วิจัยกรุงศรีชี้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีได้แรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม

วิจัยกรุงศรีระบุว่าจากการประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ 19 ตุลาคม รัฐบาลได้อนุมัติการใช้เงินกู้จากพ...กู้เงิน 5 แสนล้านบาท วงเงิน 54,506 ล้านบาทสำหรับมาตรการเพิ่มกำลังซื้อในช่วงเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม ผ่านโครงการสำคัญ ดังนี้ (i) วงเงิน 42,000 ล้านบาท ในโครงการคนละครึ่งระยะที่ 3 โดยเพิ่ม G-Wallet ให้อีกคนละ1,500 บาท รวมแล้วผู้เข้าร่วมโครงการนี้จะได้ 4,500 บาทต่อคน (ii) วงเงิน 3,000 ล้านบาท ในโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ โดยสนับสนุน E-Voucher เพิ่มเป็นไม่เกิน 10,000 บาท จากการใช้จ่ายสูงสุด 80,000 บาทต่อคน (เดิมให้E-Voucher 7,000 บาท จากการใช้จ่ายสูงสุด 60,000 บาทต่อคนและ (iii) วงเงิน 9,506 ล้านบาท ในโครงการช่วยเหลือค่าครองชีพผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและกลุ่มเปราะบาง โดยสนับสนุนให้เงินช่วยเหลือเพิ่มเติมอีกเดือนละ 300 บาท จากปกติได้ 200 บาท เป็น 500 บาทต่อคน เป็นเวลา 2 เดือน

8328B72D-CC6E-44DB-8DA8-6C19FD191DA5.jpg

 

แม้ทางการมีนโยบายเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติโดยไม่ต้องกักตัว พร้อมยกเลิกเคอร์ฟิวพื้นที่นำร่องเที่ยว 17 จังหวัด รวมกรุงเทพมหานคร ในต้นเดือนพฤศจิกายนนี้ ล่าสุดอนุญาตแล้ว 46 ประเทศ แต่คาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติจะยังไม่ได้เข้ามาทันทีทันใด เนื่องจากยังมีหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางมา อาทิ นโยบายของประเทศต้นทางที่ยังกำหนดให้ไทยเป็นพื้นที่เสี่ยงมีการระบาดสูง อาจต้องกักตัวเมื่อกลับประเทศ จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ของไทยยังทรงตัวในระดับสูง และความกังวลการกลายพันธุ์ของไวรัสซึ่งอาจส่งผลต่อความเชื่อมั่น ทั้งนี้ วิจัยกรุงศรีคาดว่ากิจกรรมท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศในสิ้นปีนี้จะยังอยู่ต่ำกว่าระดับช่วงก่อนเกิดวิกฤต COVID-19 อยู่ที่ 58% ซึ่งต่ำมากเมื่อเทียบกับกิจกรรมทางด้านผลผลิตภาคอุตสาหกรรมและการค้าปลีกที่สิ้นปีนี้จะกลับมาอยู่ที่ 95% และ 92% ของระดับก่อนเกิดวิกฤต COVID-19 ตามลำดับ มาตรการเพิ่มกำลังซื้อของภาครัฐจึงเป็นปัจจัยบวกที่จะช่วยหนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ยังมีความเปราะบาง และเมื่อรวมกับมาตรการที่ออกมาก่อนหน้าทั้งมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศ วงเงินกว่า 1 หมื่นล้านบาท กับมาตรการรักษาระดับการจ้างงานให้แก่ธุรกิจ SMEs วงเงิน 3.75 หมื่นล้านบาทแล้ว โดยรวมแล้วในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้จึงมีเม็ดเงินจากมาตรการภาครัฐหมุนเวียนเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจไม่ต่ำกว่า 1 แสนล้านบาท

E1E7D13A-1788-4E17-A95F-E6582FFB372C.jpg

 

ธปท.ผ่อนคลายมาตรการ LTV ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านภาคอสังหาริมทรัพย์ ในวันที่ 21 ตุลาคม ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปทประกาศผ่อนคลายหลักเกณฑ์การกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่ออื่นที่เกี่ยวเนื่องกับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (มาตรการ LTV) โดยกำหนดให้เพดานอัตราส่วนเงินให้สินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกัน (LTV ratio) เป็นร้อยละ 100 (กู้ได้เต็มมูลค่าหลักประกันสำหรับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (รวมสินเชื่ออื่นนอกเหนือจากเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยและมีที่อยู่อาศัยนั้นเป็นหลักประกันหรือสินเชื่อ Top-up แล้วทั้ง (i) กรณีมูลค่าหลักประกันต่ำกว่า 10 ล้านบาท ตั้งแต่สัญญากู้หลังที่ 2 เป็นต้นไป  และ (ii) กรณีมูลค่าหลักประกันตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป ตั้งแต่สัญญากู้หลังที่ 1 เป็นต้นไป ทั้งนี้ มีผลบังคับใช้ชั่วคราว สำหรับสัญญาเงินกู้ที่ทำสัญญาตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2564 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565

 

การผ่อนคลายมาตรการ LTV ดังกล่าว นับเป็นอีกหนึ่งมาตรการที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม โดยเน้นการดึงเงินออมส่วนเกิน (excess saving) ของผู้มีกำลังในการใช้จ่าย และสนับสนุนความต้องการซื้อที่อั้นไว้ให้กลับมาเพิ่มขึ้นได้เร็วขึ้น ผ่านการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ที่มีธุรกิจเกี่ยวเนื่องทั้งต้นน้ำและปลายน้ำอยู่จำนวนมาก  และเป็นภาคที่มีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจไทยคิดเป็นสัดส่วนราว 9.8% ของ GDP รวมถึงมีการจ้างงานอยู่กว่า 2.8 ล้านคน  เบื้องต้นธปท.ประเมินว่าในช่วงที่มาตรการ LTV มีผลบังคับใช้ผนวกกับมาตรการอื่นๆที่ทางการกำลังพิจารณาการต่ออายุ อาทิ การลดค่าโอน และค่าจดจำนองต่างๆ นั้นแล้ว อาจจะช่วยสร้างเม็ดเงินจากการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจได้ราว 5 หมื่นล้านบาท และจะช่วยให้ภาคอสังหาฯ ที่มีแนวโน้มฟื้นตัวได้ช้ากว่าเศรษฐกิจโดยรวม สามารถกลับมากระเตื้องขึ้นได้บ้าง