไตรมาส 2/64
ที่มีรายได้รวม 81.7 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิ 22.0
ล้านบาท ลดลง 37.4% จากไตรมาส 2/64 ที่มีขาดทุนสุทธิ 35.2 ล้านบาท และลดลง 3.2% จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีขาดทุนสุทธิ 22.8 ล้านบาท โดยมีสัดส่วนรายได้มาจากต่างประเทศ 37% ตลาดในประเทศ 63%
ผลขาดทุนดังกล่าว ประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการปรับโครงสร้างธุรกิจ
ซึ่งเป็นการจ่ายครั้งเดียวที่ไม่เกิดขึ้นเป็นประจำ (Non-routine
expenses) จำนวน 5.5 ล้านบาท ประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายชดเชยพนักงานจากการปรับฐานกำลังคน
5.4 ล้านบาท าที่ไม่มีประสิทธิภาพในการทำกำไร
0.1 ล้านบาท ขณะที่ผลขาดทุนจากการดำเนินงานอยู่ที่
16.5 ล้านบาท
สำหรับรายได้ของบริษัทที่ปรับตัวลดลง เนื่องจากทุกช่องทางการจำหน่ายของบริษัทได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 อย่างต่อเนื่องยาวนาน โดยตลาดในประเทศ ช่องทางร้านค้าปลีกยอดขายลดลงจำนวนลูกค้าในห้างน้อยลงอย่างมาก
ผู้บริโภคจับจ่ายใช้สอยลดลง นักท่องเที่ยวลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ
ช่องทางสินค้าอุปโภค (consumer product ) ไม่ว่าจะเป็น โมเดิร์นเทรด ซึ่งเป็นการจำหน่ายผ่าน ไฮเปอร์มาร์เก็ต ซุปเปอร์มาร์เก็ต
คอนวีเนียนสโตร์ เช่น บิ๊กซี โลตัส ท๊อป
วัตสัน CJ Express 7-11 เป็นต้น และเจอร์เนอร์รัลเทรด เป็นการกระจายสินค้าผ่านตัวแทนจำหน่ายไปสู่ร้านค้าปลีกในระดับอำเภอ
ได้รับผลกระทบ ความคล่องตัวในการติดต่อประสานงาน การเจรจาทางการค้าลดลง ส่งผลให้การกระจายสินค้าไปถึงผู้บริโภคล่าช้าอย่างมาก
ประกอบกับผู้บริโภคจับจ่ายใช้สอยลดลง เพราะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19
เช่นกั
ขณะที่ตลาดต่างประเทศทั้ง 11 ประเทศ
ได้รับผลกระทบทั้งหมดโดยเฉพาะตลาดจีน กลุ่มลูกค้าในประเทศจีนเปลี่ยนพฤติกรรมซื้อสินค้าออนไลน์ที่เป็นสินค้าจีนมากขึ้น
และเข้มงวดการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาขายมากขึ้น ประกอบกับสถานการณ์โควิด-19
ส่งผลกระทบการท่องเที่ยวต่างประเทศ ทำให้ตัวแทนจำหน่ายของบริษัทต้องกลับมาทำการตลาดใหม่อีกครั้ง
อย่างไรก็ตามภาพรวมของอัตรากำไรขั้นต้นในไตรมาส 3/64 อยู่ที่ 43.5% ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาส 2/64 อยู่ที่ 31.9% เนื่องจากการปรับโครงสร้างบริหารจัดการ
เพิ่มประสิทธิภาพธุรกิจ ลดค่าใช้จ่ายอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการตั้งค่าเผื่อสินค้าเสื่อมสภาพ (Stock
Provision) และค่าใช้จ่ายจากการปิดสาขาที่ลดลง
นายแพทย์สุวิน กล่าวถึงแนวโน้มธุรกิจในช่วงไตรมาส 4/64 ว่า ระบบการค้าในประเทศยังคงได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19
แต่น่าจะมีสัญญาณดีขึ้น ในลักษณะค่อยๆฟื้นตัว
จากนโยบายการเปิดประเทศ รับนักท่องเที่ยว เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและกำลังซื้อ
ประกอบกับเป็นช่วงไฮซีซั่นธุรกิจ
สำหรับแนวโน้มตลาดต่างประเทศ ในประเทศจีนคาดว่าคำสั่งซื้อมีแนวโน้มการฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป
เข้าสู่ช่วงเทศกาลโปรโมชั่น 11 เดือน 11 รวมทั้งยังมีการพัฒนาโมเดลการขายในต่างประเทศใหม่
“Product License” เพื่อความสะดวกในการพัฒนาสินค้าใหม่ และการบริหารจัดการในประเทศจีน
ทั้งนี้บริษัทติดตามสถานการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจอย่างใกล้ชิด เพื่อรับมือวิกฤตดังกล่าวและเตรียมความพร้อมรับมือกับกำลังซื้อที่คาดว่าจะค่อยๆทยอยฟื้นตัว
โดยยังคงมุ่งเน้นปรับกลยุทธ์และแผนธุรกิจตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง ประกอบด้วย 1.ปรับโครงสร้างบริหารจัดการ เพิ่มประสิทธิภาพธุรกิจ (Re-structure)
2. พัฒนาโมเดลธุรกิจใหม่ (Re-model) 3. ขยายช่องทางการจำหน่ายที่มีการขยายตัวสูง
(Re-new)
มุ่งเน้นขยายช่องทางจำหน่ายที่มีโอกาสขยายตัว
สามารถเข้าถึงฐานลูกค้าได้กว้างขึ้น ไม่จำกัดเฉพาะการเปิดสาขาร้านค้าปลีก
เพื่อเพิ่มสัดส่วนรายได้จากฐานลูกค้าในประเทศ และสามารถสร้างตลาดที่ครอบคลุมในระยะยาว
อาทิ ช่องทางสินค้าอุปโภค (Consumer Product) กลุ่มสินค้า Fast Moving Consumer Goods ( FMCG ) ผ่านผู้ค้าส่งเครื่องสำอางรายใหญ่ในแต่ละภูมิภาค
(Local Distributor) โดยปัจจุบันแต่งตั้งเรียบร้อยแล้วจำนวน 13
รายมีเครือข่ายครอบคลุมทั่วประเทศ ตั้งเป้าวางจำหน่าย 16,696
ร้านค้า
“ในปีนี้บริษัทมุ่งเน้นการปรับโครงสร้างธุรกิจ
ลดต้นทุน ควบคุมค่าใช้จ่าย อย่างต่อเนื่อง พร้อมรักษาสภาพคล่องกระแสเงินสดในเกณฑ์ดี
เพื่อรองรับสถานการณ์และสภาพตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป และเตรียมพัฒนาโมเดลธุรกิจใหม่
คาดว่าหากสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 เริ่มปรับตัวดีขึ้น โครงสร้างธุรกิจใหม่และแผนงานที่เตรียมไว้จะส่งผลดีกับผลประกอบการของบริษัทในอนาคต”
นายแพทย์สุวิน กล่าว