ก.ล.ต.-SET ปี 68 ออกมาตรการผู้บริหาร - นักลงทุนรายใหญ่ชี้แจงก่อนจำนำหุ้นนอกระบบ TSD
นายรองรักษ์ พนาปวุฒิกุล รองผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) และ โฆษกตลาดหลักทรัพย์ฯ เปิดเผยถึงรูปแบบการจำนำหุ้นนั้นมีหลายรูปแบบซึ่งมีทั้งรูปแบบที่ทางตลาดหลักทรัพย์จะสามารถตรวจสอบการเคลื่อนไหวของหุ้นได้ และมีทั้งในรูปแบบที่ไม่สามารถตรวจสอบได้ แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบหลักๆ
โดยรูปแบบที่ 1 การทำธุรกรรมที่ผ่านบริษัทหลักทรัพย์ฯ ที่อนุญาติให้ทำ Margin loan หรือ สถาบันการเงิน ที่ให้บริการ การกู้ยืม / ขอวงเงิน ซึ่งผ่านฐานระบบข้อมูลของทาง TSD หรือ บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งผู้ฝากมีสิทธิ์ไปขอซื้อคืน
รูปแบบที่ 2 ธุรกรรมที่นอกขอบเขตการดูแลของทางตลาดหลักทรัพย์ฯ ไม่สามารถติดตามหุ้นได้ เนื่องจากไม่บันทักข้อมูลลงในฐานระบบข้อมูลของทาง TSD โดยการกู้ยืม / ขอวงเงิน โดยการวางหลักทรัพย์เป็นหลักประกันไว้เพื่อแลกกับวงเงินซึ่งมักจะขอผ่านสถาบันทางการเงิน และ Custodian ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งจะเป็นผู้ตัดสินใจที่จะขายทิ้งได้ในทันทีเมื่อการผิดนัดชำระ
คุณรองรักษ์ กล่าวว่านักลงทุนและผู้บริหารส่วนใหญ่ไม่รู้ถึงเงื่อนไขเหล่านี้ ทั้งยังเสริมอีกว่าขอเตือนภัยผู้บริหาร ไม่ทันเกมส์ ถูกชักชวนนำหุ้นไปจำนำ ด้วยดอกเบี้ยสูง 2.8% เลยตกเป็นเหยื่อ ดังนั้น อยากให้ผู้ทำธุรกรรมเข้าใจถึงเงื่อนไขก่อนตัดสินใจเข้าลงทุน ทั้งยังกล่าวอีกว่า ผู้บริหารบางท่านอาจจะเชี่ยวชาญการบริหารแต่ไม่เชี่ยวชาญด้านการเงิน
ทั้งนี้ คุณเอนก อยู่ยืน รองเลขาธิการ ก.ล.ต ในฐานะโฆษก ก.ล.ต. กล่าวว่าจะมีการทบทวนเนื้อหามาตรการเรียกตัวผู้บริหารและนักลงทุนรายใหญ่มาชี้แจงให้เห็นตรงกันในเงื่อนไขของการจำนำหุ้นก่อนทำธุรกรรม โดยจะมีการเปิดเผยถึงเนื้อหามาตรการและขอความคิดเห็นภายในปี 2567 ที่สำคัญจะมีการออกมาตรการออกมาใช้ภายใน 2568
คุณเอนก ทิ้งท้ายไว้ว่า “การรายงานนี้ไม่ได้เป็นการกันหุ้นหาย แต่เป็นการชี้แจงให้นักลงทุนตัดสินใจในการลงทุน”