อินโนสเปซ(ประเทศไทย) ได้จัดตั้งบริษัทอินโนสเปซ(ประเทศไทย) จำกัดและได้ลงนามMOU กับภาคีเครือข่ายองค์กรภาครัฐ-เอกชนสถาบันการเงินและสถาบันการศึกษารวม30 องค์กรเสริมความแข็งแกร่งในการสร้างระบบนิเวศ(Ecosystem) เพื่อสร้างและพัฒนาสตาร์ทอัพตลอดวงจรชีวิตตั้งแต่ระดับPre-Seed ไปจนถึงขั้นUnicorn (สตาร์ทอัพที่มีมูลค่าบริษัทมากกว่า1,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ) ในสาขาอุตสาหกรรมเป้าหมายS-Curve ซึ่งเป็นเทคโนโลยีขั้นสูงสามารถใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ที่เรียกว่าDeep Technology และผลักดันให้อินโนสเปซ(ประเทศไทย) เป็นNational Startup Platform ที่ช่วยส่งเสริมและพัฒนากลุ่มสตาร์ทอัพไทยอย่างครบวงจรช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มสร้างศักยภาพการแข่งขันในระยะยาวโดยอาศัยพันธมิตรที่มีบริการเทคโนโลยีมีเครื่องมือล้ำสมัยและมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านพร้อมให้คำแนะนำแก่กลุ่มสตาร์ทอัพของไทย
นายเทวินทร์วงศ์วานิชประธานที่ปรึกษาบริษัทอินโนสเปซ(ประเทศไทย) กล่าวว่าการลงนามMOU กับพันธมิตรทั้ง30 องค์กรจะทำให้สตาร์ทอัพไทยมีความเข้มแข็งมากขึ้นโดยมุ่งบ่มเพาะสตาร์ทอัพในกลุ่มDeep Tech ได้แก่Medical/Health Technology ซึ่งเป็นเทคโนโลยีด้านสุขภาพสาธารณสุขอุปกรณ์ทางการแพทย์ และกลุ่มFood Technology / Bio Technology ที่เป็นเทคโนโลยีด้านอาหารและอาหารแปรรูปซึ่งเป็นการต่อยอดจากสิ่งที่ประเทศไทยมีความเข้มแข็งโดยคาดหวังว่าจะสามารถยกระดับสตาร์ทอัพสัญชาติไทยให้ก้าวไปสู่ระดับUnicorn เช่นเดียวกับประเทศอื่นๆได้และคาดว่าจะสามารถระดมทุนสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาสตาร์ทอัพไม่น้อยกว่า500 ล้านบาทโดยจะมีการลงนามMOU สัญญาร่วมทุนกับหน่วยงานสนับสนุนต่างๆภายในเดือนกรกฎาคม2562 นี้
นอกจากนี้ยังอยู่ระหว่างสรรหาประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทอินโนสเปซ(ประเทศไทย) จำกัด เข้ามาบริหารงานจัดทำแผนการพัฒนาและคัดเลือกสตาร์ทอัพที่มีศักยภาพเข้าร่วมนำเสนอไอเดียธุรกิจ(Pitching) ในเวทีสตาร์ทอัพที่ประเทศฮ่องกงเดือนพฤศจิกายนนี้โดยความร่วมมือกับฮ่องกงจะเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้และการจับคู่ธุรกิจระหว่างกันเพื่อขยายการลงทุนทั้งในประเทศไทยหรือในฮ่องกงขณะที่ความร่วมมือกับพันธมิตรจากประเทศอิสราเอลและเกาหลีคาดว่าจะมีการลงนามMOU กับอินโนสเปซ(ประเทศไทย) ภายในเดือนกันยายนนี้ซึ่งอิสราเอลมีความโดดเด่นในการพัฒนาสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเทียบเท่ากับสหรัฐอเมริกาขณะที่เกาหลีเน้นเรื่องการพัฒนาต่อยอดและฮ่องกงมีจุดเด่นเรื่องการค้าที่จะเชื่อมโยงกับภาคอุตสาหกรรมไทยได้
ด้านนายกอบชัยสังสิทธิสวัสดิ์อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม(กสอ.) กล่าวถึงความร่วมมือกับประเทศเกาหลีใต้ซึ่งเป็นการร่วมมือระหว่างKOTRA หน่วยงานดูแลการค้าต่างประเทศและKTS หน่วยงานสร้างสตาร์ทอัพของเกาหลีใต้คาดว่าจะเชื่อมโยงสตาร์ทอัพเกาหลีใต้ที่ทำธุรกิจในประเทศไทย15 รายกับสตาร์ทอัพไทยเพื่อเปิดตลาดการลงทุนระหว่างกันขณะที่ความร่วมมือกับอิสราเอลนั้นจะเป็นรูปแบบเดียวกับทางฮ่องกงและเกาหลีใต้แต่อิสราเอลซึ่งมีจุดเด่นเรื่องDeep Tech จึงตั้งเป้าให้เกิดความร่วมมือสร้างสตาร์ทอัพกลุ่มDeep Tech กับผู้ประกอบการไทยใน5 สาขาได้แก่เทคโนโลยีชีวภาพ, การเกษตร, อาหาร, การแพทย์และInternet of Thing (IoT) จะช่วยยกระดับเทคโนโลยีการผลิตของกลุ่มSMEs ไทยไปสู่ไทยแลนด์4.0 โดยจะบ่มเพาะผู้ประกอบการตั้งแต่ขั้นเริ่มต้นธุรกิจไปจนถึงสร้างให้เป็นUnicorn ดังนั้นภาครัฐจะผลักดันให้เอกชนไทยเพิ่มสัดส่วนการลงทุนสนับสนุนสตาร์ทอัพกลุ่มDeep Tech ในประเทศไทยมากขึ้นจากปัจจุบัน90% ลงทุนในต่างประเทศและ10% ลงทุนในไทย
“อินโนสเปซ(ประเทศไทย) จะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการสร้างและพัฒนาสตาร์ทอัพไทยโดยการเชิญชวนภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับด้านต่างๆมารับฟังแผนธุรกิจเพื่อเปิดโอกาสให้เลือกลงทุนในสตาร์ทอัพแต่ละรายได้โดยตรงโดยไม่ต้องผ่านอินโนสเปซ(ประเทศไทย) ทำให้เกิดความร่วมมือในทุกภาคส่วนโดยยอมรับว่าผู้ประกอบการของไทยมีไอเดียที่ดีแต่ยังขาดความรู้ความเข้าใจขาดประสบการณ์และความเชี่ยวชาญทำให้ต้องมีหน่วยงานเข้ามาให้คำแนะนำพัฒนาแก้ไขปัญหาและค้นหาศักยภาพ(Coaching) ให้แก่ผู้ประกอบการให้สามารถขยายธุรกิจต่อไปได้ในอนาคตเพราะการมีพันธมิตรที่มีความเก่งเฉพาะด้านที่จะเป็นส่วนเสริมซึ่งกันและกันได้และที่สำคัญยังทำให้รู้ว่าแต่ละหน่วยงานมีเครือข่ายการพัฒนาสตาร์ทอัพอย่างไร” นายเทวินทร์กล่าว
นอกจากนี้นายเทวินทร์ยังเชื่อว่าการดำเนินงานของอินโนสเปช(ประเทศไทย) จะเดินหน้าต่ออย่างแน่นอนไม่ว่าใครจะเป็นรัฐบาลหรือใครเป็นรัฐมนตรีเนื่องจากเป็นบริษัทที่ลงทุนโดยองค์กรภาคเอกชนและเป็นบริษัทที่ไม่มุ่งหวังผลกำไรทำให้ทุกรัฐบาลจะพร้อมสนับสนุนเพื่อช่วยยกระดับสตาร์ทอัพไทยให้มีเทคโนโลยีและมีความสามารถในการแข่งขันพร้อมเสนอให้รัฐบาลใหม่เร่งผลักดันธุรกิจสตาร์ทอัพรวมถึงให้ภาคธุรกิจใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีมากยิ่งขึ้น
อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าขณะนี้หน่วยงานพันธมิตรทั้ง30 องค์กรได้แสดงเจตจำนงให้การสนับสนุนเงินทุนรวมแล้วกว่า640 ล้านบาทอาทิบริษัทปตท. จำกัด(มหาชน), บริษัทไทยเบฟเวอเรจจำกัด(มหาชน) และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.), บริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์จำกัด(ซีพี) และบริษัททรูคอร์ปอเรชั่นจำกัด(มหาชน) สนับสนุนรายละ100 ล้านบาท
ส่วนธนาคารไทยพาณิชย์ธนาคารกรุงเทพรายละ50 ล้านบาท, เครือสหพัฒน์, บริษัทการบินกรุงเทพจำกัด(มหาชน) (บางกอกแอร์เวย์), บริษัทไทยยูเนี่ยนกรุ๊ปจำกัด(มหาชน), ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย(SME D Bank) รายละ30 ล้านบาท, โรงพยาบาลกรุงเทพสนับสนุน20 ล้านบาทส่วนพันธมิตรรายอื่นๆขณะนี้อยู่ระหว่างนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการบริษัทเพื่อขออนุมัติวงเงินโดยในช่วงแรกอินโนสเปซ(ประเทศไทย) จะระดมเงินทุน125 ล้านบาทเพื่อใช้ดำเนินงานเบื้องต้น
ทั้งนี้สำนักงานของอินโนสเปช(ประเทศไทย) จะตั้งอยู่ในสถาบันวิทยสิริเมธี(VISTEC) อ.วังจันทร์จ.ระยองสำหรับคุณสมบัติของCEO อินโนสเปซ(ประเทศไทย) นั้นจะต้องมีประสบการณ์ด้านการบริหารบริษัทสตาร์ทอัพระดับนานาชาติซึ่งอยู่ระหว่างคัดเลือกผู้ที่มีความเหมาะสมจำนวน3 คนพร้อมกับทาบทามให้นายเทวินทร์วงศ์วานิชมาดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริษัทคาดว่าจะแต่งตั้งซีอีโอภายใน1-2 เดือนนี้พร้อมตั้งเป้าหมายในปีนี้(2562) จะสามารถสร้างสตาร์ทอัพได้ไม่ต่ำกว่า50 รายและจะคัดเลือกสตาร์ทอัพที่มีศักยภาพโดดเด่นไปนำเสนอแผนธุรกิจ(Pitch) ในงานที่จัดโดยCyberport ประเทศฮ่องกงช่วงปลายปีนี้ซึ่งถือเป็นเวทีPitching ยิ่งใหญ่ระดับโลก
. รายชื่อ30 หน่วยงานร่วมลงนามMOU อินโนสเปซ(ประเทศไทย)
สำหรับองค์กรที่ร่วมลงนามในMOU ขับเคลื่อนการดำเนินงานอินโนสเปซ(ประเทศไทย) จำนวน30 หน่วยงานประกอบด้วย
• ภาครัฐและหน่วยงานในกำกับของรัฐได้แก่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม, สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ,สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลและสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(สกพอ.)
• รัฐวิสาหกิจได้แก่บริษัทปตท. จำกัด(มหาชน), การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย, การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
• ภาคเอกชนได้แก่บริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์จำกัด, เครือสหพัฒน์, ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, บริษัทกรุงเทพดุสิตเวชการจำกัด(มหาชน), บริษัทการบินกรุงเทพจำกัด(มหาชน), บริษัททรูคอร์ปอเรชั่นจำกัด(มหาชน), บริษัทเทคซอสมีเดียจำกัด, บริษัทไทยเบฟเวอเรจจำกัด(มหาชน), บริษัทไทยยูเนี่ยนกรุ๊ปจำกัด(มหาชน), บริษัทแบงคอกเวนเจอร์สจำกัด, สมาคมไทยผู้ประกอบธุรกิจเงินร่วมลงทุนและสมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย
• สถาบันการเงินได้แก่ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารกสิกรไทย, ธนาคารไทยพาณิชย์และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย
• สถาบันการศึกษาได้แก่สถาบันวิทยสิริเมธี, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตศรีราชาและมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
• บริษัทอินโนสเปซ(ประเทศไทย) จำกัด