“ซัยโจ เด็นกิ” พลิกวิกฤติโควิด-19 ด้วยเทคโนโลยีคุณภาพอากาศ

ซัยโจ เด็นกิ” ตระหนักถึงความรุนแรงของผลกระทบของสถานการณ์ระบาดของโควิด-19 ที่มีต่อการใช้ชีวิตของประชาชนและการให้บริการทางการแพทย์  เร่งพัฒนานวัตกรรมระบบแลกเปลี่ยนอากาศความดันลบ (Negative Pressure) เพื่อใช้ป้องกันบุคลากรทางการแพทย์ให้ปฏิบัติงานในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยจนสำเร็จ พร้อมต่อยอดนวัตกรรมด้วยการขยายบริการไปยังหอผู้ป่วยทั่วไป สถานที่ทำงานและบ้านอยู่อาศัย  หวังช่วยลดโอกาสการติดเชื้อและการมีสุขภาวะด้านอากาศที่สะอาดบริสุทธิ์ของสังคมไทยแม้ภายหลังจากโรคระบาดผ่านพ้นไปแล้ว (Post Covid-19) เผยภูมิใจที่อุตสาหกรรมไทยสามารถพัฒนาเทคโนโลยีระบบแลกเปลี่ยนอากาศที่มีความซับซ้อนด้วยตนเอง

นายสมศักดิ์ จิตติพลังศรี  กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซัยโจ เด็นกิ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เปิดเผยว่า จากวิกฤติของโรคระบาดโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย “ซัยโจ เด็นกิ” มีความห่วงใยในความปลอดภัยของบุคคลกรทางการแพทย์และของประชาชน จึงเร่งพัฒนานวัตกรรมระบบแลกเปลี่ยนอากาศความดันลบ (Negative Pressure) เพื่อใช้ป้องกันบุคลากรทางการแพทย์ให้ปฏิบัติงานในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยจนสำเร็จ โดยนวัตกรรมระบบแลกเปลี่ยนอากาศดังกล่าวพัฒนามาจากเทคโนโลยีอินเวอร์เตอร์ที่ “ซัยโจ เด็นกิ” มีประสบการณ์มากว่า 15 ปีซึ่งระบบนี้สามารถควบคุมทิศทางการไหลเวียนของอากาศภายในห้อง จากบุคลากรทางการแพทย์ (โซนสะอาดไปยัง ผู้ป่วย COVID-19 (โซนเชื้อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดโอกาสเกิดความเสี่ยงในการติดเชื้อจากผู้ป่วยมาสู่บุคลากรทางการแพทย์  ด้วยการนำอากาศใหม่ 100% (Fresh Air) เติมเข้าสู่ภายในห้องตลอดเวลา เพื่อลดปริมาณเชื้อโรคภายในห้องอย่างรวดเร็ว และทำให้ระบบดังกล่าวสามารถปรับความชื้นสัมพัทธ์ และมีประสิทธิภาพในการสร้างแรงดันลบ (Negative Pressure) ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานของ WHO และ CDC สหรัฐอเมริกา เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคจากภายในห้อง ไหลออกสู่บริเวณภายนอก เช่น ชุมชน หรือส่วนอื่นๆภายในโรงพยาบาล

ตั้งแต่ต้นปี 2564 ซึ่งอยู่ในช่วงสถานการณ์โควิดแพร่ระบาด  บริษัท ‘ซัยโจ เด็นกิ’ ได้ติดตั้งระบบแลกเปลี่ยนอากาศด้วยระบบความดันลบให้กับโรงพยาบาลต่างๆ ไปแล้วรวมกว่า 1,000 เตียงทั่วประเทศ ซึ่งรวมถึงการเปลี่ยนอาคารท่านผู้หญิงประภาศรี กำลังเอก โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ที่มีอายุร่วม 37 ปี ซึ่งเดิมรองรับได้แค่ผู้ป่วยธรรมดา ปรับให้ดีขึ้นเป็นหอรับผู้ป่วยวิกฤติ Covid-19 ได้จำนวนมากถึง 41 เตียง มูลค่ากว่า 26 ล้านบาท โดยใช้เวลาติดตั้งเพียงแค่ 10 วัน เท่านั้น

นอกจากการพัฒนานวัตกรรมระบบแลกเปลี่ยนอากาศเพื่อใช้ป้องกันบุคลากรทางการแพทย์ให้ปฏิบัติงานในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยจากเชื้อโควิดจนสำเร็จแล้ว “ซัยโจ เด็นกิ” ยังได้ต่อยอดนวัตกรรมดังกล่าวด้วยการขยายบริการไปยังหอผู้ป่วยทั่วไป รวมถึงในสถานที่ทำงานและบ้านอยู่อาศัย   เพื่อช่วยลดโอกาสในการติดเชื้อในสถานพยาบาลรวมถึงการมีสุขภาวะด้านอากาศที่สะอาดบริสุทธิ์ของสังคมไทย แม้ภายหลังจากโรคระบาดผ่านพ้นไปแล้ว (Post Covid-19)

นับเป็นความสำเร็จและความน่าภาคภูมิใจของอุตสาหกรรมไทยที่สามารถพัฒนาเทคโนโลยีที่มีระบบแลกเปลี่ยนอากาศที่มีความซับซ้อนด้วยตนเอง     ซึ่งทาง “ซัยโจ เด็นกิ” ได้จดสิทธิบัตรทรัพย์สินทางปัญญานี้เป็นที่เรียบร้อยแล้วนอกจากนี้ระบบนี้ยังได้ผ่านการทดสอบประสิทธิภาพโดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ว่ามีความปลอดภัยต่อบุคลากรทางการแพทย์และชุมชน อีกด้วย” นายสมศักดิ์  กล่าว

นวัตกรรมคุณภาพอากาศ (Innovation for Better Air Quality)แห่งความก้าวหน้าของซัยโจ เด็นกิพัฒนา DC Inverter 700,000 BTU/hซัยโจ เด็นกิ เริ่มก่อตั้งในปี ..2528 และได้ลงทุนด้านการพัฒนาวิจัย (R&D) มาโดยตลอดจนสามารถผลิตสินค้าประหยัดพลังงานได้สูงมากเป็นอันดับต้นๆของโลก วันนี้ ซัยโจ เด็นกิ ประสบความสำเร็จในการพัฒนา DC Inverter ในเครื่องปรับอากาศที่ใช้ตามบ้านทั่วไป ขนาดเฉลี่ยไม่เกิน 36,000 บีทียูต่อชั่วโมง ให้เป็นเครื่องปรับอากาศ DC Inverter ที่ประหยัดไฟได้สูงมาก ขนาดใหญ่ถึงกว่า 700,000 บีทียู และได้ติดตั้งในฐานทัพเรือ ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นรายแรกของประเทศไทย  วันที่ 10 เมษายน 2564

เครื่องทำน้ำแข็งปลอดเชื้อสำหรับผ่าตัด (Sterile Surgical Slush Machine) ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เพื่อผลิตเครื่องทำน้ำเกลือให้เป็นน้ำแข็งสำหรับการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจได้เป็นรายแรกของประเทศไทย โดยน้ำแข็งทั่วไปมีลักษณะแหลมคม ซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยเปลี่ยนถ่ายหัวใจ จึงพัฒนาเครื่องทำน้ำแข็งแบบ Sterile ซึ่งมีลักษณะมน กลม ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ป่วย และสะอาดปลอดภัยสูง ด้วยระบบของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง  โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย



ความภูมิใจในการสร้างห้องผ่าตัด สำหรับผู้ป่วย COVID-19 แห่งแรก ซัยโจ เด็นกิ ประสบความสำเร็จในการพัฒนาระบบแลกเปลี่ยนอากาศในห้องผ่าตัดจากข้อกำหนดมาตรฐานASHRAE 170 ที่กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนอากาศในห้องผ่าตัดไว้ที่ 20 รอบต่อชั่วโมง หรือ ทุกๆ 3 นาที ซัยโจ เด็นกิพัฒนาระบบ Interchangable Positive/Negative Operating Room ในห้องเดียวกันเป็นรายแรกของประเทศไทย ให้มีความปลอดภัยสูงกว่ามาตรฐานสากลถึง 1 เท่า โดยสามารถเปลี่ยนอากาศใหม่ได้ถึง 50 รอบต่อชั่วโมง หรือเกือบทุกๆ 1 นาที  โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า และได้ผ่าตัดคลอดลูกของผู้ป่วยโควิด-19 ได้อย่างปลอดภัย ทั้งแพทย์พยาบาล ผู้ป่วย



ห้องปฏิบัติการชีวนิรภัยระดับ 3 (BSL-3) รองรับการตรวจเชื้อร้ายแรง ออกแบบเพื่อสร้างระบบความปลอดภัยทางชีวภาพในห้องปฏิบัติการ BSL-3 เพื่อเก็บและป้องกันอันตรายจากเชื้อก่อโรคร้ายแรง เช่น COVID-19 วัณโรค เป็นต้น ทำให้สามารถทำงานวิจัยในห้องปฏิบัติการที่ต้องเกี่ยวข้องกับเชื้อร้ายแรงดังกล่าวได้ ซึ่งมีราคาสูงและจำกัดมากในประเทศไทย