ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทยเผยผลสำรวจดัชนีSMEs ประจำไตรมาส2/2562 ปรับลดทุกด้านทั้งสถานการณ์ธุรกิจ ความสามารถในการทำธุรกิจ ความยั่งยืนของธุรกิจ และความสามารถในการแข่งขันเชื่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลจะช่วยให้สถานการณ์ปรับตัวดีขึ้น ด้านธพว. ประกาศเดินหน้าแนวทางยกระดับผู้ประกอบการควบคู่พาถึงสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันธุรกิจแกร่ง
ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยร่วมกับธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย(ธพว.) หรือSME D Bank แถลงดัชนีสถานการณ์ธุรกิจSMEs และดัชนีความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจSMEs ประจำไตรมาสที่2/2562 จาก 1,239 ตัวอย่างทั่วประเทศโดยสำรวจ3 ดัชนีได้แก่ 1.ดัชนีสถานการณ์ธุรกิจSMEs (SMEs Situation Index) 2.ดัชนีความสามารถในการทำธุรกิจ (SMEs Competency Index) และ3.ดัชนีความยั่งยืนของธุรกิจSMEs (SMEs Sustainability Index) นำมาประมวลให้เห็นถึงดัชนีความสามารถในการแข่งขันของSMEs (SMEs Competitiveness Index)
ผศ.ดร.ธนวรรธน์พลวิชัย รองอธิการบดีอาวุโสวิชาการและงานวิจัยและผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเผยว่า ดัชนีสถานการณ์ธุรกิจไตรมาส2/2562 อยู่ที่42.7 ปรับตัวลด1.0 จุดเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา(1/2562) และคาดไตรมาส3/2562 จะอยู่ที่41.9 เมื่อจำแนกตามลักษณะการเป็นลูกค้าพบว่า กลุ่มที่ไม่ใช่ลูกค้าของธพว. ดัชนีสถานการณ์ธุรกิจปรับจากระดับ37.4 มาอยู่ที่ระดับ36.2 ส่วนกลุ่มที่เป็นลูกค้าธพว. ดัชนีสถานการณ์ธุรกิจจากระดับ49.0 มาอยู่ที่ระดับ48.0
ด้านดัชนีความสามารถในการทำธุรกิจไตรมาสที่2/2562 อยู่ที่ระดับ48.8 ปรับตัวลดลง1.1 จุด เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาและคาดไตรมาส3/2562 จะอยู่ที่48.1 เมื่อจำแนกตามลักษณะการเป็นลูกค้า พบว่ากลุ่มที่ไม่ได้เป็นลูกค้าธพว. ดัชนีความสามารถในการทำธุรกิจจากระดับ42.2 มาอยู่ที่ระดับ40.8 ขณะที่กลุ่มที่เป็นลูกค้าธพว. จากระดับ57.8 มาอยู่ที่ระดับ56.8 และด้านดัชนีความยั่งยืนของธุรกิจไตรมาสที่2/2562 อยู่ที่ระดับ51.8 ปรับตัวลดลง0.7 จุดเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา และคาดไตรมาส3/2562 จะอยู่ที่50.8 เมื่อจำแนกลักษณะตามการเป็นลูกค้า พบว่า กลุ่มที่ไม่ได้เป็นลูกค้าธพว. ดัชนีจากระดับ45.3 มาอยู่ที่ระดับ44.5 ขณะที่กลุ่มที่เป็นลูกค้าธพว. จากระดับ59.6 มาอยู่ที่ระดับ59.1
ผศ.ดร.ธนวรรธน์ กล่าวต่อว่า จาก3 ดัชนีข้างต้นนำมาสู่ดัชนีความสามารถในการแข่งขันของSMEs ไตรมาสที่2/2562 พบว่าอยู่ที่ระดับ47.8 ปรับตัวลดลง0.9 จุดเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาและคาดว่าในไตรมาสที่3/2562 จะอยู่ที่ระดับ46.9 เมื่อจำแนกตามลักษณะการเป็นลูกค้า พบว่ากลุ่มที่ไม่ได้เป็นลูกค้าธพว. ดัชนีความสามารถในการแข่งขันลดลงจาก41.6 มาอยู่ที่40.5 ส่วนลูกค้าธพว. ดัชนีความสามารถในการแข่งขันจาก55.5 มาอยู่ที่54.7 ส่วนความต้องการความช่วยเหลือสนับสนุนหรือพัฒนากิจการจากภาครัฐนั้นกลุ่มตัวอย่างระบุว่าด้านการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเช่นการกระตุ้นเศรษฐกิจส่งเสริมอาชีพให้แก่ประชาชนสร้างความเชื่อมั่นให้นักธุรกิจ ด้านการท่องเที่ยวเช่นส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวของประเทศกระตุ้นการท่องเที่ยวเพื่อเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวอนุรักษ์ธรรมชาติ ด้านสินเชื่อเช่นการปรับโครงสร้างหนี้การลดอัตราดอกเบี้ยและการสนับสนุนเงินกู้ส่งเสริมความสามารถในการลงทุนการทำธุรกิจและด้านสินค้าและบริการเช่นสนับสนุนสินค้าไทยเพิ่มการพัฒนาการผลิตสินค้าในชุมชนสนับสนุนเงินลงทุนและขยายแหล่งส่งออกสินค้า
อย่างไรก็ตามผลสำรวจดังกล่าวดำเนินการก่อนที่รัฐบาลจะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจแต่เมื่อมีมาตรการกระตุ้นดังกล่าวออกมาแล้วเชื่อว่าจะมีส่วนสำคัญทั้งทางตรงและทางอ้อม ไม่ว่าจะเป็นช่วยให้คนมีรายได้และเพิ่มการใช้จ่ายมากขึ้น นักท่องเที่ยวมากขึ้น ธุรกิจมีสภาพคล่องและรายได้มากขึ้น ต้นทุนธุรกิจลดลงจากภาระอัตราดอกเบี้ยลดลง ทำให้สถานการณ์ของSMEs ไทยขยับปรับดีขึ้น
นายพงชาญ สำเภาเงิน รองกรรมการผู้จัดการรักษาการแทนกรรมการผู้จัดการSME D Bank กล่าวเสริมว่า จากผลสำรวจดังกล่าว กลุ่มเอสเอ็มอีที่เป็นลูกค้าธพว. ค่าเฉลี่ยดัชนีทุกด้านยังสูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้เป็นลูกค้าธพว. เนื่องจากธนาคารมีกระบวนการพัฒนาผู้ประกอบการคู่กับการให้เงินกู้เช่น การจัดอบรมจับคู่ธุรกิจช่วยขยายตลาด และต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์เป็นต้นทำให้ลูกค้าธพว. มีศักยภาพสามารถปรับตัวทันโลกธุรกิจยุคใหม่ ดังนั้น ธนาคารจะเดินหน้าแนวทางพัฒนาผู้ประกอบการต่อเนื่องเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ผู้ประกอบการมีภูมิคุ้มกันทางธุรกิจลดผลกระทบจากปัจจัยภายนอก ควบคู่กับเติมทุนด้วยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำสร้างโอกาสนำไปใช้เสริมสภาพคล่องลงทุนขยายปรับปรุงธุรกิจหรือเป็นทุนหมุนเวียน ช่วยให้ศักยภาพ สามารถปรับตัวก้าวข้ามอุปสรรคที่เกิดขึ้นได้ ทั้งนี้ธนาคารเตรียมผลิตภัณฑ์สินเชื่อดอกเบี้ยพิเศษไว้รองรับเช่นสินเชื่อนิติบุคคล555 วงเงินกู้สูงสุด15 ล้านบาทดอกเบี้ยเฉลี่ย7 ปี อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น0.479%ต่อเดือน สินเชื่อเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชนคิดดอกเบี้ยถูกนิติบุคคล3 ปีแรกเพียง0.25% ต่อเดือนและบุคคลธรรมดา3 ปีแรกเพียง0.42% ต่อเดือน เป็นต้นตั้งเป้าว่าภายในปีนี้(2562) จะสนับสนุนผู้ประกอบการเข้าถึงแหล่งทุนได้กว่า60,000 ล้านบาท