กรมป่าไม้ - องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ - กฟผ. ผนึกความร่วมมือพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าชุมชน

กรมป่าไม้ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ และ กฟผพร้อมเดินหน้ายกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ร่วมลงนาม MOU พัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าชุมชน บูรณาการองค์ความรู้ของทั้ง 3 องค์การ ผลักดันโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนแม่แจ่ม .เชียงใหม่ ให้เป็นต้นแบบของการดำเนินงานที่มุ่งขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของพลังงานของคนในชุมชนให้เกิดขึ้นจริง และสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้ยั่งยืน

นายอดิศร นุชดำรงค์ อธิบดีกรมป่าไม้ นายสุกิจ จันทร์ทอง รองผู้อำนวยการ รักษาการแทนผู้อำนวยการองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ และ ดร.จิราพร ศิริคำ รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าชุมชน เพื่อสนับสนุนองค์ความรู้ทางด้านวิชาการ และพื้นที่สำหรับการทดลองปลูกพืชพลังงาน ตลอดจนการดำเนินงานวิจัยต้นแบบเชิงธุรกิจโรงไฟฟ้าชุมชน อันนำไปสู่การส่งเสริมให้ชุมชนหันมาปลูกพืชพลังงาน เพิ่มพื้นที่สีเขียว ลดการทำการเกษตรพืชเชิงเดี่ยวซึ่งเป็นสาเหตุของมลภาวะ
ในอากาศ อีกทั้งเป็นการสร้างรายได้จากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เกิดการจ้างงาน และช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชนในพื้นที่

ดร.จิราพร ศิริคำ รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์ กฟผกล่าวว่า ปัจจุบัน กฟผอยู่ระหว่างดำเนินการศึกษาและพัฒนาโครงการวิจัยต้นแบบเชิงธุรกิจโรงไฟฟ้าชุมชนตามที่ได้รับมอบหมายจากกระทรวงพลังงาน จำนวน 2 แห่งได้แก่ โรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพ ขนาดกำลังการผลิต 3 เมกะวัตต์ ที่ .ทับสะแก .ประจวบคีรีขันธ์ และโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาดกำลังการผลิต 3 เมกะวัตต์ ที่ .แม่แจ่ม .เชียงใหม่ ตามแนวทางบูรณาการความมั่นคงด้านน้ำ อาหาร และพลังงาน โดยมุ่งเน้นที่การแก้ปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคมในพื้นที่ ซึ่งเป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากให้ยั่งยืน และเพื่อให้เป็นต้นแบบในการขยายผลไปยังพื้นที่ที่เหมาะสมต่อไปได้ในอนาคต โดยความร่วมมือจากทั้งกรมป่าไม้ และองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ครั้งนี้ จะเป็นการช่วยสนับสนุนข้อมูลองค์ความรู้และทรัพยากรต่าง  เพื่อให้การดำเนินงานสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี


นายอดิศร นุชดำรงค์ อธิบดีกรมป่าไม้ กล่าวถึง .แม่แจ่ม .เชียงใหม่ พื้นที่เป้าหมายในการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนของ กฟผว่า พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งมีชุมชนเข้าไปทำการเกษตรพืชเชิงเดี่ยวที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งสารเคมีตกค้างทางการเกษตร ปัญหาภัยแล้งอันเนื่องมาจากการบุกรุกทำลายป่า และมลพิษด้านอากาศจากการเผาเศษวัสดุทางการเกษตรที่เหลือใช้ ดังนั้น การมีโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนแม่แจ่ม นอกจากจะช่วยสร้างพลังงานไฟฟ้าให้กับชุมชนแล้ว ยังช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ได้อีกด้วย ทั้งจากการส่งเสริมปลูกไม้โตเร็วพืชพลังงาน การฟื้นฟูพื้นที่ต้นนำลำธาร ซึ่งล้วนส่งผลให้มีระบบนิเวศอุดมสมบูรณ์และสร้างความผาสุกให้แก่คนในชุมชนได้อย่างยั่งยืน

ด้านนายสุกิจ จันทร์ทอง รองผู้อำนวยการ รักษาการแทนผู้อำนวยการองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ กล่าวว่า โรงไฟฟ้าชุมชนแม่แจ่ม เป็นส่วนหนึ่งของโครงการศึกษาวิจัยต้นแบบเชิงธุรกิจโรงไฟฟ้าชุมชน ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินการวิจัยด้านพืชพลังงานสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี เพื่อเป็นต้นแบบการดำเนินงานให้กับโรงไฟฟ้าชุมชนในพื้นที่ต่าง  การสนับสนุนบุคลากร องค์ความรู้ และคำแนะนำเกี่ยวกับการปลูกไม้โตเร็วพืชพลังงาน รวมถึงให้การสนับสนุนพื้นที่สำหรับใช้ในการทดลองปลูก เพื่อศึกษาและคัดเลือกสายพันธุ์ที่เหมาะสม จึงนับเป็นการสนับสนุนที่จะช่วยให้บรรลุผลสำเร็จนี้ได้

ทั้งนี้ บันทึกข้อตกลงฯ ดังกล่าว มีระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี เป็นการบูรณาการความร่วมมือและความเชี่ยวชาญในแต่ละด้านของ 3 องค์การ ในการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนแม่แจ่ม เพื่อเป็นต้นแบบการดำเนินงานโรงไฟฟ้าชุมชนในพื้นที่ต่าง  ที่เหมาะสมของประเทศในอนาคต โดยชุมชนจะได้มีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของพลังงาน ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐที่พร้อมผลักดันและยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในทุกพื้นที่ให้ดีขึ้น