“แห้วมีคุณอนันต์” เปลี่ยน ‘แห้ว’ ให้ ‘แจ๋ว’ ติดปีกของดีสุพรรณขึ้นโมเดิร์นเทรด ดันตลาดโตสวนโควิด

จากแห้วธรรมดาทำอย่างไรให้มีมูลค่าสร้างอาชีพให้คนในชุมชน” คำถามในใจของนักรบเกษตรกร   คุณอนันต์ดอกกุหลาบ ประธานกรรมการ บริษัท สุพรรณ โอทอป อินเตอร์เทรดดิ้ง จำกัด  ผู้เป็นลูกหลานมีพื้นเพอยู่อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี และจากคำถามนี้ กลายเป็นที่มาของผลิตภัณฑ์แปรรูปจากแห้ว พืชภูมิศาสตร์สำคัญแบรนด์ แห้วมีคุณอนันต์

 

ชื่อแบรนด์ แห้วมีคุณอนันต์ มีที่มาจากการอยากปรับทัศนคติของผู้บริโภค ที่ไม่รู้เริ่มจากตอนไหนที่คนส่วนใหญ่ตีความหมายคำว่า “แห้ว” ไปในทางที่ไม่ดีนัก หลายคนไม่ชอบทานเพราะชื่อ ทั้งที่จริง  แล้วแห้วเป็นพืชที่มากด้วยคุณประโยชน์ อุดมไปด้วยสารอาหาร ทั้งวิตามินและเกลือแร่ มีฤทธิ์เย็น ทานแล้วดีช่วยต่อต้านแบคทีเรีย การตั้งชื่อแบรนด์ว่า “แห้วมีคุณอนันต์” นอกจากมีชื่อผมร่วมอยู่ด้วยแล้ว ความหมายชื่อยังชัดเจน ผู้บริโภคอ่านแล้วเข้าใจง่ายกินแล้วดีมีประโยชน์นะ ช่วยกระตุ้นความต้องการของตลาดมากขึ้น” คุณอนันต์เอ่ยถึงที่มาของชื่อแบรนด์

นอกจากนี้ คุณอนันต์ยังเล่าย้อนอดีตต่อว่า ก่อนจะหันมายกระดับแปรรูปแห้วได้สำเร็จในปัจจุบัน ในอดีตภาพที่เห็นจนชินตา คือ เมื่อถึงฤดูการเก็บเกี่ยวแห้ว เกษตรกรจะจำหน่ายผลผลิตเพียง 2 ประเภท คือแห้วสด และแห้วต้ม เกษตรกรมีผลผลิตเหมือนกัน ขายพร้อมกัน ราคาซื้อขายจึงแทบไม่มีกำไร ดังนั้น เมื่อถึงวันที่ตนตัดสินใจสานต่ออาชีพของบรรพบุรุษ การคิดหาหนทางพัฒนา สร้างความแตกต่าง จึงเป็นอย่างแรกที่เลือกทำ

 

เมื่อฤดูกาลเก็บเกี่ยวมาถึง ผมคิดตลอดทำอย่างไรให้เราแตกต่าง ทำอย่างไรถึงจะขายได้ในราคาที่สูงขึ้น เพราะเกษตรกรกว่าจะทำนาแห้วได้ผลผลิตมาเหนื่อยยากมาก เริ่มหาวิธี ผมทดลองผสมผสานสูตรต่างๆ ไปเรื่อย เหมือนรบร้อยครั้งก็แพ้ร้อยครั้ง แต่ไม่ท้อ ผมสู้ จนในที่สุดก็มาสำเร็จที่สูตรการนำสมุนไพรไทยมาช่วยยกระดับเกิดเป็นนวัตกรรมอาหารใหม่ ทดลองต้มแห้วในน้ำสมุนไพรที่มีสีตามธรรมชาติ แทนการต้มน้ำเปล่า อาทิ ใบเตย  มะตูมอัญชัน และ เก๊กฮวย เป็นต้น ปรากฏว่าแห้วดูดสีจากสมุนไพรกลายเป็นสีต่าง  สวยงาม เกิดเป็นเมนู แห้วต้ม 7 สี มณีแสง สร้างความตื่นตาตื่นใจกลายเป็นที่รู้จักในท้องตลาดอย่างจริงจัง” คุณอนันต์เล่าถึงการเริ่มต้นคิดค้นนวัตกรรมอาหารมาใช้ในการแปรรูปแห้ว


สำหรับแห้วที่คุณอนันต์เลือกใช้เป็นวัตถุดิบหลัก แน่นอน 100% คือ แห้วในพื้นที่อำเภอศรีประจันต์ สายพันธุ์แห้วจีน(Water Chestnut) ที่ปลูกและขึ้นได้ดีเฉพาะในเขตพื้นที่นี้มาอย่างยาวนาน ตามสมญานาม แห้วดีเมืองศรีประจันต์ด้วยสภาพดินมีความพิเศษเฉพาะคล้ายชั้นดินดาน เมื่อแห้วลงหัวจึงมีพื้นที่ว่างให้แผ่ขยายได้เต็มที่ บวกกับสภาพดินที่อุดมสมบูรณ์  ภูมิอากาศที่เหมาะสม ผลผลิตที่ได้แห้วจึงมีผลใหญ่ รสชาติหวาน มัน กรอบ กลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ แตกต่างจากแห้วพื้นที่อื่น

อย่างไรเสีย จากกระแสตอบรับของตลาดที่กำลังไปได้ดี ก็เกิดปัญหาอุปสรรคให้คุณอนันต์ฟันฝ่าทดสอบฝีมืออีกครั้งผมค้นพบว่า อุปสรรคใหญ่ที่เกิดจากการแปรรูปแห้วคือ จะมีอายุสั้น แห้วต้มอยู่ในอุณหภูมิปกติประมาณครึ่งวันก็เน่าเสีย การขนส่งขยายตลาดออกนอกพื้นที่ไกล  จึงทำได้ยาก แต่เมื่อคิดอยากให้คนหันมาบริโภคแห้วมากขึ้น อยากเห็นแห้วเป็นหนึ่งในอาหารที่คนคิดถึง ทางเดียวที่ทำได้คือต้องพยายามศึกษาหาความรู้เพิ่ม เมื่อไม่รู้จึงถามผู้รู้ จนมารู้จักกับสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ได้ร่วมกันศึกษาวิจัยพัฒนาสร้างนวัตกรรมอาหารใหม่ เกิดเป็นอีกเมนูคือ แห้วแช่อิ่มอบแห้ง มีคุณสมบัติสามารถอยู่ในอุณหภูมิปกติเก็บได้นานถึง 1 เดือน ตอนนั้นยิ้มออกเลยครับ รู้สึกดีใจที่สามารถติดปีกให้แห้วตีตลาดจนประสบความสำเร็จได้อีกขั้น

 

จากการเรียนรู้ที่ไม่สิ้นสุด คุณอนันต์เริ่มเข้าใจถึงความสามารถของเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่  ว่าสามารถนำมาผสมผสานเชื่อมต่อคุณภาพแห้วให้มีอายุยืนยาวขึ้น และมีมูลค่ามากยิ่งขึ้น เกษตรกรรักบ้านเกิดรายนี้ไม่รอช้า เดินหน้าตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในยุค New Normal ทันที โดยนำแห้วมาแปรรูปหลากหลายเมนู ไม่ว่าจะเป็นแห้วเฟรนช์ฟราย ขนมกรุบกรอบสำหรับทานเล่นแต่มากด้วยคุณประโยชน์ มีทั้งรสสาหร่าย รสบาร์บีคิว และรสข้าวโพด หรือนวัตกรรมใหม่ล่าสุด แป้งแห้ว แป้งตั้งต้นส่วนประกอบหลักในการทำอาหารทั้งของหวาน ของคาว ไม่มีส่วนผสมกลูเตน 

เมื่อธุรกิจค่อย  ก้าวเดินไปตามทางที่ปูไว้อย่างมั่นคง การส่งต่อรายได้สู่ชุมชนตามที่ตั้งใจจึงเริ่มขึ้น ภายใต้แนวคิดเราเติบโต ชุมชนเติบใหญ่ ต่างแต่งแต้มรอยยิ้มให้แก่กัน เพื่ออนุรักษ์สืบทอดท้องนาแห้วให้คงอยู่ ดั้งนั้น เมื่อออเดอร์เริ่มหลั่งไหลเข้ามา คุณอนันต์จึงเลือกกระจายส่งต่องานให้กับคนในชุมชนท้องถิ่น ผ่านกลุ่มสตรีแม่บ้าน อสมแปรรูปผลิตภัณฑ์แห้ว โดยลงพื้นที่บุกเบิกทำความเข้าใจกับชาวบ้าน เพื่อให้มีเป้าหมายไปในทิศทางเดียวกัน สอนวิธีการเตรียมวัตถุดิบ การแปรรูปให้ได้คุณภาพ ทุกขั้นตอนมีมาตรฐานเดียวกัน 

ปัจจุบัน แห้วมีคุณอนันต์ แตกไลน์ผลิตภัณฑ์ครอบคลุมทุกกลุ่มผู้บริโภค สินค้าทุกชิ้นมีคุณภาพได้รับมาตรฐานการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) โดยจำหน่ายแห้วสดแบ่งเป็น 2 แบบ คือ แบบปลอกเปลือกราคากิโลกรัมละ 40 บาทแห้วสดไม่ปลอกเปลือกราคากิโลกรัมละ 25 บาท ส่วนแห้วแปรรูป คือ แห้วแช่อิ่มอบแห้งราคาถุงละ 35 บาทแห้วเฟรนช์ฟรายราคาถุงละ 35 บาท (3 ถุงราคา 100 บาท), แห้ว 7 สี มณี 7 แสง ราคาไม้ละ 10 บาท( 1 ไม้มีแห้ว 8 ลูก), แป้งแห้วราคากิโลกรัมละ 300 บาท และ ชาไข่มุกแห้วราคาถุงละ 35 บาท (3 ถุงราคา 100 บาท)    

นอกจากนี้ คุณอนันต์และชุมชนยังได้จับมือกันรังสรรค์ผืนนาแห้ว ยกระดับพื้นที่เป็นศูนย์การเรียนรู้วิถีเกษตรกรยุคใหม่ เป็นศูนย์กลางการศึกษาดูงานให้กับผู้ที่สนใจปลูกพืชทางการเกษตร สนใจแนวคิดการพัฒนา  หรือแลกเปลี่ยนความรู้อันเป็นประโยชน์ รวมถึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวโฮมสเตย์ โดยที่ผ่านมามีหน่วยงานราชการ หน่วยงานเอกชนนักเรียน นักศึกษา เข้ามาใช้บริการอย่างต่อเนื่อง

ธุรกิจเริ่มมีหน่วยงานราชการ หน่วยงานเอกชน แวะเวียนมาเยี่ยมชม พร้อมให้คำปรึกษาดี  เพิ่มเติมมากมาย อย่างเรื่องการขยายธุรกิจเพื่อชุมชนมั่นคง ก็ได้รับคำแนะนำให้รู้จักกับธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank ทำให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนช่วยขยายธุรกิจ นอกจากนั้น SME D Bank ยังช่วยเหลือต่อเนื่อง ช่วยการผลักดันให้ผลิตภัณฑ์แปรรูปแห้วจากท้องทุ่งนา ยกระดับเป็นคู่ค้ากับโมเดิร์นเทรดใหญ่ระดับประเทศอย่าง “โลตัส” ผ่านกิจกรรมเจรจาธุรกิจ (Business Matching) ที่จัดขึ้นจากความร่วมมือระหว่าง SME D Bank โลตัส และ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดโอกาสให้นำผลิตภัณฑ์จากผู้ประกอบการเอสเอ็มอีทั่วประเทศวางผ่านช่องทางต่างๆ ของโลตัส ช่วยนำรายได้จากเมืองสู่ชุมชน” คุณอนันต์กล่าว

 

โอกาสที่ได้รับจาก SME D Bank ช่วยผลักดันให้กลายเป็นคู่ค้ากับโลตัส นับเป็นวัคซีนเสริมแกร่งธุรกิจที่เข้ามาช่วยต้านวิกฤตโควิด-19 อย่างเป็นรูปธรรม เวลานี้ หลายธุรกิจต้องหยุดชะงัก แต่สำหรับแห้วมีคุณอนันต์แล้ว  เจ้าของธุรกิจบอกว่า  กลับตรงกันข้าม มีออเดอร์ต่อเนื่อง  ช่วยให้คนในชุมชนยังมีรายได้ ยอดสั่งซื้อขยายเติบโตขึ้นเรื่อย  ธุรกิจเดินหน้าได้ตามเป้าหมายที่ต้องการยกระดับแห้วต้มธรรมดา สู่สินค้าแปรรูปที่สร้างมูลค่า สร้างอาชีพให้คนในชุมชนได้ยั่งยืน

“หากถามถึงอนาคต ผมอยากพัฒนาสร้างนวัตกรรมอาหารใหม่  มายกระดับแห้วให้กลายเป็นอาหารที่เหมาะกับผู้บริโภคทั่วโลก ให้แห้วสามารถเป็นอาหารทดแทน เป็นอีกหนึ่งอาหารที่ผู้บริโภคนึกถึง ไม่เฉพาะในประเทศไทย