เอสซีจี แถลงผลประกอบการไตรมาส 3 ปี 2564 ชูกลยุทธ์ ESG ดันพลังงานทดแทน สู้ต้นทุนพลังงานพุ่ง และเงินเฟ้อ

เอสซีจี แถลงผลประกอบการไตรมาส 3 ปี 2564  

ชูกลยุทธ์ ESG ดันพลังงานทดแทน สู้ต้นทุนพลังงานพุ่ง และเงินเฟ้อ

คว้าโอกาสหลังเปิดประเทศด้วยผลิตภัณฑ์รักษ์โลก สร้างการเติบโตระยะยาว

 

กรุงเทพฯ : 28 ตุลาคม 2564 – เอสซีจี เผยผลประกอบการไตรมาส ปี 2564 ธุรกิจยังมั่นคง แม้กำไรลดลงจากการปิดเมืองทั้งภูมิภาค ต้นทุนพลังงาน วัตถุดิบที่สูงขึ้นตามตลาดโลก ประกาศเดินหน้าสร้างการเติบโตระยะยาวด้วยกลยุทธ์ ESG (Environmental Social and Governance) มุ่งบริหารความเสี่ยงต้นทุนวัตถุดิบและเชื้อเพลิง 
เพิ่มสัดส่วนพลังงานทดแทนทั้งพลังงานชีวมวลและแสงอาทิตย์ รวมถึเตรียมความพร้อมรับมือภาวะเงินเฟ้อ
ที่อาจรุนแรงขึ้น คาดหลังเปิดประเทศตลาดจะคึกคัก เศรษฐกิจโลกฟื้น เตรียมคว้าโอกาสด้วยผลิตภัณฑ์รักษ์โลกและสุขอนามัยที่ดี อาทิ SCG Green Choice และ CPAC Green Solution พร้อมรุกธุรกิจผลิตวัตถุดิบสำหรับผลิตพลาสติกชีวภาพ เดินหน้าช่วยสังคมต่อเนื่อง ทั้งกระจายวัคซีนสู่ภาคใต้ด้วยขนส่งควบคุมความเย็น ช่วยน้ำท่วและสร้างอาชีพ

 

นายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี เปิดเผยว่า “งบการเงินรวมก่อนสอบทานของเอสซีจีในไตรมาสที่ 3 ประจำปี 2564 มีรายได้จากการขาย 131,825 ล้านบาท ลดลงร้อยละ จากไตรมาสก่อน และมีกำไรจากการดำเนินงานปกติ 9,066 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 47 จากไตรมาสก่อน จากส่วนต่างราคาสินค้าเคมีภัณฑ์และส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วมลดลง ทั้งนี้ หากรวมขาดทุนจากการด้อยค่าสินทรัพย์ของโรงงานซีเมนต์ในประเทศเมียนมา และกำไรจากการปรับมูลค่าเงินลงทุนเป็นมูลค่ายุติธรรม จะทำให้มีกำไรสำหรับงวด 6,817 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 60 จากไตรมาสก่อน

เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน รายได้จากการขาย เพิ่มขึ้นร้อยละ 31 จากราคาขายของสินค้าเคมีภัณฑ์เพิ่มขึ้น ขณะที่กำไรจากการดำเนินงานปกติ ลดลงร้อยละ 11 จากธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้างที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด 19 ระลอกใหม่ และการปิดเมืองทั้งภูมิภาค ทั้งนี้ หากรวมขาดทุนจากการด้อยค่าสินทรัพย์ และกำไรจากการปรับมูลค่าเงินลงทุนดังกล่าว จะมีกำไรสำหรับงวด ลดลงร้อยละ 30

 

สำหรับผลประกอบการ 9 เดือนของปี 2564 เอสซีจีมีรายได้จากการขาย 387,446 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 28 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน มีกำไรสำหรับงวด 38,867 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 49 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากส่วนต่างราคาสินค้าเคมีภัณฑ์และส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วมเพิ่มขึ้น

เอสซีจีมียอดขายสินค้าและบริการ HVA (High Value Added Product & Services - HVAในช่วง เดือนของปี 2564 อยู่ที่ 133,504 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 34 ของยอดขายรวม ทั้งนี้ ยังมีสัดส่วนของการพัฒนาสินค้าใหม่ (New Products Development – NPD) และ Service Solution คิดเป็นร้อยละ 15 และ ของรายได้จากการขายรวม

นอกจากนี้ ยังมีรายได้จากการดำเนินธุรกิจในต่างประเทศ รวมการส่งออกจากประเทศไทย ใน 9 เดือนของ  ปี 2564 ทั้งสิ้น 174,487 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 45 ของยอดขายรวม เพิ่มขึ้นร้อยละ 35 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน 

สินทรัพย์รวมของเอสซีจี ณ วันที่ 30 กันยายน 2564มีมูลค่า 850,339 ล้านบาท โดยร้อยละ 44 
เป็นสินทรัพย์ในอาเซียน

 

 

 

ผลการดำเนินงานในไตรมาสที่ 3 และ 9 เดือนของปี 2564 แยกตามรายธุรกิจ ดังนี้

ธุรกิจเคมิคอลส์ ไตรมาสที่ 3 ปี 2564 มีรายได้จากการขาย 60,060 ล้านบาท ลดลงร้อยละ จากไตรมาสก่อน
และเพิ่มขึ้นร้อยละ 59 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากราคาขายสินค้าและปริมขายที่สูงขึ้น มีกำไรสำหรับงวด 5,210 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 50 จากไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากส่วนต่างราคาสินค้าที่ลดลง  

สำหรับผลประกอบการ 9 เดือนของปี 2564 ธุรกิจเคมิคอลส์มีรายได้จากการขาย 172,407 ล้านบาท เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 56 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน มีกำไรสำหรับงวด 24,431 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 107 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ากส่วนต่างราคาสินค้าและส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วมที่เพิ่มขึ้น

 

ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง ไตรมาสที่ 3 ปี 2564 มีรายได้จากการขาย 44,059 ล้านบาท ลดลงร้อยละ จากไตรมาสก่อน แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากยอดการส่งออกสินค้าไปยังตลาดอื่นๆ นอกอาเซียนและความต้องการสินค้าผลิตภัณฑ์ก่อสร้างภายในประเทศที่เพิ่มขึ้น โดยมีกำไรจากการดำเนินงานปกติ 1,199 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 47 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สาเหตุหลักจากการแพร่ระบาดของโควิด 19 ระลอกใหม่ และการปิดเมืองทั้งภูมิภาค 
ทั้งนี้ หากรวมขาดทุนจาการด้อยค่าสินทรัพย์โรงงานซีเมนต์ในประเทศเมียนมา จะมีขาดทุนสำหรับงวด 2,400 ล้านบาท

 

สำหรับผลประกอบการ 9 เดือนของปี 2564 ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้างมีรายได้จากการขาย 136,660    ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน มีกำไรจากการดำเนินงานปกติ 6,476 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 16     จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ หากรวมขาดทุนจากการด้อยค่าสินทรัพย์ดังกล่าว จะมีกำไรสำหรับงวด 2,877 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 57จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

 

เอสซีจีพี ในไตรมาสที่ 3 ปี 2564 มีรายได้จากการขาย 31,930 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7 จากไตรมาสก่อน 
และเพิ่มขึ้นร้อยละ 37 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการขยายธุรกิจแบบร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจ(Merger and Partnership หรือ M&P) และการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรคระบาดในอินโดนีเซีย ส่งผลให้ความต้องการสินค้าขยายตัว โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค และอิเล็คทรอนิกส์ มีกำไรสำหรับงวด 1,781 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 21 จากไตรมาสก่อน สาเหตุหลักมาจากต้นทุนที่สูงขึ้น ในขณะที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 33 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน 

สำหรับผลประกอบการ เดือนแรกของปี 2564 เอสซีจีพี มีรายได้จากการขาย 89,078 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 29 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีกำไรสำหรับงวด 6,179 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 24 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน                จากความต้องการซื้อในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค อาหารเครื่องดื่ม และสินค้าเพื่อสุขอนามัย ที่ยังสามารถเติบโตได้ 
ประกอบกับการขยายธุรกิจทั้งแบบ Organic Expansion และ M&P ทั้งนี้ การที่บริษัทมีฐานการผลิตในหลายประเทศ และผลิตสินค้าเพื่อตอบสนองลูกค้าในหลายอุตสาหกรรม ทำให้สามารถกระจายความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากความไม่แน่นอนของปัจจัยภายนอกได้ดี

 

นายรุ่งโรจน์กล่าวว่า “สถานะทางการเงินของเอสซีจียังแข็งแกร่ แม้ว่ากำไรลดลง จากการปิดประเทศทั้งภูมิภาค ต้นทุนพลังงานและวัตถุดิบสูงขึ้ เอสซีจี ได้เร่งดำเนินกลยุทธ์ตามแนวทาง ESG (Environmental, Social and Governance) เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับต้นทุนพลังงาน และวัตถุดิบที่อาจเพิ่มสูงขึ้นอีก รวมถึงภาวะเงินเฟ้อที่คาดว่าจะรุนแรงขึ้นในอนาคต โดยเร่งบริหารจัดการความเสี่ยงด้วยการทำสัญญาซื้อขายพลังงานล่วงหน้า การเลือกใช้วัตถุดิบที่เหมาะสมกับสถานการณ์ตลาดและเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทน (Alternative Energy) ทั้งนี้ ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2564 
มีสัดส่วนการใช้พลังงานชีวมวล (Biomass) จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและเชื้อเพลิงจากขยะ RDF เท่ากับร้อยละ 12   (โดยเฉพาะในธุรกิจซีเมนต์ มีการใช้พลังงานชีวมวลและเชื้อเพลิง RDF ถึงร้อยละ 25) และพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Energyเท่ากับร้อยละ หรือ 77,744 เมกะวัตต์-ชั่วโมง 

 

อย่างไรก็ดี เชื่อว่าภายหลังการเปิดประเทศ กำลังการซื้อจะเริ่มกลับมา เพราะภาคธุรกิจและประชาชนจะสามารถ ปรับตัวในการอยู่กับร่วมโควิด 19 ได้เช่นเดียวกับหลายประเทศ นับเป็นสัญญาณที่ดีต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศและเศรษฐกิจโลก ซึ่งเอสซีจี ได้เตรียมคว้าโอกาสสร้างการเติบโตระยะยาวด้วยผลิตภัณฑ์รักษ์โลกและสุขอนามัย 
อาทิ ผลิตภัณฑ์ SCG Green Choice ที่ลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ช่วยประหยัดพลังงานและส่งเสริมสุขอนามัยที่ดี 
CPAC Green Solution ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพิ่มความรวดเร็ว ลดปัญหาฝุ่น ของเสียในงานก่อสร้าง นอกจากนี้ ยังคงเดินหน้าสู่ธุรกิจด้านสิ่งแวดล้อม อาทิ ธุรกิจผลิตวัตถุดิบสำหรับผลิตพลาสติกชีวภาพ เป็นต้น 

 

ธุรกิจเคมิคอลส์ มุ่งสู่การเป็น “ธุรกิจปิโตรเคมีเพื่อความยั่งยืน” โดยดำเนินโครงการอนุรักษ์พลังงาน 
และเร่งขยายธุรกิจด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนที่ตลาดมีการเติบโตสูงอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดได้ลงนาม MOU กับ Braskem เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการร่วมทุนสร้างโรงงานผลิตไบโอ-เอทิลีนในประเทศไทย เพื่อตอบโจทย์ความต้องการพลาสติกชีวภาพ ส่วนความคืบหน้าการลงนามในสัญญาซื้อหุ้นบริษัทซีพลาสต์ (Sirplasteผู้นำด้านพลาสติกรีไซเคิลในประเทศโปรตุเกส คาดว่าจะสามารถโอนหุ้นได้แล้วเสร็จภายในสิ้นปีนี้