ก.ล.ต. จับตา 30 มกรา 68 รอความชัดเจนแผน 3 ปี ยกระดับองค์กรสู่พนักงานสอบสวนในปี 68

ก.ล.ต. จับตา 30 มกรา 68 รอความชัดเจนแผน 3 ปี ยกระดับองค์กรสู่พนักงานสอบสวนในปี 68


คุณเอนก อยู่ยืน รองเลขาธิการ และโฆษกสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้มีการพูดถึงการปรับกระบวนการภายในองค์กรให้มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในองค์กร ก.ล.ต. มากขึ้น รวมไปถึงแผนการเตรียมขึ้นสู่ระดับพนักงานสอบสวนขององค์กรอีกด้วย โดยคาดว่าจะมีความชัดเจนภายในปี 2568 ปัจจุบันมีการยื่นขอผ่านขั้นกฤษฎีกาแล้ว ซึ่งการเป็นพนักงานสอบสวนจะช่วยให้การสืบสวนได้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น เนื่องจากทาง ก.ล.ต. มีข้อมูลอยู่ในมือครบถ้วนอยู่แล้วนั่นเอง


อีกทั้งยังได้กล่าวถึงแผนงานของทาง ก.ล.ต. ที่ต้องการเน้น 4 เรื่อง สำหรับแผนงาน 3 ปี (พ.ศ. 2568 - 2570)

1. Trust and Confidence ความเชื่อมั่นในตลาดทุน ตั้งแต่ต้นน้ำ อย่าง บริษัทจดทะเบียนที่จะเข้ามาระดมทุนในตลาด และการยกระดับมาตรการต่างๆ รวมไปถึงการบังคับใช้กฎหมาย ต่อผู้ประกอบการก็เช่นกัน โดยจะมีการปรับโครงสร้างในการดำเนินงานให้เร็วยิ่งขึ้น จะมีการขยายความเพิ่มเติมในวันที่ 30 มกราคม 2568

2. Technology and Digital การขับเคลื่อนตลาดทุนเข้าสู่ยุคดิจิทัล เพิ่มเครื่องมือและเพิ่มสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital asset) โดยอยู่ภายใต้การพัฒนา และเพิ่มช่องทางการลงทุนให้นักลงทุนเพิ่มขึ้น

3. Sustainability and Carbon credit ดันตลาดทุนไปสู่ความยั่งยืน ทั้งการออก Taxonomy และ การเปิดเผยข้อมูลของบริษัทจดทะเบียน 

ทั้งนี้ ความชัดเจนของ Carbon Credit นั้นได้มีการเสนอ 2 แนวทางไปแล้ว ซึ่งต้องรอการพิจารณาอีกครั้ง โดยได้เสนอให้มีการระดมทุนในรูปแบบ Futures หรือ Digital Asset (DA) ซึ่งมีแนวโน้ม

4. เสริมความรู้ให้นักลงทุน และสนับสนุนการออมสำหรับสังคมผู้สูงอายุ


ซึ่งทั้งหมดนี้ก็สนับสนุนต่อแผนงานของทางตลาดหลักทรัพย์ที่มีการประกาศแนวทางไว้ 3 เรื่อง โดยทาง ก.ล.ต. ก็มองแนวทางการดำเนินงานควบคู่และทำงานร่วมกันมากขึ้นนั่นเอง


คุณจอมขวัญ คงสกุล รองเลขาธิการ คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้กล่าวถึงแผนพัฒนาระบบนิเวศหลักทรัพย์อิเล็กทรอนิกส์ (digital Securities Ecosystem) ของตลาดทุนไทย โดยคาดว่า พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัล จะมีความชัดเจนไม่เกินไตรมาส 2 ปี 2568 ซึ่งในแผนจะมีการดึงระบบ Blockchain เข้ามาใช้ในตลาดทุน เริ่มต้นจากหุ้นกู้ โดยกระบวนการดิจิทัลจะเข้ามาช่วยในการเปิดเผยข้อมูลที่ถูกต้อง ลดต้นทุน และโปร่งใสมากขึ้น โดยที่นักลงทุนมั่นใจได้ว่าได้รับสินค้าแน่นอน อย่างไรก็ตาม การนำเทคโนโลยีเข้าใช้ในบริบทนี้ ไม่สามารถช่วยเตือนนักลงทุนเกี่ยวกับข้อมูลหุ้นกู้ผิดนักชำระได้ (defaults) แต่จะมีการเพิ่มเครื่องมือเตือนจากการนำข้อมูลเข้าระบบ AI เพื่อกรองและแจ้งเตือนนักลงทุนอีกช่องทาง