“ก.ล.ต. กำกับดูแลอะไร ในจักรวาล “สินทรัพย์ดิจิทัล” เพื่อคุ้มครองผู้ลงทุน”

..กำกับดูแลอะไร ในจักรวาล “สินทรัพย์ดิจิทัล” เพื่อคุ้มครองผู้ลงทุนบทความโดยนางสาวนภนวลพรรณ ภวสันต์ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมเทคโนโลยีทางการเงิน สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (...) เมื่อพูดถึงการกำกับดูแล “สินทรัพย์ดิจิทัล” ซึ่งประกอบด้วยคริปโทเคอร์เรนซี และ โทเคนดิจิทัล ทุกสายตาน่าจะพุ่งตรงมาที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (...) ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแล ภายใต้พระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล .. 2561 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ผ่านมาที่ราคาซื้อขายบิทคอยน์มีความร้อนแรงและสร้างกระแสความนิยมในสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างมากขณะที่หลายคนอาจมีคำถามว่า ..กำกับดูแลอะไร ในระบบนิเวศของสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset Ecosystem) หรืออยู่ตรงไหนในจักรวาลของ “สินทรัพย์ดิจิทัล” และต้องทำอะไรเพื่อคุ้มครองผู้ลงทุน มีอะไรใน “ระบบนิเวศของสินทรัพย์ดิจิทัล” หากมองไปในระบบนิเวศของสินทรัพย์ดิจิทัลจะพบว่า นอกจากคริปโทเคอร์เรนซี และ โทเคนดิจิทัลแล้ว ยังมีกิจการและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องอีกหลากหลาย ซึ่งต้องมาทำความรู้จักกันสักหน่อยสินทรัพย์ดิจิทัล แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ คริปโทเคอร์เรนซี และ โทเคนดิจิทัล ซึ่งมีลักษณะและการกำกับดูแลที่แตกต่างกัน

(1) คริปโทเคอร์เรนซี (cryptocurrency) เป็นเหรียญดิจิทัลที่ใช้เป็นสื่อกลางในการซื้อขายแลกเปลี่ยน (means of payment) เพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้า บริการ หรือสิทธิอื่นใด หรือแลกเปลี่ยนระหว่างสินทรัพย์ดิจิทัลด้วยกัน เช่น บิทคอยน์ อีเธอเรียม เป็นต้น รวมทั้งคริปโทเคอร์เรนซีที่มีการตรึงมูลค่า (peg) ไว้กับสินทรัพย์ที่มีความมั่นคง เช่นทองคำ สกุลเงินต่าง  หรือที่เรียกว่า “stable coin”

(2) โทเคนดิจิทัล (digital token) เป็นเหรียญดิจิทัลที่ให้สิทธิแก่ผู้ถือเหรียญ โดยแยกย่อยเป็น 2 ประเภท ได้แก่

2.1 investment token ให้สิทธิในการเข้าร่วมลงทุนในโครงการหรือกิจการใด 

2.2 utility token ให้สิทธิแก่ผู้ถือในการได้มาซึ่งสินค้า บริการ หรือสิทธิอื่นใดที่เฉพาะเจาะจง โดย utility token ยังแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ “utility token พร้อมใช้” และ “utility token ไม่พร้อมใช้

• utility token พร้อมใช้ สามารถใช้สิทธิแลกหรือใช้บริการได้ทันทีตั้งแต่วันที่เสนอขายครั้งแรก

• utility token ไม่พร้อมใช้ ยังไม่พร้อมให้ใช้สิทธิแลกหรือใช้ประโยชน์สินค้าหรือบริการนั้น ต้องรอใช้สิทธิในอนาคต เพราะจะต้องนำเงินที่ได้จากการขาย utility token ไปจัดหาสินค้าหรือพัฒนาบริการให้เสร็จก่อน

กิจการที่เกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล มีอยู่หลากหลายกลุ่ม หลากหลายประเภท ตั้งแต่เริ่มต้นการออกเสนอขายเหมืองขุด ที่ปรึกษาการลงทุน ผู้จัดการเงินทุน ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล ผู้รับฝากทรัพย์สิน กระเป๋าเงินดิจิทัลและอื่น  ที่เกี่ยวข้อง

..กำกับดูแล “สินทรัพย์ดิจิทัล” อย่างไร

แม้ว่า ..จะกำกับดูแลสินทรัพย์ดิจิทัล แต่ไม่ได้ครอบคลุมทั้งจักรวาล “สินทรัพย์ดิจิทัล” โดย ..สินทรัพย์ดิจิทัลฯ และกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง กำหนดให้ ..กำกับดูแลการออกเสนอขาย “investment token”และ “utility token ไม่พร้อมใช้ เนื่องจากมีลักษณะเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อการลงทุนเช่นเดียวกับหลักทรัพย์ มีการให้สิทธิแก่ผู้ลงทุนในโครงการ และมีความผูกพันในทางกฎหมายระหว่างผู้ออกและผู้ถือ
โทเคนดิจิทัล โดยผู้ออกเสนอขายโทเคนดิจิทัล (ICO Issuer) จะต้องได้รับอนุญาตจาก ..มีการเปิดเผยข้อมูลตามที่กำหนด และต้องเสนอขายผ่านผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล (ICO Portal) ที่ได้รับความเห็นชอบจาก ...  

แต่หากเป็นการออกเสนอขายคริปโทเคอร์เรนซี รวมทั้ง stable coin ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อเป็นสื่อกลางในการซื้อขายแลกเปลี่ยน ไม่ได้มีโครงการหรือกิจการใด  รองรับนั้น ..ไม่ได้กำกับดูแลการออกเสนอขายคริปโทเคอร์เรนซี แต่จะกำกับดูแลการทำหน้าที่ของผู้ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวกับคริปโทเคอร์เรนซี

สำหรับผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ..ในปัจจุบันมีอยู่ 5 ประเภท ทั้งการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับคริปโทเคอร์เรนซี และ โทเคนดิจิทัล ได้แก่ ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล (exchange) นายหน้าซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล (broker) ผู้ค้าสินทรัพย์ดิจิทัล (dealer) ที่ปรึกษาสินทรัพย์ดิจิทัล (investment advisor) และผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัล (fund manager) ต้องได้รับใบอนุญาตในการประกอบธุรกิจจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โดยต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่ ..กำหนด เช่น การมีเงินทุนเพียงพอรองรับความเสี่ยง การทำความรู้จักตัวตนของลูกค้า การเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้า การมีระบบต่าง  ที่ได้มาตรฐานตามที่ ..กำหนด และมีความปลอดภัยทางไซเบอร์ เพื่อให้มั่นใจได้ว่ามีความพร้อมด้านระบบงานและสามารถให้บริการแก่ผู้ลงทุนเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดด้วยความรับผิดชอบ

ทั้งนี้ สามารถตรวจสอบรายชื่อผู้ประกอบธุรกิจและผู้ประกอบวิชาชีพที่ได้รับใบอนุญาต รวมทั้งบุคคลที่มิใช่ผู้ประกอบธุรกิจภายใต้การกำกับดูแลของ ..ได้ที่ www.sec.or.th และแอปพลิเคชัน “SEC Check First” เพราะหากไปใช้บริการกับผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่ไม่ได้รับใบอนุญาต ..จะไม่สามารถเข้าไปดูแลผู้ลงทุนได้

ปรับปรุงการกำกับดูแลเพื่อเพิ่มการคุ้มครองผู้ลงทุน

• การคุ้มครองผู้ลงทุนในคริปโทเคอร์เรนซี

จากความร้อนแรงที่เกิดขึ้นในตลาดสินทรัพย์ดิจิทัล ..จึงออกคำเตือนประชาชนให้ระมัดระวังหากจะลงทุนในคริปโทเคอร์เรนซี รวมทั้งเปิดรับฟังความเห็นเกี่ยวกับหลักการการกำหนดคุณสมบัติผู้ลงทุนในคริปโทเคอร์เรนซีและการทำ knowledge test เพื่อคุ้มครองผู้ลงทุน เช่นเดียวกับหน่วยงานกำกับดูแลในหลาย  ประเทศที่มีการแสดงท่าทีเป็นห่วง ซึ่งได้ออกมาเตือนผู้ลงทุนหรือมีแนวทางจะกำหนดคุณสมบัติผู้ลงทุน 
เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ สหภาพยุโรป ฮ่องกง เป็นต้น

อย่างไรก็ดี แนวคิดการกำหนดคุณสมบัติผู้ลงทุนในคริปโทเคอร์เรนซีและการทำ knowledge test โดย ..นั้น ยังอยู่ระหว่างการเปิดรับฟังความคิดเห็นเท่านั้น โดยผู้สนใจสามารถร่วมแสดงความคิดเห็นได้ที่ลิงก์นี้https://bit.ly/3knvOOk ได้ถึงวันที่ 27 มีนาคม 2564 ซึ่ง ..จะนำมาพิจารณาในการกำหนดนโยบาย รวมทั้งเปิดเผยผลการรับฟังความคิดเห็นให้สาธารณชนได้ทราบต่อไป

• การออกเสนอขายโทเคนดิจิทัล

ในช่วงที่ผ่านมา ..ยังได้ปรับปรุงกฎเกณฑ์การกำกับดูแลการออกเสนอขายโทเคนดิจิทัลที่อ้างอิงหรือมีกระแสรายรับจากอสังหาริมทรัพย์ (real estate-backed token) โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2564 เพื่อยกระดับการคุ้มครองผู้ลงทุนให้เทียบเคียงกับทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์(REITs) ซึ่งเป็นหลักทรัพย์ที่มีลักษณะคล้ายกัน  พร้อมกันนี้ ยังมีแผนที่จะยกระดับการกำกับดูแลโทเคนดิจิทัลในลักษณะอื่น  รวมทั้งมีแนวคิดที่จะทบทวนข้อกำหนดเกี่ยวกับสัดส่วนและจำนวนการลงทุนของผู้ลงทุนรายย่อยที่ใช้บังคับมาตั้งแต่ปี 2561 เพื่อสนับสนุนการลงทุนในโทเคนดิจิทัล  ทั้งหมดนี้ก็เพื่อให้การกำกับดูแลสินทรัพย์ดิจิทัลให้มีมาตรฐานตามที่กำหนด และเพิ่มการคุ้มครองผู้ลงทุนให้เทียบเคียงได้กับการลงทุนในหลักทรัพย์