ภาพรวมเศรษฐกิจของไทย
ผมจะเริ่มจากมุมมองต่อสถานการณ์เศรษฐกิจของไทย และผลกระทบของโควิด-19 ดังที่ท่านทั้งหลายทราบอยู่ว่าเศรษฐกิจของไทยนั้นได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการระบาดของโควิด-19 เมื่อปีที่แล้วนั้น ประเทศไทยประสบความสำเร็จในการควบคุมการระบาด อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ของเราก็คล้ายคลึงกับหลายประเทศในภูมิภาคนี้ เมื่อสายพันธุ์เดลต้าที่สามารถระบาดได้รวดเร็วมาถึงก็ทำให้การควบคุมเป็นไปได้ลำบากขึ้น ส่งผลให้มีการติดต่อกันไปเป็นวงกว้างในระยะเวลาอันสั้น
รัฐบาลได้จัดสรรทรัพยากรที่มีเพื่ออยู่สนับสนุนระบบสาธารณสุขและผู้ปฏิบัติงานอย่างรวดเร็ว รวมทั้งนำเอามาตรการควบคุมต่าง ๆ กลับมาใช้อีกเพื่อป้องกันมิให้อัตราระบาด และอัตราการเสียชีวิตพุ่งขึ้นสูง และก็เป็นดังที่คาดการณ์ไว้ มาตรการควบคุมการระบาดทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจ และการเคลื่อนย้ายเดินทางของประชาชนลดน้อยลงไป ซึ่งทำให้การฟื้นตัวและอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของปี 2021 ชะงักงัน ด้วยเหตุดังนี้ กระทรวงการคลังได้ปรับลดคาดการณ์อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจในปี 2021 ลงเหลือร้อยละ 1.3 จากผลพวงของการระบาดระลอกล่าสุด ซึ่งเริ่มต้นในช่วงท้ายของไตรมาสสองในปีนี้
การปรับลดนี้สืบเนื่องมาจากผลกระทบที่เกิดกับภาคการท่องเที่ยว และการลดลงของกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การใช้จ่ายภายในประเทศที่ได้รับผลกระทบรุนแรงจากการระบาดของโควิด-19 อย่างไรก็ตาม โครงการต่าง ๆ ของรัฐบาลที่ออกมาเพื่อช่วยลดภาระของประชาชน อย่างเช่น โครงการคนละครึ่ง หรือ โครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ ได้ช่วยประคองสถานการณ์ของการบริโภคภายในประเทศเอาไว้ ซึ่งรัฐบาลก็จะดำเนินโครงการต่าง ๆ เหล่านี้ต่อเนื่องไป เพราะมีความสำคัญต่อสถานการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจในอนาคต
1/6
ในทางตรงกันข้าม การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้ารายใหญ่ของไทยส่งผลให้เกิดความต้องการสินค้าส่งออกของไทยมากขึ้น เราคาดว่าการส่งออกของสินค้าประเภทต่าง ๆ จะกลายมาเป็นปัจจัยหลักกระตุ้นเศรษฐกิจไทยภายในสิ้นปีนี้
ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2021 เราได้เห็นมูลค่าการส่งออกขายตัวเกือบร้อยละ 16 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว และการส่งออกของเดือนมิถุนายนก็ขยายตัวอย่างแข็งแกร่งถึงร้อยละ 44 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว อันเป็นการขยายตัวสูงที่สุดในรอบ 11 ปี นอกจากนี้เราก็ยังเห็นการขยายตัวในด้านการลงทุนภาคเอกชนในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ ซึ่งสะท้อนจากตัวเลขการนำเข้าสินค้าทุนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.5เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเช่นกัน
แม้ว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโตถึงร้อยละ 7.5 ในไตรมาสสองของปีนี้ แต่สภาพการณ์ทั่วไปของเศรษฐกิจก็ยังคงไม่แข็งแกร่งนัก โดยที่อัตราการเติบโตเทียบระหว่างสองไตรมาสนับตั้งแต่ต้นปีนี้มาอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าร้อยละ 1 การระบาดระลอกที่ 2 และ 3 ส่งผลให้การฟื้นตัวอาจจะใช้เวลานานกว่าที่คาดไว้ ทำให้หน่วยงานที่สำคัญต่าง ๆ ในประเทศพากันปรับลดคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจลง อย่างเช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย ปรับลดคาดการณ์ลงมาอยู่ทีร้อยละ 0.7สำหรับปีนี้ และร้อยละ 3.7 สำหรับการฟื้นตัวในปี 2022 ขณะที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติปรับลดคาดการณ์ปีนี้ลงมาอยู่ที่ร้อยละ 0.7 – 1.2 จากเดิมร้อยละ 1.5-2.5
สำหรับปี 2022 รัฐบาลจะทุ่มสรรพกำลังและทรัพยากรเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมทั้งการเปิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยใช้โมเดลภูเก็ต แซนด์บ๊อกซ์และสมุยพลัส ที่ตอนนี้ขยายไปครอบคลุมนักท่องเที่ยวจากจังหวัดอื่น ๆ ในภาคใต้ของไทย การระบาดที่ลดลงจะทำให้รัฐบาลสามารถหนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ร้อยละ 4.0 – 5.0 ได้ในปี 2022
นโยบายเศรษฐกิจต่าง ๆ เพื่อความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ
ท่านผู้มีเกียรติทั้งหลาย
ในช่วงต่อไป ผมขอกล่าวถึงนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ เมื่อโควิด-19 เริ่มระบาดเมื่อต้นปีที่แล้ว เราได้ออกมาตรการด้านการเงินอย่างรวดเร็วเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 รวมทั้งการจัดหาวัคซีนและเร่งการฉีดวัคซีนทั่วประเทศ
พระราชกฤษฎีกาเงินกู้สองฉบับที่มีมูลค่ารวม 1.5 ล้านล้านบาทได้รับการอนุมัติ โครงการต่าง ๆ ภายใต้เงินกู้ฉุกเฉินก้อนแรก 1 ล้านล้านบาทถูกใช้ไปเกือบหมดแล้ว ขณะที่โครงการภายใต้เงินกู้ก้อนที่ 2 จำนวน 500,000 ล้านบาทก็เริ่มต้นขึ้นแล้วและจะไปสิ้นสุดในปลายปีงบประมาณหน้า
ตัวอย่างของโครงการช่วยเหลือด้านการเงินที่กระทรวงการคลังได้ดำเนินการไปแล้ว ได้แก่
2/6
นอกจากนั้น ก็ยังมีโครงการที่ออกมาเมื่อเดือนที่แล้ว เพื่อช่วยเหลือแรงงานที่เป็นผู้ประกันตนภายใต้มาตรา 33, 39 และ 40 การช่วยเหลือยังรวมไปถึงนายจ้างเป็นบริษัทขนาดกลาง ขนาดเล็ก และรายย่อย ที่ว่าจ้างคนงานไม่เกิน 200 คน ส่วนนักเรียนและนักศึกษาก็ได้รับการช่วยเหลือทางด้านค่าเล่าเรียนเพื่อผ่อนเบาภาระของผู้ปกครองและตัวผู้เรียนเองด้วย และรัฐก็ยังมีโครงการช่วยจ่ายบางส่วนของค่าบริการสาธารณอย่างเช่น ค่าไฟฟ้า น้ำประปา เพื่อลดภาระของครัวเรือนอีกด้วย
ในส่วนของมาตรการด้านการเงิน กระทรวงการคลังได้ออกนโยบายให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจ เพื่อให้สถาบันการเงินเหล่านี้ร่วมมือกับธนาคารแห่งประเทศไทยในโครงการพักการชำระหนี้เป็นเวลาสองเดือนสำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs)
SMEs ได้รับผลกระทบอย่างมากจากมาตรการควบคุมการระบาด แต่ก็ได้รับการช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องจากรัฐบาล เนื่องจากบริษัทเหล่านี้เป็นกระดูกสันหลังของเศรษฐกิจของเรา โครงการด้านการเงินอื่น ๆ เพื่อประคองภาระหนี้ของทั้งครัวเรือนและบริษัทก็อย่างเช่น การอัดฉีดสภาพคล่องเข้าไปในระบบ ไม่ว่าจะเป็นในรูปของซอฟท์ โลน, การค้ำประกันสินเชื่อ, การพักหนี้, คลินิกแก้หนี้ รวมทั้งการไกล่เกลี่ยประนอมหนี้ และผมก็อยากจะใช้โอกาสนี้ชี้ว่าสถานภาพทางด้านการเงินของไทยนั้นยังคงแข็งแกร่ง แม้ว่ารัฐบาลจะมีโครงการกู้ยืมเป็นจำนวนเงินที่สูง แต่สัดส่วนของหนี้ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) นั้นยังคงอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ โดยอยู่ที่ร้อยละ 56.1 และกระทรวงการคลังก็คาดหมายว่าสัดส่วนหนี้ต่อ GDP นี้จะอยู่ต่ำกว่าร้อยละ 60 ในปลายปีงบประมาณนี้ อันเป็นผลมาจากการดำเนินนโยบายการคลังที่มีประสิทธิภาพ และการมีวินัยการคลังอันเข้มงวด
หากต่อไปมีความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มเพดานหนี้สาธารณะ คณะกรรมการนโยบายการเงิน ซึ่งตั้งขึ้นมาภายใต้พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐก็สามารถที่จะทบทวนเพื่อที่จะยกระดับเพดานดังกล่าวได้
นอกจากนี้ ผมอยากจะชี้ให้เห็นว่าเราสามารถที่จะคงวินัยทางด้านการเงินเอาไว้ได้แม้ในยามที่มีความจำเป็นจะต้องเพิ่มระดับของหนี้สาธารณะขึ้น อันเนื่องมาจากการที่เราสามารถคงการจ่ายดอกเบี้ยไว้ในอัตราที่ค่อนข้างต่ำ ซึ่งเป็นผลโดยตรงมาจากยุทธศาสตร์การกู้ยืมที่หลากหลายโดยผ่านตลาดพันธบัตรสกุลเงินท้องถิ่นที่สภาพคล่องสูง
ยิ่งไปกว่านั้น นโยบายผ่อนคลายทางการเงินทำให้บรรดาอัตราดอกเบี้ยต่าง ๆ นั้นอยู่ในระดับเป็นประวัติการณ์ และก็น่าจะคงอยู่ในระดับต่ำเช่นนี้ไปจนกว่าเศรษฐกิจของประเทศจะฟื้นตัวได้ การร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดระหว่างกระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทยจะยังคงดำเนินต่อไปเพื่อให้แน่ใจว่าจะมีสภาพคล่องเพียงพอสำหรับรัฐบาลจะดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่าง ๆ โดยไม่กระทบกับสถานะทางการเงินที่เข้มแข็งของประเทศ
และนี่เป็นเหตุผลว่าทำไมประเทศไทยจึงได้รับการประเมินในทางบวกจากบรรดาองค์กรจัดอันดับระหว่างประเทศต่าง ๆ ซึ่งได้แสดงความเชื่อมั่นทั้งในอันดับเครดิตเรตติ้งและภาพรวมของประเทศ
3/6
คาดการณ์ในระยะกลางและระยะยาว
ท่านผู้มีเกียรติทั้งหลาย
ขณะที่เรายังคงต่อสู้อยู่กับการระบาดของโควิด-19รัฐบาลก็ได้เตรียมการเพื่อจะเปิดเศรษฐกิจอีกครั้ง ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยกลับมามีความก้าวหน้าอีกครั้งเมื่อการระบาดนี้จบลง และโควิด-19 ก็ไม่ได้ทำให้เราเปลี่ยนเป้าหมายไปแต่อย่างใด แท้จริงแล้ว ทำให้เรามุ่งมั่นมากขึ้นเพื่อไปให้ถึงเป้าหมาย ซึ่งไม่ใช่แค่เพียงการเติบโตอย่างยั่งยืน แต่หมายรวมไปถึงการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วย
ขอให้ผมได้กล่าวถึงยุทธศาสตร์ที่เราได้วางไว้เพื่อเป็นรากฐานแห่งการเติบโตในระยะยาวของประเทศ
ประการแรก แก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำไม่เท่าเทียมโดยการสนับสนุนให้ทุกคนสามารถเข้าถึงโอกาสโดยถ้วนหน้า การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจากช่วงที่เกิดโรคระบาดนั้นอาจจะไม่เท่ากันในทุกภาค และยิ่งทำให้ปัญหาความไม่เท่าเทียมรุนแรงขึ้น ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลจึงให้คำมั่นว่าจะแก้ไขปัญหาความยากจน ในขณะเดียวกันก็สร้างการเข้าถึงโอกาสอย่างเท่าเทียมกันโดยผ่านมาตรการรองรับทางสังคมที่ทุกคนสามารถเข้าถึงและมีประสิทธิภาพ ยกตัวอย่างเช่น บัตรสวัสดิการสังคม ที่สามารถช่วยลดภาระการเงินของกลุ่มคนที่มีรายได้ต่ำ
ประการที่สอง ความต่อเนื่องของการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้ลงทุนในสาธารณูปโภคพื้นฐานหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ถนน, ทางรถไฟ, การบิน และพลังงาน โครงการเหล่านี้มีความสำคัญต่อความสามารถในการแข่งขันของไทยมาก และจะทำให้เราสามารถเชื่อมต่อกับภูมิภาคอาเซียนและภูมิภาคอื่น ๆ อย่างเข้มแข็งมากขึ้น
ยิ่งไปกว่านั้น เราได้ลงทรัพยากรหลากหลายไปยังเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ในฐานะที่เป็นตัวกระตุ้นนวัตกรรมและอุตสาหกรรมในอนาคต การเพิ่มแหล่งระดมทุนจากเดิมที่มีการกู้ยืมจากสถาบันการเงิน มาสู่การร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในกิจการของรัฐ PPP ก็สนับสนุนโครงการเหล่านี้ได้ดีมากขึ้น
ประการที่สาม ลดภาวะเรือนกระจกและหาวิธีแก้ไขปัญหาภาวะภูมิอากาศแปรปรวน รัฐบาลได้ตั้งเป้าหมายที่จะการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้มากที่สุดจนให้อาจถึงระดับเป็น 0 ภายในปี 2065 ซึ่งประเทศไทยก็ได้กำหนดแผนการดำเนินงานต่าง ๆ เพื่อให้ไปถึงเป้าหมาย อย่างเช่น ส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า, พลังงานทางเลือก, เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy), ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนในอุตสาหกรรม รวมทั้งการปลูกป่าให้กลับมาอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง การสนับสนุนทางด้านการเงินแก่อุตสาหกรรมสีเขียวในรูปแบบของพันธบัตรเพื่อการพัฒนายั่งยืน เพื่อให้สามารถสนับสนุนการต่อสู้กับภาวะโลกร้อนในระดับโลกได้
ประการที่สี่ สร้างความแข็งแกร่งให้กับอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการแข่งขัน เราจำเป็นจะต้องสนับสนุนอุตสาหกรรมของประเทศที่มีความแข็งแกร่งและมีศักยภาพอย่างมาก เช่น อุตสาหกรรมอาหาร ทั้งในแง่การพัฒนานวัตกรรมและกระบวนการการผลิต, การเป็นศูนย์กลางด้านการแพทย์, การเป็นศูนย์กลางโลจิสติก และการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน
4/6
ประการที่ห้า ส่งเสริมอุตสาหกรรมแห่งอนาคต ประเทศไทยควรจะปรับโครงสร้างและสนับสนุนอุตสาหกรรมใหม่ที่ตอบสนองกับความต้องการของประเทศอื่น ๆ ทั่วโลกได้ การพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย 13 ชนิดจะทำให้ผลผลิตแห่งชาติและรายได้ของประชาชนเพิ่มขึ้น ประเทศไทยมีเป้าหมายที่จะศูนย์กลางข้อมูลและดิจิทัล, อุตสาหกรรมเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ที่มีความฉลาด, และเทคโนโลยีชีวภาพ
ประการที่หก สร้างความเข้มแข็งและความสามารถการแข็งขันสำหรับธุรกิจรายย่อย (MSMEs) ภาคธุรกิจรายย่อยนั้นมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของเรา เพราะคิดเป็นร้อยละ 42 ของมูลค่า GDP ทั้งหมด รัฐบาลกำลังเดินหน้าส่งเสริมผู้ประกอบการรายใหม่ เปิดโอกาสให้เข้าถึงเม็ดเงินลงทุนได้ และสร้างโอกาสที่เข้าร่วมในการจัดซื้อของภาครัฐ
บทบาทและความคาดหมายของตลาดทุนในโลกหลังโควิด-19
ท่านผู้มีเกียรติทั้งหลาย
ต่อไปนี้ผมขอพูดถึงบทบาทของตลาดทุน
ตลาดทุนของไทยนั้นมีความสมดุลอย่างยิ่ง ไม่เพียงมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมพัฒนาเศรษฐกิจ และความสามารถใจการแข่งขันของประเทศ ยังทำให้เราสามารถที่จะจัดการกับสภาพเศรษฐกิจได้ดีขึ้น รวมไปถึงการดูดซับแรงกระแทกต่าง ๆ เมื่อมองไปข้างหน้า การส่งเสริมศักยภาพและประสิทธิภาพของตลาดทุนหลากหลายรูปแบบเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการทำให้เศรษฐกิจในห้วงเวลาหลังโควิด-19 กลับมาแข็งแกร่ง
ตลาดทุนของไทยในอนาคตควรจะมีลักษณะดังต่อไปนี้:
เหนือสิ่งอื่นใด ในโลกหลังโควิด-19 การขยายตัวทางเศรษฐกิจจะขับเคลื่อนโดยกลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ อย่างเช่น รถไฟฟ้า และเศรษฐกิจดิจิทัล ตลาดทุนจะมีบทบาทสำคัญในการระดมทุนสำหรับอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มสูงเหล่านี้ รวมทั้งให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่กลุ่มสตาร์ทอัพด้วย
ผมมีความยินดีที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้นำเสนอ LIVE อันเป็นแพลตฟอร์มสำหรับการระดมทุนของ SMEs และสตาร์ทอัพ และหวังว่าในอนาคต เราจะเห็นนวัตกรรมด้านการเงินมากขึ้นจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
5/6
บทสรุป
ท่านผู้มีเกียรติทั้งหลาย
เส้นทางข้างนั้นมิได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ หากเต็มไปด้วยความท้าทาย และความไม่แน่นอนนานัปการ แต่สิ่งหนึ่งที่เห็นเด่นชัดคือพันธสัญญาของรัฐบาลที่จะทำอย่างสุดกำลังเพื่อเอาชนะโรคระบาด ภายใต้ความร่วมมือของทุกภาคส่วน ผมเชื่อว่าเราจะสามารถมองไปในอนาคตแล้วเห็นโอกาสหลากหลายในทางเศรษฐกิจสำหรับทุกคน
ก่อนที่จะจบ ผมใคร่จะขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาร่วมในการสัมมนาวันนี้ ผู้ที่มาบรรยายในวันนี้นั้นล้วนแล้วแต่เป็นผู้ที่มีความสามารถยิ่ง พวกเขาจะนำเสนอมุมในเชิงลึกต่อแผนการของประเทศไทยในการก่อร่างสร้างอนาคตอันก้าวหน้าให้แก่ประเทศไทยในยุคหลังโควิด