สิงห์ เอสเตท’ แกร่ง รายได้รวม 3,018 ล้านบาท มั่นใจแหล่งรายได้ใหม่ดันธุรกิจโตต่อ

สิงห์ เอสเตท’ แกร่ง รายได้รวม 3,018 ล้านบาท มั่นใจแหล่งรายได้ใหม่ดันธุรกิจโตต่อ

 

กรุงเทพฯ 16 สิงหาคม 2564  สิงห์ เอสเตท ประกาศผลประกอบการครึ่งแรกของปี 2564 มีรายได้รวม 3,018 ล้านบาท สาเหตุหลักจากรายได้การขายโครงการ สันติบุรี เดอะ เรสซิเดนเซส สะท้อนความแข็งแกร่งของอุปสงค์ที่อยู่อาศัยและความเชื่อมั่นในแบรนด์ Ultraluxury ของบริษัทฯผนวกกับรายได้เพียง เดือนของโรงแรมในสหราชอาณาจักรที่เข้าลงทุนไปเมื่อต้นปี เชื่อมั่นสัญญาณบวกท่องเที่ยวในสหราชอาณาจักร ดันรายได้ครึ่งหลังโตต่อเนื่อง

 

บริษัท สิงห์ เอสเตท จำกัด (มหาชน) รายงานผลประกอบการครึ่งแรกของปี 2564 มีรายได้รวม 3,018 ล้านบาท ลดลงร้อยละ จากงวดเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้รายได้รวมดังกล่าวแบ่งเป็นรายได้จากธุรกิจที่พักอาศัย (Residential development) 1,133 ล้านบาทธุรกิจอาคารสำนักงาน (Commercial) 489 ล้านบาทธุรกิจโรงแรม (Hospitality) 1,347 ล้านบาท, และธุรกิจอื่นๆ 49 ล้านบาท

 

แม้ว่าผลประกอบการครึ่งแรกของปี 2564 จะมีการตัดบริษัท เนอวานา ไดอิ จำกัด (มหาชน) (“NVD”ออกจากงบการเงินรวมของสิงห์ เอสเตท ตั้งแต่ต้นปี 2564 หลังจากธุรกรรมการขายเงินลงทุนใน NVD แล้วเสร็จเมื่อ มกราคม 2564 ทว่า รายได้รวมกลับลดลงเพียงร้อยละ ซึ่งเป็นไปตามที่บริษัทคาดการณ์ไว้ เนื่องจากในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2564 กลุ่มบริษัทได้เข้าเพิ่มสัดส่วนเงินลงทุนใน FS JV Co., Ltd. (“FS JV”) ซึ่งประกอบธุรกิจโรงแรมในสหราชอาณาจักรส่งผลให้สิงห์ เอสเตท สามารถรับรู้รายได้จากกลุ่มโรงแรมในสหราชอาณาจักรได้ตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมา กอปรกับ อุปสงค์ในบ้านเดี่ยวที่แข็งแกร่งอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีที่แล้ว ตลอดจนอุปสงค์ในคอนโดมิเนียมทยอยส่งสัญญาณฟื้นตัวตามลำดับ

 

นางฐิติมา รุ่งขวัญศิริโรจน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สิงห์ เอสเตท จำกัด (มหาชน) หรือ ‘S’ เปิดเผยว่า ในช่วง เดือนแรกที่ผ่านมา ธุรกิจที่พักอาศัยเผชิญกับความท้าทายสำคัญจากรายได้ของ NVD ที่หายไปตั้งแต่ต้นปี 2564 ซึ่งที่ผ่านมารายได้จาก NVD คิดเป็นประมาณกึ่งหนึ่งของรายได้รวมของธุรกิจนี้ อย่างไรก็ดี สัญญาณฟื้นตัวที่น่าพอใจของโครงการคอนโดมิเนียมสะท้อนผ่านมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ในไตรมาสที่ ปี 2564 ที่สูงสุดในรอบ ไตรมาสที่ผ่านมา กอปรกับการรับรู้รายได้อย่างต่อเนื่องจาก โครงการ สันติบุรี เดอะ เรสซิเดนเซส ส่งผลให้รายได้ของธุรกิจที่พักอาศัยลดลงเพียงร้อยละ 17 

 

ในส่วนของธุรกิจอาคารสำนักงาน สิงห์ เอสเตท สามารถต่อสัญญากับผู้เช่าเดิมได้อย่างต่อเนื่องและปล่อยเช่าพื้นที่เพิ่มเติมได้กว่า 2,100 ตารางเมตร ส่งผลให้อัตราปล่อยเช่าเฉลี่ยโดยรวมแตะระดับร้อยละ 88 ในช่วงครึ่งแรกของปี 2564

อนึ่ง การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ในช่วงปี 2564 ยังคงกดดันผลประกอบการธุรกิจโรงแรมในภาพรวม โดยโรงแรม แห่งจาก 38 แห่งกลับมาปิดให้บริการเชิงพาณิชย์อีกครั้ง และอาจเป็นไปได้ที่บางแห่งจะปิดต่อไปถึงสิ้นปีนี้หากสถานการณ์โดยรวมยังไม่ดีขึ้น อย่างไรก็ดี ในช่วงครึ่งแรกของปี ธุรกิจโรงแรมกลับสร้างรายได้เพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 17 สาเหตุสำคัญจากการเข้าเพิ่มสัดส่วนเงินลงทุนจนกลายเป็นผู้ถือหุ้นรายเดียวใน FS JV ซึ่งประกอบธุรกิจโรงแรมในสหราชอาณาจัก ภายใต้แฟรนไชส์แบรนด์ Mercure ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา 

 

การเปิดให้เดินทางภายในประเทศได้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม กอปรกับ ฐานลูกค้าหลักของ FS JV เป็นนักท่องเที่ยวในประเทศ หนุนให้ผลประกอบการของโรงแรมในสหราชอาณาจักรฟื้นตัวต่อเนื่องตามที่บริษัทคาดการณ์ไว้ โดยอัตราการเข้าพักในเดือนมิถุนายน อยู่ที่ร้อยละ 50 ซึ่งสูงที่สุดในรอบ 16 เดือน และรายได้ของธุรกิจโรงแรมกว่าร้อยละ 41 มาจากพอร์ตโรงแรมในสหราชอาณาจักร

 

การที่โรงแรมในสหราชอาณาจักรขึ้นแท่นแหล่งรายได้หลัก ผลักดันให้รายได้กลุ่มโรงแรมพลิกกลับมาเติบโตครั้งแรกตั้งแต่เกิดวิกฤติโควิด ตอกย้ำว่าการลงทุนเพิ่มเติมใน FS JV เป็นการลงทุนที่เหมาะสมทั้งในด้านทรัพย์สิน และเงื่อนเวลา นอกจากนี้บริษัทเชื่อมั่นว่าผลประกอบการโรงแรมโรงแรมในสหราชอาณาจักรทั้งในส่วนของอัตราการเข้าพัก (Occupancy) และรายได้ห้องพักเฉลี่ยของห้องพัก (Average Daily Rate, ADR) จะฟื้นตัวอย่างโดดเด่นยิ่งขึ้นในครึ่งหลังของปี 2564 จากการเข้าสู่ฤดูกาลท่องเที่ยว ประกอบกับภาครัฐบาลได้ประกาศยกเลิกข้อจำกัดในการเดินทางทั้งหมดในวันที่ 19 กรกฎาคม 2564” นางฐิติมากล่าว

 

การควบคุมค่าใช้จ่ายต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายในการขายที่ลดลงร้อยละ 40 กอปรกับการรับรู้ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วมและการร่วมค้า 177 ล้านบาท จากการส่งมอบห้องชุดโครงการ ดิ เอส สุขุมวิท 36 สามารถชดเชยผลกระทบจากรายได้ที่ลดลงได้อย่างมีนัยสำคัญ ส่งผลให้ สิงห์ เอสเตท รายงานผลขาดทุนสุทธิเพียง 26 ล้านบาท หรือขาดทุนลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึงร้อยละ 92

 

สำหรับครึ่งปีหลัง พัฒนาการที่สำคัญของบริษัทคงจะหนีไม่พ้นการเติมพอร์ตที่อยู่อาศัยแนวราบภายใต้การบริหารของ สิงห์ เอสเตท เข้ามาเพื่อต่อยอดธุรกิจอย่างต่อเนื่อง และด้วยสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง อัตราส่วนหนี้สินที่มีดอกเบี้ยต่อทุนสุทธิ ต่ำเพียง 1.14 เท่า มีส่วนสำคัญในการเอื้อให้บริษัทลงทุนต่อเนื่องเพื่อสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับผู้ถือหุ้นและส่งเสริมให้สิงห์ เอสเตท เติบโตอย่างมั่นคงต่อไปในระยะยาว