CIMBT ปี 67 เป้าสินเชื่อรายใหญ่โตแตะ 1 แสนล้านบาท

CIMBT ปี 67 เป้าสินเชื่อรายใหญ่โตแตะ 1 แสนล้านบาท มองมาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ น่าลงทุน


นายวุธว์ ธนิตติราภรณ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บรรษัทธุรกิจและธุรกรรมการเงิน ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย กล่าวว่า การเติบโตของสินเชื่อคงค้างของธนาคารในช่วงที่ผ่านมาสูงกว่าตลาด โดยมูลค่าของตลาดสินเชื่อเติบโตที่ 3-4% ในขณะที่ทางธนาคารเติบโตจาก 8 หมื่นล้านบาท  ในปี 2566 ปัจจุบันเติบโตแตะที่ 9 หมื่นล้านบาท คาดวง่าในปี 2567 จะมีมูลค่าสินเชื่อรายใหญ่โตแตะ 1 แสนล้านบาท ในขณะที่มีสถานะคงค้าง 2 พันล้านเหรียญฯ โดยที่คุณภาพสินเชื่อของธนาคารถือว่า ค่อนข้างดี  ทั้งนี้ สถานะหนี้เสีย (NPL) ลดลงจากปีที่แล้ว ปัจจุบัน 1.7% ลดลงจากเดิม 2.0% 


นอกจากนี้ ทางธนาคารได้สนุบสนุนสินเชื่อให้นักลงทุนไทยที่เข้าลงทุนใน ASEAN มูลค่าราว 300 - 500 ล้านบาท


นายวุธว์ กล่าวอีกว่าเล็งเห็น 4 เทรนด์ทิศทางของธุรกิจในอนาคต 

1. Sustainability หรือ ความยั่งยืน ที่ทุกๆ ธุรกิจหันมาให้ความสำคัญกับการดำเนินงานตามกฎเกณฑ์ ESG นอกจากนี้ ทางธนาคารยังให้การสนับสนุนธุรกิจผ่านการปล่อยสินเชื่อเพื่อการเปลี่ยนผ่าน

2. AI หรือปัญญาประดิษฐ์ ที่สามารถนำมาพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและการผลิตได้ในทุกภาคส่วน ทำให้เกิดความต้องการที่เติบโตแบบก้าวกระโดดอย่างต่อเนื่อง 

3. Food Security หรือความมั่นคงทางอาหารเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ประเทศใหญ่ๆ หันมาให้ความสำคัญกันมากโดยเฉพาะประเทศที่มีประชากรและการเติบโตของประชากรสูง 

4. Consumer Behavior หรือพฤติกรรมของผู้บริโภคยุคใหม่ ที่เน้นเรื่องของความสะดวกรวดเร็วและเข้าถึงแหล่งข้อมูลของสินค้าที่ต้องการโดยง่าย ทำให้ภาคธุรกิจต้องปรับตัวให้เหมาะกับความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่ 


นอกจากนี้ ทางธนาคารยังมีทั้งกลุ่มลูกค้าใหม่และลูกค้าปัจจุบัน รวมถึงข้อตกลงทางธุรกิจที่อยู่ระหว่างการเจรจา ครอบคลุมใน 4 เทรนด์ที่กล่าวมานี้


ในขณะเดียวกัน น.ส.ปนิดา ตั้งศรีวงษ์ องกรรมการผู้จัดการใหญ่ สถาบันการเงินประเทศไทย กล่าวเสริมว่าได้มองเห็นอีกเทรนด์ทางธุรกิจ ในอนาคตที่จะมาจากการร่วมมือระหว่างประเทศในอาเซียน นั่นคือ การจ่ายเงินแบบข้ามประเทศ (Cross-border QR Payment ) ถือเป็นการร่วมมือในระดับ รัฐบาลและรัฐบาล


นายวุธว์ มองว่าประเทศเพื่อนบ้านในอาเวียน มีกลุ่มประเทศที่น่าลงทุนที่สุดตอนนี้ ได้แก่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ เริ่มจาก มาเลเซีย ซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่คนไทยเข้าถึงง่ายที่สุด กำลังโดดเด่นในภาคบริการและการผลิตสินค้าที่อาศัยเทคโนโลยีขั้นสูงมากขึ้น เป็นตลาดที่มีโอกาสเติบโตในอนาคต โดยปี 2566 มีเงินลงทุนไหลเข้ามาเลเซียกว่า 3.29 แสนล้านริงกิต เติบโตสูงขึ้น 23% จากปีก่อนหน้า นับเป็นมูลค่าสูงสุดในประวัติศาสตร์ของประเทศ ส่วนสินค้าส่งออกของมาเลเซียหลักๆ คือ ผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ น้ำมันปาล์ม และอุปกรณ์โทรคมนาคม 


  ถัดมา อินโดนีเซีย ที่มีจุดเด่นเรื่องของการเติบโตของประชากรที่ปัจจุบันมีกว่า 280 ล้านคน และมีการเติบโตของ GDP อย่างต่อเนื่อง ทำให้มีแนวโน้มความต้องการสินค้าอุปโภคและบริโภคมากขึ้นเรื่อยๆ ในปี 2566 อินโดนีเซียบันทึกเงินลงทุนไหลเข้า จำนวน 4.75 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 6% โดยแหล่ง FDI ใหญ่ที่สุดของอินโดนีเซียได้แก่ สิงคโปร์ จีน และฮ่องกง โดยอุตสาหกรรมโลหะพื้นฐานได้รับ FDI เยอะที่สุด สินค้าส่งออกหลักของอินโดนีเซีย คือ ถ่านหิน น้ำมันปาล์ม เหล็กและเหล็กกล้า   

สิงคโปร์ ที่เป็นศูนย์กลางการเงินและการค้าของภูมิภาค ในปี 2566 สิงคโปร์ มี FDI มูลค่าสูงถึง 2.14 แสนล้าน สิงคโปร์ดอลลาร์ เติบโต 10% สาเหตุหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของทุนจดทะเบียนและกำไรสะสม โดยประเทศที่มีการลงทุนสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เนเธอร์แลนด์ จีน ญี่ปุ่น และฮ่องกง โดยส่วนแบ่งตลาดใหญ่ที่สุดของ FDI อยู่ในภาคบริการทางการเงินและการประกันภัย ส่วนสินค้าส่งออกหลัก คือ ปิโตรเลียม เครื่องจักร และเคมีภัณฑ์


สำหรับ ประเทศไทย ช่วงเดือนมกราคมถึงมิถุนายน 2567 นักลงทุนต่างชาติและในประเทศยื่นคำขอส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เพิ่มขึ้น 35% มูลค่ารวม 4.58 แสนล้านบาท โดยในครึ่งแรกของปี 2567 ภาคอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ครองอันดับหนึ่งด้วยมูลค่าการลงทุน 1.39 แสนล้านบาท (30.5% ของมูลค่าการขอลงทุนรวมของ BOI) รองลงมาคือภาคยานยนต์ 3.99 หมื่นล้านบาท (8.7% ของมูลค่ารวม)  และเกษตรกรรมขั้นสูง 3.31 หมื่นล้านบาท (7.2% ของมูลค่ารวม)


น.ส. ปนิดา ตั้งศรีวงษ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สถาบันการเงินประเทศไทย และ CLMV ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย กล่าวว่า “การเติบโตของธุรกิจในอาเซียน สิ่งที่ขาดไม่ได้ คือเม็ดเงินที่จะเข้าไปสนับสนุน ทั้งการเข้าไปลงทุนโดยตรง (direct investment) การลงทุนผ่านหลักทรัพย์ต่างๆ หุ้นในตลาดหลักทรัพย์ หรือ หุ้นกู้ (indirect investment) อย่างไรก็ดี ประเทศส่วนใหญ่ในอาเซียน ยังดำเนินนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนอย่างระมัดระวัง และมีกฎเกณฑ์ในการเคลื่อนย้ายเงินทุนค่อนข้างเข้มงวด นักลงทุนที่เห็นโอกาสเติบโต จึงมองหาธนาคารที่เข้าใจกฎเกณฑ์เหล่านี้ และให้คำแนะนำได้ดีที่สุด อีกทั้งมีเครื่องมือบริหารความเสี่ยง ดูแลค่าเงินและดอกเบี้ยที่มีความผันผวนสูง ให้ลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่ง CIMB ตอบทุกความต้องการ” 


นอกจากนี้ CIMB Group และ CIMB THAI ยังได้รับความไว้วางใจในการทำหน้าที่เป็นตัวกลางให้บริการ Cross-border QR Payment  ความร่วมมือระหว่างประเทศในภูมิภาคอาเซียนที่มุ่งเน้นส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวและการค้าระหว่างประเทศให้คล่องตัวยิ่งขึ้น ปัจจุบัน ผู้ที่เดินทางไป 7 ประเทศในอาเซียน (Malaysia, Indonesia, Singapore, Thai, Cambodia, Vietnam, Lao) รวมถึงฮ่องกงและญี่ปุ่น ไม่จำเป็นต้องพกเงินสด เพราะสามารถใช้จ่าย โดยสแกน QR ผ่านแอปพลิเคชันของธนาคารในประเทศไทย และชำระเงินได้ทันที โดยธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เป็นหนึ่งในธนาคารที่ร่วมผลักดันโครงการนี้ ระหว่างไทย-มาเลเซีย และ ไทย-อินโดนีเซีย  


“นักลงทุนทั่วโลกฟีดแบ็คกลับมาว่า เวลาที่เขาคิดจะมาลงทุนในอาเซียน เขาจะคิดถึง ธนาคาร CIMB เป็นอันดับแรกๆ เพราะเราตอบโจทย์นักลงทุน ด้วยผู้เชี่ยวชาญที่เข้าใจตลาดท้องถิ่น มีเครื่องมือครบ ผนวกเข้ากับเครือข่ายในและนอกอาเซียน  เป็น one stop service จึงเป็นที่มาของ คำว่า ‘Think ASEAN, Think CIMB”