CIMBT ปี 69 ตั้งเป้าปล่อยสินเชื่อความยั่งยืน 20,000 ล้านบาท โดยเฉพาะกลุ่ม สินค้าโภคภัณฑ์ และ พลังงาน ที่มีกว่า 300 บริษัทในไทย
.
คุณเจสัน ลี ผู้บริหารฝ่ายความยั่งยืน ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่าทาง ซีไอเอ็มบี ไทย ได้ดำเนินการปล่อยสินเชื่อเพื่อความยั่งยืนปลายปี 2566 มียอดรวมอยู่ที่ 30,000 ล้านบาท โดยทางประเทศไทยนั้นมีสัดส่วนอยู่ที่ 4 - 5% ของพอร์ตรวม ในขณะที่กลุ่มซีไอเอ็มบี ประกาศตั้งเป้าหมายด้านการเงินเพื่อส่งเสริมความยั่งยืนเป็น 1 แสนล้านริงกิต หรือ 7.7 แสนล้านบาทในปี 2567
ดังนั้น ทางซีไอเอ็มบี ไทย มีการตั้งเป้าใน 24 เดือน (เดือนตุลาคม 67 - ตุลาคม 68) ยอดปล่อยสินเชื่อความยั่งยืนจะแตะที่ 20,000 ล้านบาท โดยเน้น 2 กลุ่มธุรกิจ 1.) สินค้าโภคภัณฑ์ (Commodities) อย่างธุรกิจน้ำมันและก๊าซ รวมไปถึง 2.) กลุ่มพลังงาน ด้วยผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อเพื่อความยั่งยืน (Sustainability-Linked Loan) ตราสารหนี้เปลี่ยนผ่านสู่ความ ยั่งยืน (Transition Bond) และสินเชื่อเปลี่ยนผ่านเพื่อความยั่งยืน (Transition Loan) เพื่อสอดคล้องกับเป้าหมายตามหลัก วิทยาศาสตร์ (Science-based Targets) หรือเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่บริษัทต่างๆ กำหนดขึ้นเพื่อจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลก
ซึ่งในเร็วๆนี้ จะเสนอการจำหน่ายตราสารหนี้สีเขียว (Green bond) วงเงิน 2,000 ล้านบาท เพื่อระดมเงินทุนสำหรับปล่อยกู้ให้โครงการสีเขียว
นอกจากความพร้อมให้การสนับสนุนด้านการเงิน CIMB Thai ยังมี ESG Advisor ที่พร้อมให้คำแนะนำแก่กลุ่ม ธุรกิจอีกด้วย เพื่อให้การเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมบรรลุเป้าหมาย โดยการสนับสนุนทางการเงินในครั้งนี้จะเป็นก้าวสำคัญในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและสร้างการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม (Just Transition) อีกด้วย
ทั้งนี้ ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ได้ลงนามความร่วมมือ Sustainability Linked Loan จำนวน 3,000 ล้านบาท กับบริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป (AWC) เมื่อปี 2566 โดยมีลักษณะสอดคล้องกับเป้าหมายของผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืน (Sustainabity Performance Targets: SPTs) รวมถึงการลดการปล่อยคาร์บอน Scope 1 (ทางตรง) และ Scope 2 (ทางอ้อม) ต่อปี จนได้รับรางวัล Best Sustainability Linked Loan จาก The Digital Banker: Global Finance Awards 2024