บ้านปูจัดตั้งคณะกรรมการ ESG ยกระดับกระบวนการพัฒนาความยั่งยืน

บ้านปูจัดตั้งคณะกรรมการ ESG ยกระดับกระบวนการพัฒนาความยั่งยืน
ตอกย้ำจุดยืน “Smarter Energy for Sustainability

 

บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชนผู้นำธุรกิจด้านพลังงานที่หลากหลายในระดับนานาชาติ จัดตั้งคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการ (Environmental, Social and Governance: ESG) อย่างเป็นทางการ ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน ควบคู่ไปกับการสร้างคุณค่าและความไว้วางใจให้กับผู้มีส่วนได้เสียและสังคมอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนตอบสนองความต้องการด้านพลังงานแห่งอนาคตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเข้าถึงได้ และมีความชาญฉลาดด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล สอดรับกับเทรนด์ 3Ds ของโลก(Decarbonization Decentralization และDigitalization) ด้วยจุดยืนที่จะส่งมอบ Smarter Energy for Sustainability: อนาคตพลังงานเพื่อความยั่งยืน ให้แก่ผู้มีส่วนได้เสีย พร้อมตั้งเป้าหมายทางธุรกิจให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ของสหประชาชาติ7 ข้อ โดยมุ่งให้ความสำคัญในประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะเรื่องพลังงานและก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับการดำเนินธุรกิจรวมถึงประเด็นด้านการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ และการให้ความร่วมมือเพื่อพิชิตเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

คณะกรรมการสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการ (ESG) มีหน้าที่ในการสนับสนุนคณะกรรมการบริษัทในการกำกับดูแลเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ ESG เช่น อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สิทธิมนุษยชน ชุมชน ความรับผิดชอบต่อสังคม ฯลฯ โดยคณะกรรมการ ESG จะคอยให้คำแนะนำในด้านกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้อง,พิจารณานโยบาย เป้าหมาย การดำเนินงานและผลลัพธ์, ตรวจสอบและติดตามการบริหารความเสี่ยงด้าน ESG และการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย, ตลอดจนดูแลเรื่องการเปิดเผยข้อมูล ESG ที่สำคัญออกสู่สาธารณะ รวมทั้งปฏิบัติหน้าอื่นๆ ร่วมกับคณะผู้บริหารบริษัทฯ เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนการดำเนินงานด้าน ESGให้เป็นไปตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิผลสูงสุด 

นายพิริยะ เข็มพล ประธานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการ บริษัทบ้านปู จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “การดำเนินงานด้าน ESG เป็นสิ่งที่บ้านปูได้มีความตระหนักรู้และหยั่งรากลึกในองค์กรมายาวนาน และได้ดำเนินกิจการด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมตามหลักความยั่งยืนมาโดยตลอด การจัดตั้งคณะกรรมการ ESG สะท้อนให้เห็นถึงการให้ความสำคัญในการส่งเสริมให้เกิดการกำกับดูแล เพื่อช่วยให้ภารกิจสู่การบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนมีความชัดเจนและเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น โดยในปัจจุบันประเทศต่างๆ เริ่มมีแนวนโยบายใหม่ๆ ด้าน ESG มากขึ้น และยังมีประเด็นที่หลากหลาย เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก (Climate Change) ความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity) การตอบสนองต่อภัยพิบัติ และการพัฒนาพนักงาน ดังนั้น คณะกรรมการ ESG ะเป็นตัวแทนของบอร์ดบ้านปู
ที่ทำหน้าที่เสมือนเป็นเรดาร์จับทิศทาง และร่วมมือกับฝ่ายบริหารในการขับเคลื่อนองค์กรไปในทิศทาง
ที่เหมาะสม โดคณะกรรมการ ESG จะเป็นกรรมการอิสระที่มีความรู้ความสามารถในหลายด้าน จึงสามารถนำเสนอข้อคิดเห็นและมุมมองที่มีความเป็นกลางและเป็นประโยชน์แก่ผู้บริหารส่งผลให้เกิดการทำงานแบบส่งเสริมซึ่งกันและกัน สร้างสมดุลระหว่างผลประกอบการที่ดีและความรับผิดชอบต่อเป้าหมาย ESG อย่างเหมาะสม เพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัทฯ และผู้ถือหุ้นตลอดจนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว” 

ในช่วงเปลี่ยนผ่านทางธุรกิจของบ้านปูในฐานะผู้นำด้านพลังงานที่หลากหลายในระดับนานาชาติ (International Versatile Energy Provider) บริษัทฯ ให้ความสำคัญด้าน ESG ควบคู่ไปด้วยอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนมีการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับความท้าทายและการเปลี่ยนแปลงของโลกแห่งอนาคต โดยได้วางกรอบการดำเนินงานและมุ่งให้ความสำคัญในประเด็นที่สอดคล้องกับทิศทาง ESG และการประเมิความเสี่ยงระยะสั้นและระยะยาวของโลก โดยในด้านสิ่งแวดล้อม (E) บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับประเด็นการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การจัดการพลังงานและน้ำ และการจัดการมลพิษทางอากาศ ในด้านสังคม (S) มุ่งเน้นเรื่องการจัดการและพัฒนาศักยภาพของพนักงาน การจัดการด้านความปลอดภัยและ
อาชีวอนามัย การทำงานชุมชนสัมพันธ์ และการพัฒนาชุมชน และด้านการกำกับดูแลกิจการ(G) มุ่งเน้นประเด็นการกำกับดูแลกิจการอย่างยั่งยืน การดูแลจริยธรรมทางธุรกิจ การจัดการคู่ค้าและผู้รับเหมา 
การบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ และการจัดการความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและความปลอดภัยทาง
ไซเบอร์ (Data Privacy & Cybersecurity) โดยมีตัวอย่างการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรมดังนี้

• ด้านสิ่งแวดล้อม (E) บ้านปูดำเนินธุรกิจด้วยกลยุทธ์ Greener Smarter เพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ(Climate Change) ทั้งการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก การลงทุนในพลังงานหมุนเวียนและพลังงานเชื้อเพลิงที่สะอาดขึ้นและการสร้างธุรกิจใหม่ๆ ที่ตอบสนองแนวโน้มและความต้องการพลังงานแห่งโลกอนาคต โดยบ้านปูได้วางเป้าหมายว่าภายในปี 2568 EBITDA มากกว่าร้อยละ 50 จะมาจากธุรกิจพลังงานที่สะอาดขึ้นและเทคโนโลยีพลังงาน นอกจากนี้ ยังมีการดำเนินโครงการด้านความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) ซึ่งเป็นโครงการะยะยาวในเหมืองที่อินโดนีเซียอีกด้วย
• ด้านสังคม (S) : บ้านปูมีวัฒนธรรมองค์กรBanpu Heart ที่เชื่อมโยงและหลอมรวมพนักงานจากหลากหลายเชื้อชาติและต่างวัฒนธรรมใน 10 ประเทศที่บ้านปูดำเนินธุรกิจ ให้สามารถร่วมแรงร่วมใจกันทำงานสู่การบรรลุเป้าหมายเพื่อความยั่งยืนตามหลัก ESG และการดำเนินโครงการเพื่อสังคมต่างๆ ทั้งในด้านการส่งเสริมการศึกษา การช่วยเหลือสังคมและชุมชนในภาวะวิกฤตและในยามเกิดภัยพิบัติ โดยนับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทยบ้านปูได้ร่วมมือกับกลุ่มมิตรผลในการจัดตั้งกองทุนมิตรผล-บ้านปู รวมใจช่วยไทย สู้ภัยCOVID-19’ เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 โดยปัจจุบันกองทุนฯ มีมูลค่ารวม 1,000 ล้านบาท
• ด้านการกำกับดูแลกิจการ (G) : บ้านปูมีทีมงาน Incident Management Team หรือ IMT ในการบริหารจัดการในสภาวะวิกฤตทำให้การดูแลความปลอดภัยของพนักงานและการดำเนินธุรกิจโดยในช่วงสถานการณ์โควิด-19  ที่ผ่านมาเป็นไปได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ และได้มีการจัดตั้งหน่วยงาน Digital Center of Excellence (DCOE) เพื่อขับเคลื่อนบ้านปูให้พร้อมเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล (Digital Transformation) โดยนำนวัตกรรม เทคโนโลยี และแนวคิดแบบดิจิทัลที่ทันสมัยมาใช้อย่างชาญฉลาดทั่วทั้งองค์กร ควบคู่ไปกับการทำงานรูปแบบใหม่ที่รวดเร็วและคล่องตัว "Agile Working" มากขึ้น เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการทำงานในทุกส่วน รวมทั้งก่อให้เกิดการพัฒนาสินค้าและบริการที่ตอบโจทย์ให้กับลูกค้าทั้งภาคธุรกิจ (B2B) รายย่อย (B2C) และรัฐบาล (B2G) ได้ดียิ่งขึ้น

จากการดำเนินธุรกิจตามหลัก ESG ของบ้านปูอย่างต่อเนื่อง ทำให้บ้านปูได้รับการยอมรับให้เป็นหนึ่งในผู้นำด้านความยั่งยืนจากองค์กรชั้นนำทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ อาทิการรักษาสถานะสมาชิกกลุ่มดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ (Dow Jones Sustainability Indices: DJSI) ต่อเนื่องเป็นปีที่ การรักษาตำแหน่งGold Class” ในกลุ่มอุตสาหกรรม Coal & Consumable Fuels จากการประกาศผลรางวัลSAM Sustainability Award 2021 รวมถึงได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในระดับ A (ตามเกณฑ์วัดAAA ถึง CCC) ในการประเมินความยั่งยืน ESG Ratings โดย MSCI ในปี 2562 และล่าสุดได้รับการคัดเลือกให้เป็นหนึ่งใน 100 บริษัทในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ (Emerging Markets) ที่มีความโดดเด่นด้าน ESG ในภาคอุตสาหกรรมเหมืองแร่และโลหะ จากการจัดอันดับโดย VigeoEiris (V.E), Moody’s ESG Solutions