EXIM BANK เปิดบริการใหม่ “สินเชื่อสนับสนุนผู้ซื้อแฟรนไชส์ไทย/เชนไทย”ดันแบรนด์ไทยสู่ตลาดโลก

EXIM BANK พัฒนาบริการใหม่สินเชื่อเพื่อสนับสนุนผู้ซื้อแฟรนไชส์ไทย/เชนไทย” ผลักดันการส่งออกสินค้าและบริการภายใต้แบรนด์และเชนไทยสู่ตลาดโลกโดยเฉพาะCLMV

นายพิศิษฐ์ เสรีวิวัฒนากรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย(EXIM BANK) กล่าวในงานสัมมนา“ พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ไทยก้าวสู่สากล” จัดโดยEXIM BANK ร่วมกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์โรงแรมอนันตราสยามกรุงเทพฯ

ปัจจุบันแฟรนไชส์แบรนด์ไทยในต่างประเทศมีจำนวน49 แบรนด์ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจบริการอาหารและเครื่องดื่มรองลงมาเป็นการศึกษาและนวดสปาโดย80% ของแฟรนไชส์ไทยขยายเข้าสู่ตลาดCLMV (กัมพูชาสปปลาวเมียนมาและเวียดนามเป็นผลจากความได้เปรียบของไทยที่มีความคล้ายคลึงทางสังคมและวัฒนธรรมทำให้ผู้ประกอบการไทยสามารถพัฒนาธุรกิจบริการตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคในแถบนี้ได้ดีประกอบกับCLMV มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจค่อนข้างดีส่งผลให้ประชากรมีรายได้ต่อหัวต่อปีและกำลังซื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องคาดว่าในช่วงปีนับจากนี้เศรษฐกิจCLMV จะขยายตัวเฉลี่ยกว่า6% ต่อปีสูงกว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกเกือบเท่าตัวกำลังซื้อของประชากรในCLMV จะเพิ่มขึ้นอีก30% ในปี2560 ขณะที่การผลิตสินค้าและบริการภายในประเทศยังไม่เพียงพอต่อความต้องการทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพกรรมการผู้จัดการEXIM BANK กล่าวว่าจากโอกาสทางธุรกิจของแฟรนไชส์ไทยที่ยังขยายตัวได้อีกมากในตลาดต่างประเทศEXIM BANK จึงได้พัฒนาบริการใหม่“ สินเชื่อเพื่อสนับสนุนผู้ซื้อแฟรนไชส์ไทยเชนไทย(Loan for Thai Franchise / Thai Chain Buyers)” เป็นวงเงินสินเชื่อระยะยาวที่มีระยะเวลากู้ยืมไม่เกินระยะเวลาของสัญญาซื้อขายแฟรนไชส์เชนอัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำสกุลดอลลาร์สหรัฐเท่ากับLIBOR + 3. 50% ต่อปีหรือสกุลบาทเท่ากับPrime Rate ต่อปี(ปัจจุบันอยู่ที่6. 125% ต่อปีหลักประกันพิจารณาตามความเหมาะสมมีเป้าหมายวงเงินอนุมัติรวม800 ล้านบาทเพื่อสนับสนุนเงินทุนแก่ผู้ประกอบการที่ต้องการซื้อแฟรนไชส์ไทยไปเปิดให้บริการในต่างประเทศหรือว่าจ้างเชนไทยในการดำเนินธุรกิจในต่างประเทศนายพิศิษฐ์กล่าวต่อไปว่าการขยายตลาดแฟรนไชส์ไทยในต่างประเทศผู้ประกอบการต้องพัฒนาธุรกิจและบริการภายใต้แบรนด์ของไทยให้ตอบสนองความต้องการใหม่จากไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนแปลงไปในตลาดต่างๆได้กล่าวคือสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคและนักธุรกิจรุ่นใหม่ทั้งที่เป็นคนท้องถิ่นและชาวต่างชาติที่เข้าไปทำงานในCLMV รวมถึงนักท่องเที่ยวต่างชาติซึ่งคาดหวังบริการที่ดีและได้มาตรฐานศึกษาโอกาสและกฎระเบียบที่แตกต่างกันไปในแต่ละตลาดดำเนินธุรกิจอย่างรอบคอบตั้งแต่ขั้นตอนการกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าการคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์ที่น่าเชื่อถือและมีความตั้งใจจริงในการทำธุรกิจรวมทั้งมีความเข้าใจในระบบแฟรนไชส์ขณะเดียวกันต้องบริหารซัพพลายเชนของตนเองให้แข็งแกร่งสามารถบริหารจัดการต้นทุนด้านวัตถุดิบบรรจุภัณฑ์การแปรรูปสินค้าและโลจิสติกส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ“ การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์ในCLMV เป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ประกอบการไทยโดยอาศัยความได้เปรียบจากความรู้จักคุ้นเคยสินค้าแบรนด์ไทยจากสื่อต่างๆที่ผู้บริโภคในCLMV ติดตามข่าวสารอยู่เป็นประจำและใช้ความได้เปรียบด้านทำเลที่ตั้งบริหารจัดการธุรกิจอย่างใกล้ชิดสร้างชื่อเสียงของสินค้าและบริการของไทยที่มีคุณภาพได้มาตรฐานสากลในราคาที่ผู้ซื้อจับต้องได้โดยมีสำนักงานผู้แทนEXIM BANK ในCLM (กัมพูชาสปปลาวและเมียนมาร่วมกับภาครัฐและเอกชนภายใต้ทีมไทยแลนด์สนับสนุนให้ผู้ประกอบการไทยขยายธุรกิจแฟรนไชส์ได้มากขึ้นจากปัจจุบันที่ดำเนินธุรกิจอยู่ในประเทศไทยจำนวนกว่า584 กิจการและมีสาขากว่า100, 000 สาขาทั่วประเทศ” นายพิศิษฐ์กล่าว