เอสซีจี คว้ารางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ด้านองค์กรนวัตกรรม ประจำปี 2567

เอสซีจี คว้ารางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ด้านองค์กรนวัตกรรม ประจำปี 2567 สร้าง “คน ดันนวัตกรรมกรีนสร้างรายได้ ชูสมาร์ทโซลูชันตอบโจทย์ เร่งเปลี่ยนไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ตามแนวทาง Inclusive Green Growth

     เอสซีจี โดยนายปรเมศวร์ นิสากรเสน ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ – การบริหารกลาง เอสซีจี (ที่ จากซ้าย) นายนิวัฒน์ อธิวัฒนานนท์ ผู้อำนวยการสำนักงาน Polymers Technology and Product Development บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ หรือ SCGC (ที่ 2 จากซ้าย) และนายอดิศักดิ์ วรคุณพินิจ ผู้อำนวยการ Innovation and Product Development Center บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP (ซ้าย)ร่วมรับรางวัล นวัตกรรมแห่งชาติ ด้านองค์กรนวัตกรรม ประจำปี 2567 โดยมี ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชนเป็นผู้มอบโล่รางวัลฯ ซึ่งจัดโดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIAโดยมอบให้แก่องค์กรที่มีการบริหารจัดการโดยใช้ความรู้ เทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์มาประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดการสร้างคุณค่าและการเติบโตอย่างยั่งยืนแก่องค์กร ตั้งแต่ระดับยุทธศาสตร์ กระบวนการไปจนถึงระดับโครงสร้าง ตามกรอบแนวทางการพัฒนาศักยภาพ นวัตกรรมองค์กร (Innovation Organization Model: IOM) ที่สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติได้มีการพัฒนาขึ้นในปี 2562 และนำมาใช้ประกอบพิจารณารางวัล เป็นต้นมา

รางวัลเกียรติคุณดังกล่าวฯ เป็นความภาคภูมิใจอย่างยิ่งของพวกเราชาวเอสซีจี ที่มุ่งมั่นทุ่มเทตามภารกิจ มุ่งสร้างธุรกิจให้เติบโต พร้อมร่วมสร้างสังคมคาร์บอนต่ำ ตามแนวคิด Passion for Inclusive Green Growth พร้อมเดินหน้าพัฒนา นวัตกรรมกรีน ในทุกธุรกิจ เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และมุ่งสู่ Net Zero ภายในปี 2050  อาทิปูนคาร์บอนต่ำ เจเนอเรชัน 2 ซึ่งลดคาร์บอนไดออกไซด์ได้ร้อยละ 15-20 สมาร์ทโซลูชัน ยกระดับการอยู่อาศัย ร่วมสร้างสังคมคาร์บอนต่ำ และช่วยประหยัดพลังงาน เช่น ระบบบำบัดอากาศเสีย Air Scrubber โซลูชันพลังงานสะอาด ‘Solar Hybrid Solutions’ นวัตกรรมพลาสติกรักษ์โลก SCGC GREEN POLYMERTM  สู่ตลาดสีเขียวที่มีความต้องการมาก อาทิ กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวัน ตอบรับเทรนด์รักษ์โลก และบรรจุภัณฑ์อาหารปลอดภัย Fest และเส้นใยนาโนเซลลูโลสสำหรับกระดาษบรรจุภัณฑ์ รวมทั้ง มุ่งพัฒนาศักยภาพแก่บุคลากร ด้วยการยกระดับ และฝึกฝนทักษะใหม่ ๆ (Upskill and Reskill) เพื่อให้สามารถปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป ทั้งยังเปิดโอกาสให้คนที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจและมีศักยภาพเพื่อเข้ามาร่วมสร้างสรรค์ นวัตกรรม สินค้า และโซลูชัน เพื่อตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลาย พร้อมเดินหน้าสู่ องค์กรแห่งโอกาส (Organization of possibilities) และร่วมเป็นส่วนหนึ่งที่สร้างการเปลี่ยนแปลงขององค์กร และเป็นโอกาสของคนที่มีไอเดียหรือสนใจสร้างสรรค์นวัตกรรม เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการแก้วิกฤตโลกเดือด โดยการเปิด โอกาสเปลี่ยนไอเดียเป็นนวัตกรรม เปลี่ยนแพสชันให้เป็นจริงผ่านโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ เช่น พัฒนาสตาร์ทอัพสตูดิโอ ในโครงการ ZERO TO ONE เป็นต้น