เซ็นทรัลพัฒนา เผยไตรมาส 2 ปี 2564 มีรายได้รวม 6,364 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 1,269 ล้านบาท

เซ็นทรัลพัฒนา เผยไตรมาส ปี 2564 มีรายได้รวม 6,364 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 1,269 ล้านบาท สะท้อน Sustainable Business ที่ยั่งยืนท่ามกลางสถานการณ์อันท้าทาย พร้อมดูแลช่วยเหลือทุกฝ่ายเพื่อให้ผ่านพ้นวิกฤตไปด้วยกันได้อย่างดีที่สุด

 

·       ไตรมาส ปี 2564 รายได้และกำไรมากกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าที่เกิดภาวะล็อคดาวน์ทั่วประเทศ แม้ว่าจะได้รับผลกระทบอย่างมากจากสถานการณ์โควิด-19 รอบปัจจุบันก็ตาม

·       ยังคงเดินหน้าดูแลทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องอย่างเต็มที่ ทั้งลูกค้าผู้เช่าผู้ถือหุ้นพนักงานไปจนถึงสังคมและชุมชน และพร้อมผนึกกำลังทุกฝ่ายขับเคลื่อนเศรษฐกิจและประเทศไปด้วยกัน 

·       ขยายโอกาสทางธุรกิจ ทำข้อตกลงเข้าซื้อหุ้นสามัญของ SF หรือ บมจ. สยาม ฟิวเจอร์ดีเวลอปเมนท์ เพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน    

กรุงเทพฯ  บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือ เซ็นทรัลพัฒนา รายงานผลประกอบการประจำไตรมาสที่ 2 ปี 2564 สะท้อนการดำเนินธุรกิจแบบ Sustainable business ในระยะยาว โดยมีรายได้รวม 6,364 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 1,269 ล้านบาท ซึ่งแม้ว่าจะมากกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีภาวะล็อคดาวน์ทั่วประเทศ แต่โดยรวมยังได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ในรอบปัจจุบันอยู่ไม่น้อย อย่างไรก็ดี บริษัทฯ สามารถรักษาสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่งและบริหารจัดการธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงดำเนินมาตรการดูแลผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายอย่างต่อเนื่อง ทั้งลูกค้า, ผู้เช่าพนักงานผู้ถือหุ้น ไปจนถึงชุมชนและประเทศชาติ อย่างต่อเนื่องมาตลอด

นางสาวนภารัตน์ ศรีวรรณวิทย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน และรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการเงิน บัญชี และบริหารความเสี่ยง บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “สำหรับช่วงไตรมาสที่ ที่ผ่านมา เซ็นทรัลพัฒนายังคงรักษาความสามารถในการบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยไตรมาสที่ ปี 2564 บริษัทฯ มีรายได้รวม 6,364 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 1,269 ล้านบาท ซึ่งมากกว่าช่วงไตรมาสเดียวกันเมื่อปีก่อน (2563) ที่เป็นช่วงเริ่มต้นการแพร่ระบาดโควิด-19 ในประเทศไทย และภาครัฐประกาศล็อคดาวน์ทั่วประเทศ แม้ว่าในปีปัจจุบันธุรกิจศูนย์การค้า ซึ่งเป็นธุรกิจหลักของบริษัทฯ จะได้รับผลกระทบค่อนข้างมากจากการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ระลอกสามที่ยังอยู่ในระดับที่น่าเป็นห่วง บริษัทฯ มีแนวทางบริหารความเสี่ยงดังกล่าวโดยนำข้อได้เปรียบในการมีศูนย์การค้ากระจายอยู่ทั่วประเทศ ทำให้บางศูนย์การค้าในต่างจังหวัดยังคงสามารถเปิดให้บริการได้ พร้อมเร่งพัฒนาการบริการรูปแบบใหม่ผ่านช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้ลูกค้า รวมถึงเปิดโอกาสและสร้างยอดขายให้ร้านค้าได้ ประกอบกับการบริหารจัดการทางการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ โดยลดและควบคุมต้นทุนในการดำเนินงานและค่าใช้จ่ายต่างๆ รักษาระดับกระแสเงินสดและสภาพคล่องให้เพียงพอต่อการดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ยังคงเฝ้าติดตาม ทบทวน และปรับเปลี่ยนแผนธุรกิจให้เหมาะสมในแต่ละช่วงเวลา โดยคำนึงถึงประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มเป็นหัวใจสำคัญ ตามที่ได้เคยปฏิบัติมาโดยตลอด

บริษัทฯ ยังคงดำเนินมาตรการดูแลลูกค้า ผ่านแม่บท “เซ็นทรัล สะอาด มั่นใจ” ที่เพิ่มความมั่นใจให้กับลูกค้าในการมาใช้บริการ รวมถึงให้ความช่วยเหลือคู่ค้าและผู้ประกอบการกว่า 15,000 รายทั่วประเทศแบบ 360 องศาอย่างต่อเนื่อง ทั้งการให้ส่วนลดร้านค้าตามสถานการณ์จนถึงปัจจุบัน และยกเว้นค่าเช่าสำหรับร้านค้าในประเภทธุรกิจที่มีคำสั่งจากรัฐบาลให้ปิดบริการ รวมถึงการช่วยเพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน โดยช่วยเหลือคู่ค้าให้เข้าถึงสินเชื่อฟื้นฟูกับพันธมิตรธนาคารชั้นนำ 7 แห่ง อย่างสะดวกและรวดเร็ว ด้วยระบบ Grading สร้าง Credit Score ในฐานะคู่ค้าของเซ็นทรัลพัฒนา พร้อมขยายความช่วยเหลือไปยังกลุ่ม Vendors & Suppliers อีกกว่า 5,000 รายทั่วประเทศ มีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การตลาดเพื่อช่วยผลักดันยอดขายร้านค้าทุก Category และการพัฒนาบริการ และแพลตฟอร์มใหม่ๆ เพื่อช่วยเหลือผู้เช่าได้ครบทุกมิติ ทั้งในแง่ช่องทางการขาย การเข้าถึงลูกค้า และระบบฐานลูกค้า The1 และ แอปพลิเคชั่น The1 Biz ที่จะเป็น CRM Tool ให้กับคู่ค้าได้อย่างครบวงจร รวมทั้งการอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนทั่วไปด้วย Central Connect ที่เชื่อมโยงทุกบริการทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ได้แก่ บริการ Chat & Shop ผ่าน Line @CentralLife, One Call x One Click, Drive-Thru รวมถึงCENTRAL EAT ร่วมกับ Grab Food และบริการล่าสุด Central Kitchen สั่งได้ทุกช่องทาง อิ่มอร่อยจากเซ็นทรัล

สำหรับเหตุการณ์สำคัญในไตรมาสที่ ปี 2564 จนถึงปัจจุบัน บริษัทฯ ได้มีการทำสัญญาเข้าซื้อหุ้นของ บริษัท สยามฟิวเจอร์ ดีเวลอปเมนท์ (SF) จากกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่เพื่อเสริมความแข็งแกร่งทางธุรกิจอย่างต่อเนื่อง โดยขยายพอร์ต Super Regional Mall ของบริษัทฯ เพิ่มเป็น 2 แห่ง คือ เซ็นทรัล เวสต์เกต และเมกาบางนา และเติบโตไปพร้อมกับพันธมิตรระดับโลกอย่างอิเกีย รวมทั้งผนึกกำลังธุรกิจในเครือกลุ่มเซ็นทรัล เดินหน้าขยายคอมมูนิตี้ มอลล์ต่างๆ และพัฒนาโครงการที่ดินบนทำเล CBD ของกรุงเทพฯ และหัวเมืองใหญ่ทั่วประเทศ นอกจากนี้ เซ็นทรัลพัฒนา ยังคว้ารางวัลใหญ่ระดับเอเชีย “2021 All - Asia Executive Team: Rest of Asia (Asia ex-Mainland China)” จำนวน รางวัล โดยได้รับรางวัลยอดเยี่ยมอันดับหนึ่งจำนวน รางวัล ได้แก่ 1) Best CEO 2) Best CFO 3) Best IR Program (Investor Relations) และรางวัลยอดเยี่ยมอันดับสองได้แก่ Best ESG (Environmental, Social, Governance) จาก Institutional Investor สื่อธุรกิจแถวหน้าของสหรัฐอเมริกา สะท้อนความเป็นผู้นำในธุรกิจสังหาริมทรัพย์ของไทย และการเป็นองค์กรยั่งยืนที่ได้รับการยอมรับจากนักวิเคราะห์และนักลงทุนระดับโลก

นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังร่วมมือกับภาครัฐ ภาคเอกชน และโรงพยาบาลต่างๆ จัดพื้นที่ให้บริการฉีดวัคซีนในศูนย์การค้าของบริษัทฯ กว่า 23 แห่งทั่วประเทศ รวมพื้นที่กว่า 40,000 ตร.ม.โดยจัดสรรพื้นที่ส่วนกลางที่มีขนาดใหญ่ สามารถรองรับเจ้าหน้าที่และประชาชนจำนวนมากได้อย่างไม่แออัด โดยมีการบริหาร Social Distancing อย่างเป็นระบบ เพื่อช่วยเหลือให้ประชาชนทุกภูมิภาคได้รับการฉีดวัคซีนได้อย่างทั่วถึงมากที่สุดและรวดเร็วที่สุด 

สำหรับทิศทางการดำเนินงานในช่วงครึ่งปีหลังของ 2564 บริษัทฯ ยังคงมุ่งมั่นดูแลช่วยเหลือผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มอย่างต่อเนื่อง และพร้อมให้ความร่วมมือกับภาครัฐ รวมทั้งเตรียมพร้อมปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ทางธุรกิจเพื่อรับมือกับสถานการณ์ ในส่วนการขยายการลงทุน บริษัทฯ ยังคงเดินหน้าลงทุนพัฒนา โครงการบิ๊กมิกซ์ยูส ได้แก่ เซ็นทรัล อยุธยา และ เซ็นทรัล ศรีราชา ที่เตรียมเปิดภายในสิ้นปีนี้ และเซ็นทรัล จันทบุรีที่เตรียมเปิดภายในกลางปี 2565 นอกจากนี้ ยังมีโครงการ ดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค ที่ร่วมพัฒนากับบริษัท ดุสิตธานี จำกัด (มหาชน) ซึ่งจะทยอยเปิดให้บริการในปี 2566-2567 เป็นต้นไป

สำหรับแผนการลงทุนและเป้าหมายทางธุรกิจในระยะ ปี (ปี 2564-2568บริษัทฯ ได้มีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่างๆ และเดินหน้าลงทุนอย่างต่อเนื่อง ทั้งโครงการอสังหาริมทรัพย์แบบผสม (Mixed-use Development) โครงการที่พักอาศัย รวมถึงแผนการปรับปรุงสินทรัพย์ที่มีอยู่ในปัจจุบันเพื่อเพิ่มมูลค่า รวมทั้งบริหารจัดการค่าใช้จ่ายและลดต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง เพื่อรักษาสภาพคล่องทางการเงิน เพื่อเตรียมพร้อมกับสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน บริษัทฯ ยังคงศึกษาโอกาสการลงทุนธุรกิจในรูปแบบอื่น การเข้าซื้อกิจการ และการลงทุนในต่างประเทศในแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาทิ มาเลเซีย และเวียดนาม รวมถึงศึกษาโอกาสการลงทุนในธุรกิจใหม่ที่มีศักยภาพการเติบโตสูงเพื่อขยายช่องทางในการสร้างรายได้ใหม่และสอดคล้องกับแผนการเติบโตตามเป้าหมายในอนาคตอย่างมั่นคงและยั่งยืน

ปัจจุบัน เซ็นทรัลพัฒนา บริหารจัดการศูนย์การค้า 34 แห่ง มีพื้นที่ให้เช่าสุทธิรวม 1.8 ล้านตารางเมตร  (อยู่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล 15 โครงการต่างจังหวัด 18 โครงการ และในมาเลเซีย 1โครงการ) ศูนย์อาหาร 30 แห่ง อาคารสำนักงาน 10 อาคาร โรงแรม 2 แห่ง โครงการที่พักอาศัยอีก 18 โครงการ ประกอบด้วยคอนโดมิเนียมภายใต้แบรนด์ ESCENT, ESCENT VILLE, ESCENT PARK VILLE, PHYLL PAHOL 34 และ BELLE GRAND RAMA 9 และโครงการแนวราบภายใต้แบรนด์ ESCENT TOWN พิษณุโลก (ทาวน์โฮม) นินญา กัลปพฤกษ์ (บ้านแฝด) โครงการนิยาม บรมราชชนนี (บ้านเดี่ยวระดับลักชูรี่) และโครงการบ้านเดี่ยวแบรนด์ใหม่ที่เพิ่งเปิดตัว ได้แก่ นีรติ เชียงราย และนีรติ บางนา โดยโครงการดังกล่าวได้รวมส่วนที่อยู่ภายใต้บริษัท แกรนด์ คาแนล แลนด์ จำกัด (มหาชน) หรือ GLAND ที่เซ็นทรัลพัฒนา เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อยู่ และเป็นผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่มีสินทรัพย์ที่ดำเนินการแล้ว และสินทรัพย์ที่รอการพัฒนาอยู่บนทำเลศักยภาพสูงในกรุงเทพฯ