ส่วนที่ 1: แนวโน้มเศรษฐกิจไทย
เศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการแพร่ระบาดของ Covid-19 และการฟื้นตัวของ เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มที่จะใช้เวลานาน (slow) และไม่เท่ากัน (uneven) ที่ไทยฟื้นตัวช้า เพราะพึ่งพาภาค การท่องเที่ยวที่เป็นภาคเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มฟื้นตัวช้าที่สุด และคาดว่ายังต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งกว่าการ กระจายวัคซีนของไทยจะทาได้ครอบคลุมประชากรส่วนมาก ส่วนการฟื้นตัวที่จะไม่เท่ากัน เห็นได้จากกิจกรรม ในภาคการส่งออกสินค้าที่ฟื้นกลับมาเหนือระดับก่อนการระบาดของ Covid-19 แล้ว ขณะที่ภาคบริการยังถูก กระทบรุนแรงต่อเนื่อง
แม้เศรษฐกิจไทยจะได้รับผลกระทบหนัก แต่เสถียรภาพโดยรวมของเศรษฐกิจไทยมีความมั่นคงมา ตลอดทาให้ความเสี่ยงที่จะเกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงมจี ากัด (limited downside risks) โดยความ เข้มแข็งของเศรษฐกิจไทย สะท้อนใน 3 ด้าน ได้แก่ 1) เสถียรภาพด้านต่างประเทศของไทยที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดี เนื่องจากไทยมีหนี้ต่างประเทศในระดับต่า ประกอบกับระดับเงินทุนสารองระหว่างประเทศยังสูงต่อเนื่อง 2) เสถียรภาพด้านสถาบันการเงิน โดยธนาคารพาณิชย์ยังมีงบการเงินที่เข็มแข็ง ช่วยให้ภาคธนาคารยัง สามารถรองรับผลกระทบทางเศรษฐกิจได้ (shock absorber) และ 3) เสถียรภาพด้านการคลังของประเทศ ไทยยังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยรัฐบาลไทยยังสามารถกู้เงินมาดูแลเศรษฐกิจได้ในอัตราดอกเบี้ยที่ต่า ซึ่งทั้งหมดนี้ สะท้อนให้เห็นถึงพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่เข้มแข็งและมั่นคง ซึ่งจะช่วยให้ประเทศไทยผ่านวิกฤติครั้งนี้ไปได้
ส่วนที่ 2: บทบาทของธนาคารแห่งประเทศไทยในวิกฤติครั้งนี้
ธปท. พร้อมที่จะดาเนินการทุกวิถีทางเพื่อให้เศรษฐกิจไทยผ่านพ้นวิกฤติครั้งนี้ไปได้ โดยตั้งแต่การ ระบาดของ Covid-19 เริ่มต้นขึ้น อัตราดอกเบี้ยนโยบายถูกปรับลดลงมาอยู่ในระดับต่าสุดเป็นประวัติการณ์ เพื่อเอื้อให้ภาวะการเงินช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และมีสภาพคล่องที่เพียงพอ ที่ผ่านมา แม้ สินเชื่อยังขยายตัวได้ในเกือบทุกภาคเศรษฐกิจ แต่สภาพคล่องในระบบที่สูงยังกระจายตัวได้ไม่ดีพอ ทาให้มี มาตรการด้านสินเชื่อที่ผูกโยงกับการค้าประกันสนิ เชื่อ เพื่อช่วยลดความเสี่ยงและเพิ่มการเข้าถึงสินเชื่อให้ธรุ กจิ
และรายย่อย นอกจากนี้ เพื่อให้ทุกภาคส่วนมีสภาพคล่องที่เพียงพอ และสอดคล้องกับวิกฤติที่ยังมีความ ไม่แน่นอนสูง ธปท. ได้ดาเนินมาตรการที่ตรงเป้าหมาย (targeted) และยืดหยุ่น (flexible) มากขึ้นเช่น การออก พ.ร.ก. ให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจฯ ที่ปรับปรุงจาก พ.ร.ก. ฉบับก่อนโดยมีความ ยืดหยุ่นมากขึ้น และโครงการ “พักทรัพย์ พักหนี้” สาหรับภาคธุรกิจที่ใช้เวลาในการฟื้นตัวนาน
ส่วนที่ 3: เศรษฐกิจในโลกหลังวิกฤติ
นอกจากมาตรการเพื่อตอบสนองวิกฤติเฉพาะหน้าแล้ว ธปท. ยังมีแผนที่จะปรับเปลี่ยนมาตรการให้ สามารถช่วยเหลือลูกหนี้ได้ยั่งยืนขึ้น เช่น การพักหนี้อาจเหมาะสมในระยะสั้น แต่เป็นภาระลูกหนี้ในระยะยาว ธปท. จึงสนับสนุนให้ภาคธุรกิจปรับโครงสร้างหนี้ให้ได้มากที่สุด ซึ่งจะช่วยให้ทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้สามารถผ่าน พื้นวิกฤติไปได้ด้วยกัน
ในระยะถัดไป ธปท. ยังคานึงถึงโลกหลัง Covid-19 ซึ่งบริบทของเศรษฐกิจทั่วโลกจะมีลักษณะ 1) คานึงถึงสิ่งแวดล้อม (Greener) และ 2) มีความเป็นดิจิทัลมากขึ้น (more Digital) โดยในด้าน สิ่งแวดล้อม (green) ธปท. อยู่ระหว่างการผลักดันภาคธนาคารพาณิชย์ให้มีการให้เงินกู้อย่างมีความ รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม โดยกาลังพัฒนาในเรื่องของมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูล ( disclosure standards) และการพัฒนาในด้านคานิยามด้านสิ่งแวดล้อม (green taxonomy) เพื่อนามาใช้ปฏิบัติได้โดยเร็ว ในขณะที่ ด้านดิจิทัล (Digital) ธปท. ได้วางรากฐานสาคัญสาหรับระบบชาระเงิน เช่น การทา QR-Code มาตรฐานใน การชาระเงิน และระบบพร้อมเพย์ นอกจากนี้ ธปท. ยังให้ความสาคัญกับนวัตกรรมใหม่ ๆ ด้านเทคโนโลยีทาง การเงินด้วย เช่น การพัฒนาสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง ซึ่งทั้งหมดนี้ จะทาให้ระบบการเงินของไทยมี ประสิทธิภาพที่สูงขึ้น มีต้นทุนที่ต่าลง และเข้าถึงง่ายขึ้น สามารถสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจไทยได้อยา่ ง ยั่งยืน