บริษัท เงินติดล้อ จำกัด (มหาชน) หรือ ‘TIDLOR’ เตรียมเสนอขายหุ้น IPO ขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาของหุ้นในกลุ่มธุรกิจเงินทุนและหลักทรัพย์ กำหนดช่วงราคาเสนอขายเบื้องต้นที่ 34.00 – 36.50 บาทต่อหุ้น เปิดโอกาสให้นักลงทุนรายย่อยที่สนใจร่วมเป็นเจ้าของและเติบโตไปกับเงินติดล้อ สามารถจองซื้อหุ้น TIDLOR ผ่านช่องทางออนไลน์ของตัวแทนจำหน่ายหุ้นทั้ง 3 รายในวันที่ 22 – 26 เมษายนนี้ กำหนดจองซื้อขั้นต่ำ 1,000 หุ้นที่ราคาเสนอขายสุงสุดที่36.50 บาทต่อหุ้น โดยจะใช้วิธีจัดสรรหุ้นแบบ Small Lot First โดยทีมผู้บริหารชูจุดแข็งด้วยโมเดลธุรกิจที่เป็นเอกลักษณ์ มุ่งเน้นการขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่ไม่หยุดนิ่งรับยุคดิจิทัล เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีและความสะดวกแก่ลูกค้าผ่านช่องทางการให้บริการที่หลากหลาย พร้อมเผยผลประกอบการที่แข็งแกร่งผ่านยอดสินเชื่อและเบี้ยประกันวินาศภัยที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง ภายใต้การบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ ตอกย้ำการเป็นผู้นำธุรกิจสินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกัน และหนึ่งในผู้นำธุรกิจนายหน้าประกันภัยเพื่อรายย่อยในประเทศไทย
นายปิยะศักดิ์ อุกฤษฎ์นุกูล กรรมการผู้จัดการใหญ่ เปิดเผยว่า เงินติดล้อมีความมุ่งมั่นที่จะรักษาความเป็นผู้นำในธุรกิจสินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกัน และก้าวสู่การเป็นผู้นำธุรกิจนายหน้าประกันภัยสำหรับรายย่อย ด้วยความตั้งใจที่จะส่งเสริมและยกระดับคุณภาพชีวิตผู้คนให้เข้าถึงบริการทางการเงินอย่างเท่าเทียม โปร่งใส และเป็นธรรมโดยการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในครั้งนี้ จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งและเพิ่มศักยภาพด้านเงินทุนเพื่อรองรับการเติบโตอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนในอนาคต
ที่ผ่านมาเงินติดล้อ ได้ผสมผสานความเชี่ยวชาญด้านการให้บริการทางการเงินเข้ากับเทคโนโลยีดิจิทัลที่พัฒนาขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่เรียบง่าย สะดวก รวดเร็ว และเหมาะสมต่อลูกค้า โดยเงินติดล้อมุ่งนำเสนอผลิตภัณฑ์สินเชื่อที่หลากหลาย เช่น สินเชื่อรถจักรยานยนต์ รถยนต์ รถบรรทุก รถไถ รถแทรกเตอร์เป็นต้น โดยมีฐานลูกค้าเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ของประเทศที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 10,000 บาท มีเงินหมุนเวียนไม่แน่นอนและประวัติข้อมูลทางการเงินจำกัด ผ่านการให้บริการด้วยความจริงใจของพนักงานชาวเงินติดล้อที่ขับเคลื่อนด้วยค่านิยมหลัก 7 ข้อ อาทิ ชาวเงินติดล้อล้วนมีจิตวิญญาณความเป็นเจ้าของ ทำงานด้วยความรู้สึกว่าบริษัทนี้เป็นของพวกเรา มีความตั้งใจที่จะทำในสิ่งที่ดี โดยสำหรับการ IPO ในครั้งนี้ เราให้สิทธิพนักงานของเงินติดล้อกว่า 5,000 คนมีโอกาสจองซื้อหุ้นที่ราคา IPO เพื่อร่วมเป็นเจ้าของและเติบโตไปด้วยกัน นอกจากนี้ ชาวเงินติดล้อยังเป็นผู้กระหายเรียนรู้และไม่หยุดพัฒนาตัวเอง และที่เงินติดล้อ เราสนับสนุนให้พนักงานกล้าคิดกล้าลองทำสิ่งใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการทำงานหรือนวัตกรรมใหม่ๆซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลให้เราสามารถออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการที่ตรงตามความต้องการของลูกค้าได้เป็นอย่างดี โดยล่าสุดเราได้นำเสนอบัตรติดล้อซึ่งเป็นบัตรกดเงินสดหมุนเวียนที่ช่วยให้ลูกค้าสามารถกดเงินสดเพิ่มเติมตามวงเงินสินเชื่อที่ได้รับการอนุมัติโดยไม่ต้องยื่นเอกสารใหม่ ผ่านตู้ ATM ของธนาคารพาณิชย์ชั้นนำที่เป็นคู่ค้าตลอด 24ชั่วโมง เป็นต้น ดัวยวัฒนธรรมองค์กรของเงินติดล้อที่โดดเด่นและแตกต่าง ส่งผลให้เงินติดล้อเป็นผู้นำธุรกิจสินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกันครบวงจร ที่มีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับ 1 เมื่อคำนวณจากยอดหนี้คงค้างในปี 2562(อ้างอิงข้อมูลจากโอลิเวอร์ ไวแมน) ส่วนธุรกิจนายหน้าประกันภัยมีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย ได้แก่ ประกันวินาศภัยแก่ลูกค้ารายย่อย ประกันชีวิตแก่ลูกค้าสินเชื่อ ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับและภาคสมัครใจ ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล โดยเงินติดล้อ เป็น 1 ใน 3 ผู้นำธุรกิจนายหน้าประกันวินาศภัยที่จำหน่ายแก่ลูกค้ารายย่อย และในปี 2562 – 2563 เบี้ยประกันวินาศภัยที่จัดเก็บได้มีอัตราเติบโตสูงกว่าการเติบโตของภาพรวมเบี้ยประกันวินาศภัยทั้งตลาด 12.5 เท่า โดยมีความเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่า ด้วยปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่ง เงินติดล้อจะสามารถสร้างการเติบโตอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนได้ในอนาคต
นางสาวภคมน ตุลยาพิศิษฐ์ชัย ผู้อำนวยการอาวุโส แผนก Digital Transformation กล่าวว่า เงินติดล้อให้ความสำคัญกับการนำนวัตกรรมทางเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้เพื่อเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัล อาทิ โปรแกรมถามตอบอัตโนมัติ (Chatbot), กระบวนการทำงานอัตโนมัติโดยหุ่นยนต์ (Robotic Process Automation), ระบบการแสดงสถานะ (Dashboard) แบบเรียลไทม์ เป็นต้น เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีแก่ลูกค้า ช่วยลดอัตราการเพิ่มบุคลากร และเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน ส่งผลให้เงินติดล้อมีลูกค้าที่ทำธุรกรรมผ่านช่องทางดิจิทัลเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วโดยมีลูกค้าชำระเงินกู้และค่างวดเบี้ยประกันรถยนต์ทางออนไลน์กว่า 1.1 ล้านรายการ ในปี 2563 ที่ผ่านมา และเว็บไซต์ของเงินติดล้อมีการเข้าถึงมากกว่า 3 เท่าของผู้ให้บริการรายอื่นในธุรกิจใกล้เคียง ระยะเวลาช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2562 ถึงเดือนกรกฎาคม 2563 นอกจากนี้ เงินติดล้อยังได้พัฒนาแพลตฟอร์มอารีเกเตอร์ (Areegator) ซึ่งสามารถเข้าถึงได้โดยบริษัทประกันวินาศภัยที่เป็นคู่ค้า 16ราย ทำให้ลูกค้าของเราสามารถเปรียบเทียบเบี้ยประกันภัยและความคุ้มครองเพื่อตอบสนองความต้องการเฉพาะของลูกค้าแต่ละราย เพื่อให้นายหน้าประกันภัยอิสระสามารถเข้าถึงคู่ค้าบริษัทประกันภัยของเงินติดล้อ เพื่อความสะดวกและยังสามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์ประกันภัยให้กับลูกค้าได้อย่างมีมาตรฐาน และหลากหลายทางเลือก
นายวีรภัทร์ วิริยะโกวิทยา ผู้บริหารระดับสูงฝ่ายบัญชีและการเงิน เปิดเผยว่า ธุรกิจสินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกันของเงินติดล้อมีการเติบโตอย่างแข็งแกร่งโดยมียอดสินเชื่อคงค้าง ณ สิ้นปี 2561 2562 และ 2563 อยู่ที่39,724.1 ล้านบาท 47,979.4 ล้านบาท และ 51,331.2 ล้านบาท ตามลำดับ และมีการฟื้นตัวอย่างรวดเร็วภายหลังเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในปีที่ผ่านมา ขณะที่ธุรกิจนายหน้าประกันภัยมีการเติบโตอย่างรวดเร็วและเป็นแรงผลักดันมูลค่าและการเติบโตที่สำคัญ โดยเงินติดล้อมีค่าเบี้ยประกันวินาศภัยที่ขายได้ ณ สิ้นปี 2561 2562 และ 2563 อยู่ที่ 1,917.7 ล้านบาท 2,854.3 ล้านบาท และ 4,010.9ล้านบาท ตามลำดับ ด้วยอัตราเติบโตร้อยละ 48.8 และ ร้อยละ 40.5 ในปี 2562 และ 2563 ตามลำดับ นอกจากนี้เรายังมีแหล่งเงินทุนที่หลากหลายและมีต้นทุนทางการเงินที่ต่ำจากการได้รับการจัดอันดับเครดิตโดย Tris Rating ในระดับ A- ซึ่งสูงกว่าผู้ให้บริการรายอื่น ในส่วนของการบริหารความเสี่ยง เรามีนโยบายการตั้งสำรองที่รัดกุม มีอัตราส่วน NPL Coverage สูงถึงร้อยละ 325.1 และสามารถรักษาอัตราส่วน NPL ให้อยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 1.7 ณ สิ้นปี 2563 ทั้งหมดนี้ ส่งผลให้เงินติดล้อมีภาพรวมผลการดำเนินงานที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยระหว่างปี 2561 – 2563 มีรายได้รวม 7,569.4 ล้านบาท 9,457.9 ล้านบาท และ 10,558.9 ล้านบาท ตามลำดับ และมีกำไรสุทธิ 1,306.2 ล้านบาท 2,201.7 ล้านบาท และ 2,416.1 ล้านบาท ตามลำดับ โดยมีอัตราเติบโตเฉลี่ยต่อปีของกำไรสุทธิอยู่ที่ร้อยละ 36.0 ในช่วงเวลาเดียวกัน
ทั้งนี้ เงินติดล้อ ได้วางกลยุทธ์รักษาความเป็นผู้นำธุรกิจสินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกัน ผ่านการขยายเครือข่าย
อีกประมาณ 500 แห่งภายในปี 2566 เพิ่มตัวแทนและพนักงานขายทางโทรศัพท์ และการลงทุนด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี พัฒนาแพลตฟอร์มทางการเงินและเปลี่ยนผ่านกระบวนต่างๆ สู่ดิจิทัล (Digital Transformation) โดยการลงทุนอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างประสบการณ์ซื้อสินค้าและบริการจากหลากหลายช่องทางแก่ลูกค้า พร้อมสร้างความแข็งแกร่งให้แพลตฟอร์มนายหน้าประกันภัยและมุ่งสู่การเป็นนายหน้าประกันภัยชั้นนำของประเทศไทย นอกจากนี้ เงินติดล้อยังมอง