ดับบลิวเอชเอ กรุ๊ป มองเห็นสัญญาณการฟื้นตัว ยืนหยัดพัฒนาธุรกิจให้เติบโตต่อเนื่อง


บริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (ดับบลิวเอชเอ กรุ๊ป) มองเห็นสัญญาณการฟื้นตัวของธุรกิจทั้ง 4 กลุ่ม ภายในปี 2563 ประกาศพร้อมรับการกลับมาของนักลงทุนต่างชาติ เตรียมเซ็นสัญญาเช่าคลังสินค้าและโรงงาน ตลอดจนการซื้อขายที่ดินอีกหลายฉบับ มั่นใจความต้องการด้านสาธารณูปโภคน้ำ ไฟฟ้า และแพลตฟอร์มดิจิทัล เพิ่มสูงขึ้น

 

• ธุรกิจโลจิสติกส์ เป็นกลุ่มธุรกิจของดับบลิวเอชเอ กรุ๊ป ที่ยังคงเห็นการเติบโตอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี จากการผนึกกำลังกับพันธมิตรในระยะยาว ตลอดจนอุปสงค์ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจากธุรกิจอีคอมเมิร์ซ โดยในครึ่งแรกของปี 2563 มีการลงนามในสัญญาเพื่อเช่าคลังสินค้าแบบ Buit-to-Suit รวมถึงโรงงานสำเร็จรูป (RBF) และคลังสินค้าสำเร็จรูป(RBW) ไปแล้วเกือบ 100,000 ตารางเมตร และในไตรมาสที่ เองก็ได้มีการลงนามสัญญาอีกประมาณ 40,000 ตารางเมตร นอกจากนั้นบริษัทฯ ก็อยู่ระหว่างการเจรจาให้เช่าพื้นที่คลังสินค้าอีกกว่า 170,000 ตารางเมตรกับกลุ่มลูกค้าที่เป็นผู้ประกอบการธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ธุรกิจอาหาร และธุรกิจผู้ประกอบการโลจิสติกส์ โดยบริษัทฯ คาดว่าพื้นที่คลังสินค้าภายใต้การถือครองและบริหารทั้งหมดของบริษัทฯ จะเพิ่มขึ้นเป็น 2,560,000 ตารางเมตร ภายในสิ้นปี 2563 นี้

 

ตลอดปีที่ผ่านมา  บริษัทฯ ได้เดินหน้าพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการอย่างต่อเนื่องด้วยการเตรียมนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมขั้นสูงมาใช้ในการบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ อาทิเทคโนโลยี 5Gอินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ (IoT),ระบบการจัดเก็บและเรียกคืนสินค้าอัตโนมัติ (AS/RS) และรถลำเลียงสินค้าอัตโนมัติ (AGV) นวัตกรรมล้ำสมัยเหล่านี้ช่วยให้การทำงานเป็นระบบอัตโนมัติมากขึ้น ทำให้มีความยืดหยุ่นและสอดคล้องกันทั่วทั้งองค์กร พร้อมขับเคลื่อนพันธกิจของดับบลิวเอชเอกรุ๊ปในการเป็นศูนย์โลจิสติกส์และนิคมอุตสาหกรรมอัจฉริยะอย่างสมบูรณ์แบบ โดยดับบลิวเอชเอ กรุ๊ป วางแผนว่าจะขายพื้นที่คลังสินค้า Built-to-Suit จำนวน 130,000 ตารางเมตร เข้ากองทรัสต์ WHART และพื้นที่โรงงาน RBF และคลังสินค้า RBW จำนวน 50,000 ตารางเมตร เข้ากองทรัสต์ HREIT คิดเป็นมูลค่าทรัพย์สินรวม 4,600 ล้านบาท

 

• ธุรกิจนิคมอุตสาหกรรม บมจ. ดับบลิวเอชเอ อินดัสเตรียล ดีเวลลอปเมนท์ ยังคงตอกย้ำตำแหน่งผู้นำในการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมของประเทศไทย โดยนิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเออีสเทิร์นซีบอร์ด 3 ครอบคลุมพื้นที่รวม 2,200 ไร่ ได้ดำเนินการพัฒนาใกล้เสร็จสมบูรณ์แล้ว นอกจากนี้ การก่อสร้างของนิคมอุตสาหกรรมแห่งที่ 11 ของดับบลิวเอชเอได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ ระยอง 36 จะเริ่มขึ้นในไตรมาสที่ 4 ปี 2563 หลังจากได้รับการอนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้างและผ่านการรับรองตามมาตรฐานของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ไปแล้วก่อนหน้านี้ นอกจากนี้ โครงการขยายนิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเออีสเทิร์นซีบอร์ด 4 ในพื้นที่อีอีซี และเขตประกอบการอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ สระบุรี 2 มีกำหนดเริ่มดำเนินการตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ทั้งนี้ดับบลิวเอชเอ พร้อมรองรับการขยายธุรกิจในอนาคตเพื่อเตรียมต้อนรับนักลงทุนที่วางแผนย้ายฐานการผลิตมายังประเทศไทยจากผลกระทบของความตึงเครียดทางการค้าหรือการหยุดชะงักของซัพพลายเชน

 

ทั้งนี้บริษัทฯ ได้มีการปรับเป้าหมายยอดขายที่ดินในปี 2563 เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันโดยตั้งเป้ายอดขายที่ดินรวมทั้งปีเท่ากับ 900 ไร่ แบ่งเป็นยอดขายในประเทศไทย 600 ไร่ และประเทศเวียดนาม 300 ไร่ ซึ่งแม้ว่าในช่วงที่ผ่านมาการเจรจาเพื่อขายและส่งมอบที่ดินจะยังไม่สามารถทำได้เต็มที่นักเนื่องจากข้อจำกัดการเดินทางแต่บริษัทฯ ก็ได้มีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่อาทิ โดรน มาใช้เพื่อสนับสนุนกิจกรรมการขายที่ดิน ตลอดจนได้มีการเสนอแนวทางเปิดน่านฟ้าและมาตรการรองรับการเดินทางสำหรับนักธุรกิจโดยเฉพาะต่อภาครัฐเพื่อสนับสนุนให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างสะดวกมากขึ้น

 

นอกจากนี้ เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา บมจ.ดับบลิวเอชเอ อินดัสเตรียล ดีเวลลอปเมนท์ ได้ประกาศการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนภายใต้ชื่อ บริษัท บีไอจี ดับบลิวเอชเอ อินดัสเทรียลแก๊ส จำกัด ร่วมกับบริษัท บางกอกอินดัสเทรียลแก๊ส จำกัด หรือ บีไอจี สร้างโรงผลิตก๊าซอุตสาหกรรมและระบบท่อส่งก๊าซ เพื่อให้บริการลูกค้าที่ต้องการใช้ไนโตรเจนในนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด (ระยอง)  และนิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ  อีสเทิร์นซีบอร์ด 1  ซึ่งเป็นคลัสเตอร์อุตสาหกรรมยานยนต์ที่สำคัญของไทย และเตรียมขยายการให้บริการไปยังนิคมอุตสาหกรรมอื่น  ของดับบลิวเอชเอต่อไป

 

เมื่อเร็วๆ นี้ บมจ. ดับบลิวเอชเอ อินดัสเตรียลดีเวลลอปเมนท์ ยังได้ประกาศการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนภายใต้ชื่อ บริษัท ดับบลิวเอชเอ ทัสจำกัด วมกับ ทัส-โฮลดิ้งส์ ผู้พัฒนาศูนย์บ่มเพาะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นนำจากประเทศจีน ภายใต้มหาวิทยาลัยชิงหวา มหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศจีน โดยดับบลิวเอชเอ ทัส จะจัดตั้งศูนย์สร้างนวัตกรรมและบ่มเพาะธุรกิจภายใต้ชื่อ ทัสพาร์ค ดับบลิวเอชเอ แห่งแรกในประเทศไทย ภายในพื้นที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บนถนนพระราม 4 ตั้งเป้าหมายขับเคลื่อนสตาร์ทอัพและส่งเสริมความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างจีนและประเทศไทย ตลอดจนประเทศอื่นๆ ในอาเซียน

 

ในประเทศเวียดนาม เขตอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ อินดัสเตรียล โซน เหงะอาน ยังคงดึงดูดการลงทุนจากลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง โดยในปีที่ผ่านมาได้ต้อนรับลูกค้ากลุ่มแรกจากจีน ญี่ปุ่น และประเทศไทย เตรียมดำเนินการผลิตสินค้าหลากหลายในอุตสาหกรรมต่างๆ อาทิ เครื่องแต่งกาย ชิ้นส่วนยานยนต์ วัสดุก่อสร้าง การแปรรูปอาหาร พลังงานแสงอาทิตย์ ผลิตภัณฑ์จากสเตนเลสสตีล และอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีลูกค้าดำเนินการซื้อขายที่ดิไปแล้วกว่าครึ่งหนึ่งของพื้นที่ขายในส่วนแผนงานที่ 1 ของเขตอุตสาหกรรมฯ เฟสที่ 1ซึ่งมีพื้นที่จำนวน 145 เฮกเตอร์

เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 บมจ. ดับบลิวเอชเอ อินดัสเตรียล ดีเวลลอปเมนท์ คาดว่าจะได้รับอานิสงส์จากการย้ายฐานการลงทุนของบริษัทต่างชาติ โดยเฉพาะนักลงทุนจากญี่ปุ่นและไต้หวันที่ต้องการย้ายฐานการผลิตจากจีนมายังประเทศไทยและเวียดนาม

 

• ธุรกิจสาธารณูปโภค และพลังงาน บมจ.ดับบลิวเอชเอ ยูทิลิตี้ส์ แอนด์ พาวเวอร์ มั่นใจครึ่งปีหลังธุรกิจฟื้นตัวได้อานิสงส์จากสถานการณ์ภัยแล้งคลี่คลาย ส่งผลให้ผู้ประกอบการกลับมาดำเนินธุรกิจได้อย่างปกติ โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและยานยนต์ รวมถึงการดำเนินธุรกิจของลูกค้ากลุ่มใหม่   

 

ด้านสาธารณูปโภค บมจ. ดับบลิวเอชเอ ยูทิลิตี้ส์ แอนด์ พาวเวอร์ จะนำเสนอผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นที่มาพร้อมกับนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ช่วยเพิ่มมูลค่าอย่างต่อเนื่อง อาทิ  Wastewater Reclamation และ การผลิตน้ำปราศจากแร่ธาตุ (Demineralized Water) โดยในครึ่งแรกของปี 2563 ได้มีการส่งมอบReclamation Plant กำลังผลิต 5,200 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน เพื่อผลิตน้ำอุตสาหกรรมระดับพรีเมียม (Premium CW) ให้กับโรงไฟฟ้าของกัลฟ์ พร้อมกันนี้จะมีโครงการใหม่ ประกอบด้วยWastewater Reclamation Plant ที่ใหญ่ที่สุดของไทย ด้วยกำลังผลิต 25,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ในนิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ ตะวันออก (มาบตาพุด) และโรงงานผลิตน้ำปราศจากแร่ธาตุ เฟส 2 เพื่อให้บริการแก่บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) (GPSCในนิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ ตะวันออก (มาบตาพุด) ที่จะเริ่มดำเนินการภายในไตรมาส 4 ปีนี้ ปัจจุบัน ปริมาณน้ำ Reclaimed คิดเป็นกว่าร้อยละ 15 ของปริมาณความต้องการน้ำทั้งหมดของกลุ่มลูกค้าในนิคมอุตสาหกรรมของดับบลิวเอชเอ นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังตั้งเป้าที่จะขยายบริการน้ำแบบครบวงจรไปยังลูกค้านอกนิคมอุตสาหกรรม และขยายผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มมูลค่า ได้แก่ โครงการการนำน้ำทะเลมาผลิตเป็นน้ำจืด (Desalination) ซึ่งอยู่ในระหว่างการศึกษาวิจัย

 

ในประเทศเวียดนาม การบำบัดน้ำเสียแบบระบบบ่อเติมอากาศและระบบบำบัดน้ำเสียแบบบึงประดิษฐ์ เริ่มดำเนินการในเขตอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ อินดัสเตรียล โซน -   เหงะอาน  เพื่อรองรับความต้องการการใช้น้ำที่เพิ่มขึ้นของลูกค้า 

 

ด้านพลังงาน บมจ. ดับบลิวเอชเอ ยูทิลิตี้ส์ แอนด์ พาวเวอร์ เดินหน้าขยายธุรกิจด้วยการพัฒนาโซลูชันพลังงานหมุนเวียน ควบคู่กับพลังงานเชิงพาณิชย์ ตั้งแต่ต้นปี 2563 บริษัทฯ ได้ดำเนินการเชิงพาณิชย์โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาไปแล้วรวมทั้งสิ้น 9 โครงการ โดยมีกำลังการผลิตวมอยู่ที่ 11 เมกะวัตต์ และยังมีการเซ็นสัญญาเพิ่มอีก ครงการ ซึ่งมีกำลังการผลิตรวมอยู่ที่ 14 เมกะวัตต์ นอกจากนี้ ยังมีโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์อีก 13 โครงการ กำลังการผลิต 22 เมกะวัตต์ ที่จะดำเนินการเชิงพาณิชย์ในครึ่งปีหลังนี้

โดยภายในสิ้นปี 2563 บมจ. ดับบลิวเอชเอ ยูทิลิตี้ส์ แอนด์ พาวเวอร์ ได้ตั้งเป้ากำลังการผลิตไฟฟ้าติดตั้งตามสัดส่วนการถือหุ้นอยู่ที่ 592 เมกะวัตต์ แบ่งเป็นพลังงานเชิงพาณิชย์ 547 เมกะวัตต์ พลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา 42 เมกะวัตต์ และที่เหลืออีก 3 เมกะวัตต์ มาจากโครงการโรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรมชลบุรี คลีน เอ็นเนอร์ยี (CCE)

 

• ธุรกิจดิจิทัล แพลตฟอร์ม ดับบลิวเอชเอ อินโฟนิท เดินหน้าติดตั้งไฟเบอร์ออฟติก (FTTx) ให้ครอบคลุมพื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรมทั้ง