ไอแบงก์ร่วมแถลงรายงานผลการดำเนินการช่วยเหลือทางการเงิน ลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด – 19

เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2564 ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์)โดยนายวุฒิชัยสุระรัตน์ชัยกรรมการและผู้จัดการธนาคารร่วมแถลงรายงานผลการดำเนินงานของมาตรการด้านการเงินเพื่อช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระลอกใหม่ซึ่งมีนายอาคมเติมพิทยาไพสิฐรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธานการแถลงข่าวพร้อมด้วยผู้บริหารสูงสุดสถาบันการเงินของรัฐ (SFIs) 

นายวุฒิชัยรายงานว่า ตั้งแต่เกิดสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19ไอแบงก์ได้ออกมาตรการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ลูกค้าและประชาชนทั้งกลุ่มลูกค้าสินเชื่อบุคคลและสินเชื่อธุรกิจตามมติคณะรัฐมนตรีและตามนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยรวมทั้งสิ้น 12 โครงการสามารถช่วยเหลือลูกค้าได้รวม 11,871 รายคิดเป็นเงิน21,634 ล้านบาท ปัจจุบันมาตรการที่ธนาคารยังคงให้ความช่วยเหลือต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็นการผ่อนปรนการชำระหนี้หรือการปรับปรุงโครงสร้างหนี้หรือการให้สินเชื่อเพิ่มเติมมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1. มาตรการผ่อนปรนการชำระหนี้ – พักชำระกำไรพักชำระค่างวดขยายเวลาการชำระหนี้

● มาตรการให้ความช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ (เริ่มต้น..63 สิ้นสุด 31..64)เป็นมาตรการที่ให้ความช่วยเหลือลูกค้าที่เป็นหนี้อุปโภคบริโภคและหนี้ธุรกิจที่มีสถานะปกติหรือที่กล่าวถึงเป็นพิเศษหรือเป็นลูกหนี้ด้อยคุณภาพ (NPF) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2562

● มาตรการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยเพิ่มเติมระยะที่ 3 (เริ่มต้น17 .. 64 สิ้นสุด 31 .. 64) มาตรการนี้สำหรับกลุ่มลูกค้าสินเชื่อที่อยู่อาศัยสินเชื่ออเนกประสงค์แบบมีหลักประกัน/ไม่มีหลักประกันและสินเชื่อเช่าซื้อที่ไม่เป็นหนี้ด้อยคุณภาพ (NPF)  วันที่ 1 มีนาคม 2563

● โครงการพักทรัพย์พักหนี้ตามพ...ให้ความช่วยผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ประกาศราชกิจจานุเบกษา 10 เมษายน 2564 ระยะเวลาโครงการไม่เกิน 2 ปีนับแต่วันที่พ...มีผลบังคับใช้ธนาคารได้ช่วยเหลือลูกค้าของธนาคารไปแล้ว 5 รายภาระหนี้รวม 1,515.28 ล้านบาทอยู่ระหว่างเสนออนุมัติรายภาระหนี้รวม 149.13 ล้านบาทและอยู่ระหว่างการเจรจาอีก 6 รายภาระหนี้รวม 3,250.57 ล้านบาท

2. มาตรการปรับปรุงโครงสร้างหนี้

● มาตรการปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำหรับลูกหนี้รายย่อยด้วยวิธีรวมหนี้คือมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้สินเชื่อที่อยู่อาศัยและไม่มีสถานะเป็น NPF  วันที่ 1 มีนาคม 2563 และสินเชื่ออเนกประสงค์แบบไม่มีหลักประกันกับธนาคาร

● โครงการ DR BIZการเงินร่วมใจธุรกิจไทยมั่นคง มาตรการนี้เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ธุรกิจที่มีหนี้กับเจ้าหนี้สถาบันการเงินหลายราย วงเงินรวมกันตั้งแต่ 50-500 ล้านบาทที่เริ่มเป็น NPFs ตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม 2563 ในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้หลายรายให้เกิดผลโดยเร็วซึ่งลูกหนี้และเจ้าหนี้จะได้รับประโยชน์จากโครงการร่วมกัน

3. มาตรการให้สินเชื่อเพิ่มเติม

● มาตรการ Soft Loan ฟื้นฟูธุรกิจ (เริ่มต้น26 เม.. 63สิ้นสุดตามคำสั่งธปท.) เพื่อช่วยเหลือลูกค้าสินเชื่อเดิมของธนาคารที่มีวงเงินสินเชื่อธุรกิจกับธนาคาร  วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 ไม่เกิน 500 ล้านบาทหรือลูกค้าสินเชื่อใหม่ที่ไม่มีวงเงินกับสถาบันการเงินใด   วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 ถือเป็นแหล่งเงินทุนต้นทุนต่ำให้แก่ผู้ประกอบการธุรกิจที่ต้องการเพิ่มสภาพคล่องในการประกอบธุรกิจลดผลกระทบต่อการจ้างงานและฟื้นฟูการประกอบธุรกิจทั้งนี้ไม่รวมถึงการ Refinance

นอกจากการช่วยเหลือลูกค้าแล้วธนาคารยังมีมาตรการช่วยเหลือประชาชนทั้งในภาคธุรกิจและครัวเรือน มีการให้สินเชื่อใหม่สำหรับพี่น้องมุสลิมและสินเชื่อเพื่อสนับสนุนชายแดนใต้รายย่อย วงเงินไม่เกิน 20 ลบจำนวน 1,305 รายเป็นวงเงินสินเชื่อรวม 1,303 ล้านบาทและให้สินเชื่อใหม่วงเงินไม่เกิน 200,000 บาทต่อรายภายใต้โครงการสินเชื่อเสริมสร้างธุรกิจรายย่อยมุสลิมจำนวน 2,711 รายเป็นวงเงินสินเชื่อรวม 368 ล้านบาทนายวุฒิชัยกล่าวทิ้งท้าย

สำหรับลูกค้าและประชาชนที่สนใจเข้าร่วมมาตรการต่างๆของธนาคารสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ibank Call Center 1302 หรือเข้าไปดูรายละเอียดได้ทางเว็บไซต์https://www.ibank.co.th/thเลือกผลิตภัณฑ์และบริการเลือกมาตรการช่วยเหลือฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจแล้วเลือกมาตรการที่ต้องการ